ปรัชญาของหยินและหยาง ตอนที่ 1

ปรัชญาของหยินและหยาง

ตอนที่ 1

          หยินหยางเป็นหลักการของพลังงาน 2 ด้านที่มีปฎิสัมพันธ์กัน ซึ่งหลักการของวิชานี้ได้อธิบายว่าทุกสรรพสิ่งบนโลกนั้นประกอบด้วยป้จจัย 2 ด้านเสมอ โดยปัจจัย 2 ด้านนี้จะมีเป็นองค์ประกอบของกันและกันหรือผูกพันธ์ในสิ่งที่ลักษณะหรือคุณสมบัติที่ตรงข้ามเข้าด้วยกัน ซึ่งภาษาวิชาการจะเรียกหลักการนี้ว่า กฎทวิลักษณ์ ยกตัวอย่างเช่น ด้านชีววิทยาก็จะมีผู้ชายกับผู้หญิง สัตว์ก็มีเพศผู้กับเพศเมีย พืชก็มีเกสรดอกไม้เพศผู้กับเพศเมีย ทางด้านเคมีก็กรดกับด่าง ด้านฟิสิกส์ก็บอกว่ามีโปรตรอนกับอิเล็กตรอน แม่เหล็กก็มีขั้วบวกและลบ ไฟฟ้าก็มีประจุขั้วบวกและขั้วลบ ศาสนาก็มีความดีกับความชั่ว ทำบุญกับทำกรรม มีสวรรค์กับนรก แสงสว่างก็มีสว่างกับมืด มีกลางวันกับกลางคืน อุณหภูมิก็มีความร้อนกับความเย็น ทิศทางก็มีทิศเหนือกับทิศใต้ ทิศตะวันออกกับตะวันตก ฯลฯ ทุกอย่างในโลกล้วนสามารถแบ่งแยกออกเป็นสองด้านเสมอ 

          หยินหยางเป็นภาวะของการเปรียบเทียบโดยจะไม่สมบูรณ์ด้วยตัวมันเองซึ่งจริงแล้วสิ่งต่างๆเพียงด้านเดียวนั้นจะไม่ได้มีความหมายของตัวมันเอง แต่จะมีความหมายเมื่อมีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นรวมด้วย เพราะสิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาษาหรือแนวคิดต่างๆจะถูกนิยามโดยใช้สิ่งตรงข้ามของมันและเราจะเข้าใจมันเมื่อรู้จักถึงสิ่งตรงข้ามของมันก่อน เช่น จะรู้จักคำว่า”ถูก” ก็จะต้องรู้ว่าคำว่า”ผิด”คืออะไรด้วย จะรู้จักคำว่า”สว่าง”ก็ต้องรู้จักคำว่า”มืด”ด้วย 

          นอกจากนี้หยินหยางจะต้องถูกเปรียบเทียบในสิ่งที่เหมาะสมกับภาวะของสิ่งนั้น เช่น ผู้ชายจับคู่กับผู้หญิงโดยผู้ชายเป็นหยาง ผู้หญิงก็เป็นหยิน สัตว์ตัวผู้คู่สัตว์ตัวเมียโดยสัตว์ตัวผู้เป็นหยางสัตว์ตัวเมียก็เป็นหยิน แต่จะไม่จับคู่มนุษย์ผู้ชายไปจับคู่กับสัตว์ตัวเมีย เพราะการเปรียบเทียบหยินหยางจะจับคู่ในสิ่งที่มีพื้นฐานในระดับเดียวกันเท่านั้น หรือเรียกได้ว่าปัจจัย 2 ด้านนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์กันและอาศัยซึ่งกันและกัน 

          ตามธรรมชาติแล้วหยินหยางนั้นจะมีเปลี่ยนแปลงได้เสมอหรือเรียกได้ว่าไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้แน่นอน และอาจผสมกันในอัตราส่วนที่ต่างกันไป ยกตัวอย่าง เวลาเที่ยงวันที่ร้อนหรือเป็นหยางสูงสุดก็ค่อยๆเปลี่ยนจากช่วงบ่ายไปเป็นช่วงเย็นความร้อนลดลงพลังหยางก็ลดลง แต่ความเย็นหรือพลังหยินกลับค่อยๆเพิ่มขึ้นจนถึงเวลาเที่ยงคืนเย็นมากสุดหรือเป็นหยินสูงสุด แล้วหยินสูงสุดก็ค่อยๆลดลงกลายเป็นหยางสูงสุดอีกที่เมื่อเที่ยงคืนค่อยๆเปลี่ยนเป็นเที่ยงวัน ซึ่งเรื่องอื่นๆในโลกนี้ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอเหมือนหยินหยาง เช่น เมื่อตอนเด็กร่างกายก็เคลื่อนไหวคล่องแคล่วไม่อยู่นิ่งหรือเป็นหยางสูง แต่เมื่อโตมากขึ้นกลับนิ่งมากขึ้นแล้วเคลื่อนไหวน้อยลง จนอายุมากหรือแก่ก็เคลื่อนไหวน้อยและนิ่งมากหรือเป็นหยินสูง เมื่อสิ้นชีวิตก็ไม่เคลื่อนไหวหรือเป็นหยินสูงสุด ทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลงได้ คนรวยเป็นคนจนได้ คนจนเป็นคนรวยได้ คนรวยก็รวยยิ่งขึ้นเป็นเศรษฐีได้ คนดีเป็นเลว คนเลวเป็นคนดีได้ ฯลฯ 

