แสงสีกับฮวงจุ้ย

แสงสีกับฮวงจุ้ย

           ชาวจีนนั้นชื่อว่าทุกสรรพสิ่งไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมนั้นสามารถแบ่งออกเป็นธาตุต่างๆทั้ง 5 ธาตุ (ดิน ธาตุทอง ธาตุน้ำ ธาตุไม้ ธาตุไฟ) โดยมีการพิจารณาจากสิ่งต่างๆ ซึ่งสีนั้นก็เป็นตัวพิจารณาในของธาตุนั้นๆเช่นเดียวกัน โดยการแจกแจงธาตุต่างๆ เป็นสีสัน ดังนี้


ตารางแสดงการแบ่งสีต่างๆให้สอดคล้องกับธาตุ

ธาตุ                                        สี

ดิน                                         สีเหลือง,ส้ม,น้ำตาล,ครีม,อิฐ,สีแทน
ทอง                                       สีขาว , เงิน , ทอง
น้ำ                                         สีฟ้า , น้ำเงิน , ดำ
ไม้                                         สีเขียว (แก่และอ่อน)
ไฟ                                         สีแดง , ม่วงแดง, ชมพู


           ที่นี้เราแบ่งสีต่างๆเป็นธาตุได้อย่างไร ทั้งนี้เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาของสีก่อน สีนั้นเกิดจากธรรมชาติของแสง ซึ่งหากเรียนวิทยาศาสตร์สมัยเด็กๆนั้นจะมีการทดลองเรื่องการใช้แสงผ่านแท่งแก้วปริซึม โดยเมื่อแสงผ่านแก้วปริซึมนั้นจะเกิดการหักเหของแสงเนื่องจากว่าแก้วปริซึมมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศ และการหักเหของแสงที่ผ่านปริซึมนั้นก็ทำให้เห็นแถบสีเสปคตรัมคือ สีม่วง คราม  น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง หรือที่เป็นสีของรุ้งนั้นเองซึ่งรุ้งนั้นก็เกิดจากการหักเหของแสงเช่นเดียวกัน และแสงสีที่เกิดขึ้นนั้นเกิดการทับกันก็จะกลายเป็นสีผสมต่างๆเช่น แสงสีแดงทับสีเขียวก็จะเกิดเป็นสีเหลือง ซึ่งหลักการนี้ก็นำมาประยุกต์ใช้ทำเครื่องโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ต่างๆนั้นเอง โดยทฤษฎีการหักเหของแสงนั้นนักวิทยาศาสตร์อย่าง เซอร์  ไอแซค  นิวตันได้สรุปว่าพลังงานแสงนั้นเป็นพลังงานชนิดเดียวที่ก่อให้เกิดสีได้ 

 


ภาพการแสงผ่านแท่งแก้วปริซึมทำให้เกิดการหักเหของแสงจึงเกิดเป็นสีต่างๆ

 

           ขณะที่แสงสัมผัสถูกสสารหรือวัตถุบางอย่างนั้น พลังงานบางส่วนจะถูกดูดกลืนสีจากแสงบางส่วน และกระจายหรือสะท้อนพลังงานบางส่วนหรือบางสีออกมา เช่น การที่เราเห็นสีเหลืองจากวัตถุนั้นเป็นเพราะว่าวัตถุนั้นดูดกลืนแสงสีอื่นไว้แต่กระจายหรือสะท้อนสีเหลืองออกมาเราจึงเห็นเป็นสีเหลือง ส่วนวัตถุที่เห็นเป็นสีสว่างเกิดจากการที่วัตถุนั้นสะท้อนหมดหรือเกือบหมดทุกสีเช่น  วัตถุสีขาวที่สะท้อนแสงทุกสี ส่วนวัตถุที่สีมืดนั้นเกิดจากการที่แสงดูดกลืนที่หมดหรือเกือบหมดทุกสีเช่น วัตถุสีดำที่ดูดกลืนแสงทุกสี 

