หยินหยางกับผังแปดทิศ

  

หยินหยางกับผังแปดทิศ

           Q : รูปหยินหยางที่มีเส้นประล้อมรอบ หมายความว่ายังไงคะ ทำไมต้องเอาไปติดไว้ตามสถานที่ต่างๆ หน้าโรงหนังก็มี?

           A : คนจีนเชื่อว่า หยินหยาง เป็นพื้นฐานของ ฮวงจุ้ย และศาสตร์ ฮวงจุ้ย ก็เชื่อเรื่องทำเล ไม่ว่าอาคาร บ้านอาศัย หลุมฝังศพ หรือสำนัก งานธุรกิจ ต้องมีทำเลถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ย จึงจะเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าและมีความราบรื่นในการดำเนินชีวิตและกิจการ

           ตามหลักฮวงจุ้ยเชื่อว่าโลกของเราประกอบด้วยพลังของหยินหยางปนเปอยู่ในทุกสรรพสิ่งของธรรมชาติ แม้ในบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็มีทั้งหยินหยางอยู่ในตัวคนเดียว เพียงแต่จะมีสิ่งใดมากน้อยกว่ากันอย่างไรเท่านั้น

           ถ้าหยินหยางเกิดไม่อยู่ในภาวะสมดุล สถานที่ทำเลนั้น ของสิ่งนั้น หรือบุคคลเหล่านั้น จะมีปัญหาเกิดขึ้น ทั้งเชื่อว่าหยินหยางมีอิทธิพลต่อสุขภาพของคนเราด้วย หยินหยางไม่สมดุลคราใดอาจทำให้ป่วย

           สำหรับรูปที่มีหยินหยางอยู่ตรงกลาง ล้อมด้วยเส้นประและเส้นเต็ม คือสัญลักษณ์ “แผนผังแปดทิศ” หรือ “ปากั้วถู” เป็นสัญลักษณ์แห่งเต๋า ที่มักใช้ควบคู่กับสัญลักษณ์หยินหยาง คนไทยรู้จักในชื่อ “ยันต์แปดทิศ” หรือ “ยันต์โป๊ยข่วย”

           โป๊ยข่วยมีพื้นฐานจากศาสตร์แห่งความสมดุลของหยินหยาง ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใช้ขับไล่พลังชั่วร้าย นับเป็นสิ่งมงคลทางฮวงจุ้ย เกิดขึ้นในสมัยจักรพรรดิฟูซี 3,000 ปีก่อนคริสตกาล เล่ากันว่าทรงสังเกตลวดลายบนหลังกระดองเต่าวิเศษ และได้บันทึกไว้ในแผนผังเหอถู และจัตุรัสลั่วซู อันเป็นต้นกำเนิดของศาสตร์โจวอี้ (ภายหลังเรียกอี้จิง)

           สาเหตุที่เรียกว่ายันต์แปดทิศ ก็เพราะว่าภายในยันต์รูปแปดเหลี่ยมนี้ได้รวบรวมเอาสิ่งที่เชื่อว่าเป็นคุณลักษณะของทิศทั้งแปดมารวมไว้ในยันต์แผ่นเดียว

           จะสังเกตได้ว่ายันต์โป๊ยข่วยมีความคิดเรื่องทิศต่างจากชาวตะวันตก ฝรั่งมักวางทิศเหนือไว้ตอนบน แต่ยันต์โป๊ยข่วยวางทิศใต้ไว้ตอนบนเสมอ

           แผนผังแปดทิศ หรือ ปากั้วถู เป็นสัญลักษณ์แห่งฟ้าและดินที่ทำนายและหยั่งรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างฟ้า ดิน และมนุษย์ จึงได้กลายมาเป็นเส้นขีดประ (- -) และเส้น ขีดเต็ม (__) แทนความหมายของหยินและหยาง เมื่อขีดประและขีดเต็มประกอบรวมเข้าด้วยกันในตำแหน่ง บน-กลาง-ล่าง ขีดบนแทนฟ้า ขีดกลางแทนมนุษย์ และขีดล่างแทนดิน จึงทำให้เกิดการเรียงลำดับเส้นขีดขององค์สามรวมเข้ากับทิศทั้งแปดและธาตุทั้งห้า จึงกลายมาเป็นแผนผังแปดทิศ หรือปากั้วถู ในที่สุด

           ความหมายในสัญลักษณ์เส้นขีดแห่งองค์ 3 หรือตรีลักษณ์ ได้แก่ เฉียน คือทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตำแหน่งแห่งฟ้า หมายถึงพ่อ และการสร้างสรรค์, คุน คือทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตำแหน่งแห่งดิน หมายถึงแม่ และการยอมรับ, เจิ้น คือทิศตะวันออก ตำแหน่งแห่งสายฟ้า หมายถึงลูกชายคนโต และการตื่นตัว, ซวิ่น คือทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตำแหน่งแห่งลม หมายถึงลูกสาวคนโต และความอ่อนโยน

           ตุ้ย คือทิศตะวันตก ตำแหน่งแห่งทะเลสาบ หมายถึงลูกสาวคนเล็ก และความร่าเริง, เกิ้น คือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตำแหน่งแห่งภูเขา หมายถึงลูกชายคนเล็ก และความสงบ, ขั่น คือทิศเหนือ ตำแหน่งแห่งน้ำ หมายถึงลูกชายคนกลาง และความลึกลับ และหลี คือทิศใต้ ตำแหน่งแห่งไฟ หมายถึงลูกสาวคนกลาง และการติดตาม


คอลัมน์ รู้ไปโม้ด : น้าชาติ ประชาชื่น
ที่มา : MThai

  

บทความที่เกี่ยวข้อง
ฮวงจุ้ยหยินแหล่งพลังจากแผ่นดิน ... อ่านต่อ
ปรัชญาของหยินหยาง ตอนที่ 2 : ระบบไบนารี่ของโลก ... อ่านต่อ
ปรัชญาของหยินและหยาง ตอนที่ 1 ... อ่านต่อ
ดูดวง / ฮวงจุ้ย
ทายนิสัย จากลายมือการเขียนตัวเลข ... BY : หมอเมท ... อ่านต่อ
คาถาทวงหนี้ คาถาอีกาวิดน้ำ ใช้สำหรับคนยืมเงินแล้วไม่คืนหรือของหาย ... อ่านต่อ
ตากระตุก ตาเขม่น ลางสังหรณ์ที่บ่งบอกเรื่องราวอะไร? ... อ่านต่อ
 

 


 


 


 


 


 


 


 


 


 

หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย

бишкек эскорт

 

Copyright @2014 Horonumber.com All rights reserved.