          หยางถูกเปรียบเทียบในสิ่งที่ แข็ง แน่น ร้อน รวดเร็ว มีกำลัง เคลื่อนไหว สว่าง ขณะที่หยินถูกเปรียบเทียบในสิ่งที่อ่อน นุ่ม เย็น ช้า อ่อนกำลัง หยุดนิ่ง มืด หากมองเปรียบเทียบสิ่งต่างๆก็จะพอบอกได้ว่าสิ่งนั้นเป็นหยินหรือหยาง เช่น เปรียบเทียบผู้ชายกับผู้หญิงแล้วร่างกายคนเราโดยเฉลี่ยแล้วผู้ชายก็จะเป็นหยางมากกว่าผู้หญิงเพราะภาพรวมผู้ชายก็จะมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงกว่าเป็นมัดมากกว่าผู้หญิง ขณะที่ผู้หญิงมีกล้ามเนื้อที่อ่อนนุ่มมากกว่า ดังนั้นร่างกายผู้หญิงก็จะมีความเป็นหยินเยอะถึงออกกำลังกายไปร่างกายเป็นหยางมากขึ้นแต่ก็เป็นหยางได้ระดับหนึ่งซึ่งยังไม่เทียบเท่าผู้ชาย สรุปว่าผู้ชายเป็นหยางและผู้หญิงเป็นหยินเพราะเราเปรียบเทียบผู้ชายกับผู้หญิง 

          แต่หากเราเปรียบเทียบผู้ชายที่เป็นนักกีฬา นักกล้ามดูแข็งแรงกับผู้ชายร่างกายที่ผอมแห้ง ถ้าเทียบแบบนี้ผู้ชายที่เป็นนักกีฬาก็เป็นหยาง ผู้ชายที่ผอมแห้งก็เป็นหยิน ดังนั้นผู้ชายเป็นหยินได้หากเปรียบเทียบแบบนี้ จึงกล่าวได้ว่าหยินหยางก็ไม่ได้กำหนดตายตัวว่าผู้ชายเป็นหยางและผู้หญิงเป็นหยินเพราะหยินหยางขึ้นอยู่กับการเปรียบเทียบในเรื่องใด 

          จริงแล้วหยินหยางตามภาพสัญญลักษณ์ไทเก๊กนั้นเป็นปรัชญาที่มีความหมายลึกซึ้งแฝงอยู่อย่างมากมาย โดยพื้นที่สีขาวเป็นหยาง ขณะที่พื้นที่สีขาวก็เป็นหยิน แต่ในสีขาวก็มีจุดดำอยู่และในสีดำก็มีจุดขาวอยู่ซึ่งเปรียบเหมือนกับว่าแม้จะเป็นหยางมากก็ยังมีหยินอยู่ร่วมด้วยหรือแม้จะเป็นหยินมากก็ยังมีหยางอยู่รวมด้วย ซึ่งในความเป็นจริงของโลกก็เป็นแบบนั้น เช่น ท่ามกลางวิกฤตก็มีโอกาสซ่อนแฝงหรือท่ามกลางโอกาสก็มีวิกฤตซ้อนแฝงอยู่ เหมือนเศรษฐกิจที่ไม่ดีก็มีคนร่ำรวยมากขึ้นได้ หรือในช่วงเศรษฐกิจดีก็มีคนทำธุรกิจเจ๊งได้ 

          ปราชญ์บางคนกล่าวในที่หยินมากก็จะมีหยางคุณภาพสูงซ่อนอยู่และในที่หยางมากก็จะมีหยินคุณภาพสูงซ่อนอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นหรือเรียกว่าเป็นหยินที่สุดก็สามารถพบพืชที่มีความเป็นหยางสูงสุดนั้นคือโสมที่มีลักษณะแข็งแน่นตัน กินเข้าไปแล้วทำให้รู้สึกร้อนหรือเป็นหยางมากขึ้นมาได้ ซึ่งโสมนั้นก็จะไม่เกิดในภูมิภาคสภาพอากาศที่ร้อนแต่เกิดขึ้นในพื้นที่สภาพอากาศหนาว แต่ในขณะที่สภาพอาการร้อนหรือเรียกว่าเป็นหยางสูงแต่กลับพบพืชที่เป็นหยินสูงเช่นมะพร้าวที่มีไม่มีเมล็ดแข็งแน่นมีแต่น้ำฉ่ำ เมื่อกินเข้าไปก็ทำให้ร่างกายเย็นหรือเป็นหยินมากขึ้น ซึ่งมะพร้าวนั้นก็ไม่เกิดขึ้นในภูมิภาคที่หนาวเย็นแต่เกิดในภูมิภาคโซนร้อน 