           สีที่เกิดขึ้นจากแสงก็จะมีพลังงานที่แตกต่างๆกันโดยมีความยาวของคลื่นและความถี่ของแสงที่แตกต่างกัน ดังนั้นวัตถุที่มีสีคนละสีก็จะดูดกลืนและสะท้อนของแสงที่ไม่เท่ากันโดยมีพลังงานในรูปของความยาวคลื่นและความถี่ที่แตกต่างกัน ดังนั้นวัตถุธาตุต่างๆ (ธาตุดิน ทองน้ำ ไม้ ไฟ) นั้นก็แสดงพลังงานของความยาวคลื่นและความถี่ของแสงไม่เท่ากัน 

 

ความยาวคลื่นและความถี่ของแสง

ความยาวคลื่นและความถี่ของแสงสีแตกต่างกันตามพลังงานที่สีแสงนั้นมีอยู่ เช่น แสงสีแดงมีพลังงานน้อยกว่าแสงสีม่วง

แสงสี                       ความยาวคลื่น                     ความถี่
ม่วง                          3.9-4.5x10-7                    6.7-7.7x1014
น้ำเงิน                      4.5-4.9x10-7                    6.1-6.7x1014
เขียว                        4.9-5.8x10-7                    5.3-6.1x1014
เหลือง                      5.8-6.0x10-7                    5.1-5.3x1014
ส้ม                           6.0-6.2x10-7                    4.8-5.1x1014
แดง                         6.2-7.7x10-7                    3.9-4.8x1014

 

           การสะท้อนของแสงทำให้เกิดอุณหภูมิของรังสีความร้อนที่มีความแตกต่างกันอีกด้วยซึ่งพลังงานความร้อนนี้เกิดจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นและความถี่แสงไม่เท่ากัน วัตถุที่ได้รับแสงนั้นจะมีการแผ่รังสีความร้อนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยความสมดุลของพลังงานนั้นคือ 

พลังงานแสงทั้งหมด = ค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืน (Absorptivity, α) + ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อน(Reflectivity, ρ) + 
ค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่าน (Transmissivity, T) โดยวัตถุแต่ละอย่างที่แสงสีนั้นจะมีค่ามาจากสมการนี้ เช่น

           -  วัตถุนั้นมีค่าพลังงานมากจากค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนทั้งหมด หรือค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนและการส่งผ่านเท่ากับศูนย์นั้น วัตถุนั้นจะเป็นสีดำ
           -  วัตถุนั้นมีค่าพลังงานมากจากค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนทั้งหมด หรือค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนและการส่งผ่านเท่ากับศูนย์นั้น วัตถุนั้นจะเป็นสีขาว
           -  วัตถุนั้นมีค่าพลังงานมากจากค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านทั้งหมด หรือค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนและการดูดกลืนเท่ากับศูนย์นั้น วัตถุนั้นจะโปร่งแสง

           หมายเหตุ การที่ค่าต่างๆในสมการแตกต่างกันจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัตถุ เช่น สมบัติทางกายภาพ, อุณหภูมิ, ลักษณะของพื้นผิว, มุมการตกกระทบ, ความยาวคลื่น ฯลฯ


ตารางความสัมพันระหว่างช่วงอุณหภูมิกับสีของรังสีความร้อนที่ตามองเห็น

Temperature ( °C)                             Color
550 – 580                                             Black + Purple
580 – 650                                             Brown + Purple
650 – 750                                             Purple
750 – 780                                             Dark Carmine
780 – 800                                             Carmine
800 – 830                                             Orange + Carmine
830 - 800                                              Dark Orange
880 - 1050                                            Orange
1050 - 1150                                          Yellow + Orange
1150 - 1250                                          Yellow
1250 - 1320                                          White + Yellow

           จากข้อมูลการเกิดสีต่างๆนั้นจึงทำให้เราเข้าใจว่าสีแต่ละสีก็มีพลังงานที่แตกต่างกัน เมื่อเรามองถึงวัตถุธาตุต่างๆ เช่น ธาตุดินที่มีสีน้ำตาล ส้ม เหลือง ครีม แทน โดยโทนสีเหล่านี้มีพลังงานของความยาวคลื่นและความถี่ใกล้เคียงกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งของที่ไม่ใช่ดินเช่น รถยนต์สีเหลือง เป็นต้น รถยนต์นั้นแม้ไม่ใช่วัตถุธาตุดินก็ตามแต่ก็เปรียบเสมือนมีพลังของธาตุดินเนื่องจากมีดูดซับพลังงานและกระจายพลังงานที่มีความยาวคลื่นและความถี่ของแสงเท่าเทียมกัน ก็เปรียบเสมือนมีการกระจายของพลังของแสงที่มีพลังงานเหมือนธาตุดินนั้นเอง 