          หลักการหยินหยางดังกล่าวถูกประยุกต์ในภูมิปัญญาตะวันออกต่างๆนานา เช่น ทางการแพทย์จีนก็มีการพิจารณาอาหารเป็นหยินหรือหยาง ที่เรียกว่าอาหารฤทธิ์เย็นกับฤทธิ์ร้อน โดยอาหารฤทธิ์เย็นรับประทานแล้วทำให้ร่างกายรู้สึกเย็นขึ้นและอาหารฤทธิ์ร้อนที่รับประทานเข้าไปแล้วทำให้ร่างกายร้อน ยกตัวอย่างเช่นผลไม้ต่างๆ คนไทยบอกว่ากินทุเรียนแล้วร้อนเพราะจริงแล้วทุเรียนเป็นหยางสูงขณะที่บางคนบอกว่ากินมังคุดแล้วช่วยให้เย็นขึ้นได้เพราะมังคุดมีความเป็นหยิน แต่แท้จริงแล้วผลไม้อื่นก็ทำให้เย็นได้เหมือนกันเพราะหลักการของสิ่งที่เป็นหยินคือความอ่อนนุ่ม ฉ่ำ กลวง ดังนั้นผลไม้ที่ลักษณะเนื้อนิ่มน้ำฉ่ำๆก็จะเป็นผลไม้ประเภทหยินรับประทานเข้าไปแล้วก็จะทำให้ร่างกายเย็นขึ้น เช่น ส้ม สัปปะรด แตงโม แคนตาลูป แก้วมังกร มะพร้าว ฯลฯ โดยมะพร้าวนั้นเป็นสุดยอดของผลไม้ที่เป็นหยินเพราะไม่มีเมล็ดแข็งแน่นตันเลยมีแต่น้ำฉ่ำๆภายในอย่างเดียว ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องกินมังคุดให้ร่างกายเย็นขึ้นก็ได้กินผลไม้ประเภทหยินอย่างอื่นก็ได้หากเราเข้าใจกฎเกณฑ์ของหยินหยาง 

          ขณะที่ผลไม้ประเภทหยางก็ไม่ใช่ทุเรียนอย่างเดียว จริงแล้วเป็นผลไม้ที่มีเมล็ดแข็งแน่นตัน เช่น ลิ้นจี่ ลำไย ขนุน ฯลฯ ผลไม้ประเภทหยางนี้เมื่อรับประทานเข้าไปก็จะทำให้ร้อนได้เช่นกัน ทั้งนี้การอาหารร่างกายคนนั้นก็สามารถสร้างความสมดุลได้จากการกินอาหาร เช่น คนมีร่างกายเป็นหยางล้นเกินก็ควรกินอาหารที่เป็นหยินและลดอาหารที่เป็นหยาง คนที่มีร่างกายเป็นหยินเกินก็ควรกินอาหารประเภทหยางและลดอาหารประเภทหยินก็จะช่วยให้ร่างกายนั้นสมดุลมากขึ้นก็จะเจ็บป่วยได้ยากขึ้น แข็งแรงมากขึ้นได้ สิ่งเหล่านี้ถูกนำมาใช้ทางการแพทย์จีน 

          นอกจากนี้แนวคิดเรื่องหยินหยางเป็นปรัชญาพื้นฐานที่แทรกอยู่ในภูมิปัญญาตะวันออกหลายอย่าง เช่น การแพทย์จีน ชี่กง ฝังเข็ม นั่งสมาธิ การเสี่ยงทายทำนายทายทัก ฮวงจุ้ย โหวงเฮ้ง ดวงจีน ฤกษ์ยาม ฯลฯ และยังเป็นพื้นฐานของปรัชญาบางอย่างของชาวตะวันตกด้วยโดยสิ่งเหล่านี้ยังถูกนำมาใช้จนถึงปัจจุบัน

 

โดย อ. เกริกวิชญ์ กฤษฎาพงษ์

บทความที่เกี่ยวข้อง
ฮวงจุ้ยเสริมรัก ... อ่านต่อ
หลักการฮวงจุ้ยในการเลือกบ้านให้พ้นร้าย 16 ประการ ... อ่านต่อ
ฮวงจุ้ยเชิงวิทยาศาสตร์ ... อ่านต่อ
ดูดวง / ฮวงจุ้ย
ทายนิสัย จากลายมือการเขียนตัวเลข ... BY : หมอเมท ... อ่านต่อ
คาถาทวงหนี้ คาถาอีกาวิดน้ำ ใช้สำหรับคนยืมเงินแล้วไม่คืนหรือของหาย ... อ่านต่อ
ตากระตุก ตาเขม่น ลางสังหรณ์ที่บ่งบอกเรื่องราวอะไร? ... อ่านต่อ
 

 


 


 


 


 


 


 


 


 


 

หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย

бишкек эскорт

 

Copyright @2014 Horonumber.com All rights reserved.