           ส่วนสีที่มักจะสับสนกับวัตถุธาตุนั้นคือสีขาวและสีดำ โดยสีขาวที่เป็นธาตุทอง เนื่องจากว่าธาตุทองนั้นจริงๆแล้วก็คือธาตุที่เป็นโลหะทั้งหมด ดังนั้นสีของธาตุทองก็คือสีโลหะ  เช่น สีเงิน บรอนซ์ ทอง และสีที่มีความแวววาวทั้งหมดเนื่องจากความแวววาวเป็นลักษณะแสงและสีของพลังธาตุทอง ซึ่งความแวววาวนั้นก็คือแสงสีขาวนั้นเอง ดังนั้นวัตถุที่มีสีขาวหรือความแวววาวก็จะเปรียบเหมือนมีพลังธาตุทองเพราะวัตถุสะท้อนพลังงานของความถี่และความยาวของคลื่นแสงเหมือนกับธาตุทอง 

           ส่วนสีดำนั้นคือธาตุน้ำซึ่งเหมือนน้ำลึกๆในทะเลก็จะมืดสนิทเหมือนสีดำ ส่วนสีฟ้า น้ำเงินก็เหมือนน้ำที่ตื้นและลึกขึ้นมาตามความเข้มของสี ซึ่งวัตถุธาตุใดมีสีดำก็จะมีการกระจายพลังงานในความถี่และความยาวคลื่นแสงเดียวกับธาตุน้ำนั้นเอง นอกจากนี้สีดำยังเป็นสีที่ดูดซึมแสงทุกความยาวคลื่นและความถี่โดยไม่สะท้อนสีอื่นๆออกมา ซึ่งหากมองจากตารางของรังสีที่แผ่จากวัตถุข้างต้นแล้วสีดำก็ทำให้เกิดอุณหภูมิน้อยสุดเนื่องจากมีการค่าสัมประสิทธิ์การดูดซึมสูงสุด ส่วนคุณสมบัติเหมือนน้ำจริงๆที่ดูดซึมสะสมพลังในทางฮวงจุ้ยเช่น การที่น้ำสะสมความเย็นไว้จากกลางคืนเมื่อเวลาเราเล่นน้ำทะเลตอนช่วงเช้าขณะที่มีแสงแดดแต่น้ำในช่วงเช้ายังเย็นอยู่นั้นเอง 

           ทั้งนี้ธาตุอื่นๆต่างๆก็จะลักษณะของพลังคลื่นความถี่และความยาวแสงของตนเอง ดังนั้นสีต่างๆจึงมีลักษณะรูปแบบของพลังที่แบ่งเป็นธาตุต่างๆได้ จึงมีการใช้สีต่างๆในเชิงฮวงจุ้ยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะกับหลักปฏิกิริยาของ 5 ธาตุที่มีแต่ละธาตุมีความสัมพันธ์กันในด้านที่ส่งเสริม ก่อเกิด ถ่ายเท ควบคุมหรือทำลายกันนั้นเอง


โดย อ.เกริกวิชญ์ กฤษฎาพงษ์

บทความที่เกี่ยวข้อง
แสงสีกับฮวงจุ้ย ... อ่านต่อ
แสงแดดกับฮวงจุ้ย ... อ่านต่อ
ทิศทางลมกับฮวงจุ้ย ... อ่านต่อ
ดูดวง / ฮวงจุ้ย
ทายนิสัย จากลายมือการเขียนตัวเลข ... BY : หมอเมท ... อ่านต่อ
คาถาทวงหนี้ คาถาอีกาวิดน้ำ ใช้สำหรับคนยืมเงินแล้วไม่คืนหรือของหาย ... อ่านต่อ
ตากระตุก ตาเขม่น ลางสังหรณ์ที่บ่งบอกเรื่องราวอะไร? ... อ่านต่อ
 

 


 


 


 


 


 


 


 


 


 

หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย

бишкек эскорт

 

Copyright @2014 Horonumber.com All rights reserved.