รายละเอียดกระทู้
เจ้าของกระทู้
: Author
ว/ด/ป เวลา
: 13/05/24 22:25:13 PM
เลขไอพี
: 223.24.163.53
หัวข้อ
: ต้อหิน ภัยเงียบที่อาจส่งผลต่อการมองเห็นในผู้สูงวัย
รายละเอียด
:

ต้อหิน ภัยเงียบที่อาจส่งผลต่อการมองเห็นในผู้สูงวัย

ต้อหิน

โรคต้อหินเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมของขั้วประสาทตา ส่งผลให้ประสิทธิภาพการมองเห็นลดน้อยลงและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดต้อหินเกิดจากที่ความดันตาสูงขึ้น โดยการรักษาโรคต้อหินต้องมีการวินิจฉัยที่ถูกต้องและการจัดการที่เหมาะสมตามสาเหตุของผู้ป่วย

ในบทความนี้จะมาอธิบายว่าโรคต้อหินคืออะไร มีสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง และจะมีวิธีการในการวินิจฉัยรวมไปถึงต้อหินรักษายังไงได้บ้าง


ต้อหิน (glaucoma) คืออะไร?

โรคต้อหินคือ กลุ่มของโรคทางดวงตาที่เกิดจากความเสื่อมของเส้นประสาทตา โดยมีปัจจัยหลักมาจากที่ความดันลูกตาสูงขึ้นจนทับเส้นประสาทตาและส่งผลให้เส้นประสาทตาโดนทำลาย หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด ดังนั้นการตรวจดวงตาอย่างสม่ำเสมอจึงเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพื่อป้องกัน ควบคุม และชะลอการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร


สาเหตุและปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดต้อหิน?

โรคต้อหินมีหลายสาเหตุและปัจจัยที่อาจทำให้เกิดอาการนี้ ซึ่งมีโอกาสพบร่วมกับโรคทางดวงตาอื่น ๆ ที่แทรกซ้อนเข้ามาจากอุบัติเหตุ การผ่าตัดโรคทางดวงตาได้ หรืออาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่นร่วมด้วยได้ได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้แตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล โดยปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลให้ความดันในลูกตาเพิ่มสูงขึ้น

ในบางกรณีอาจมีความดันที่เพิ่มสูงขึ้นเองโดยธรรมชาติ เนื่องจากการเสื่อมภายในดวงตาหรือความดันตาสูงเกิดจากการใช้ยาบางประเภท ที่ส่งผลให้ท่อระบายน้ำหล่อเลี้ยงภายในลูกตาเกิดการอุดตันและทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้นได้ โดยนอกจากนี้ยังปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดต้อหินได้อีกเช่น

  • อาการบาดเจ็บ: สาเหตุการเกิดโรคต้อหินอาจเกิดจากอุบัติเหตุที่บริเวณต้นคอหรือศีรษะเช่น การกระแทกบริเวณศีรษะหรือการบาดเจ็บจากการถูกกระทบด้วยของแข็งอย่างรุนแรง
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม: บางครั้งปัจจัยการเกิดโรคต้อหินสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้
  • ปัจจัยทางสุขภาพ: ความผิดปกติในระบบประสาท ภาวะตึงเครียด หรือปัญหาสุขภาพที่ทำให้กล้ามเนื้อหรือเอ็นอักเสบเช่น โรคภูมิแพ้ อาการภูมิตก หรือภูมิคุ้มกันตกต่ำ อาจเป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดโรคต้อหินได้

อาการของโรคต้อหิน

ต้อหินอาการ

โรคต้อหินอาการส่วนใหญ่มักไม่ค่อยแสดงออกมาอย่างชัดเจน ทำให้ระยะเวลาในช่วงเริ่มต้นของอาการจนส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นนั้นจะต้องใช้เวลาเป็นปี โดยเฉพาะต้อหินที่เกิดจากความเสื่อมของเส้นประสาทตาซึ่งไม่มีอาการใด ๆ บ่งบอกและอาจใช้เวลา 5-10 ปี จนมีสัญญาณบ่งบอกความผิดปกติ ถ้าหากตรวจพบเจอเร็วก็สามารถควบคุมอาการจนไม่ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นได้ แต่หากตรวจพบตอนช่วงระยะท้าย ๆ หรือมีอาการที่ค่อนข้างรุนแรงแล้วก็อาจสูญเสียการมองเห็นได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยอาการต้อหินเฉียบพลัน จะมีอาการดังนี้

  • มีอาการตาแดง
  • มีอาการปวดตา โดยอาจปวดมากจนรู้สึกคลื่นไส้
  • มีความดันตาเพิ่มขึ้นอย่างกระทันหัน
  • กระจกตาบวมหรือขุ่น
  • เมื่อมองไปที่ดวงไฟจะเห็นวงกลมจ้ารอบดวงไฟ

3 ประเภทของต้อหินที่เราควรทราบ

ต้อหินเกิดจาก

โรคต้อหินนั้นไม่ได้มีรูปร่างให้เห็นหรือมีหินเกิดขึ้นในดวงตา แต่มีสาเหตุมาจากการลดลงของเซลล์และเส้นใยประสาทในจอประสาทตา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของขั้วประสาทตาที่เป็นศูนย์รวมของเส้นใยประสาทตาคอยนำกระแสประสาทการมองเห็นไปแปลผลที่สมอง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลานสายตาหรือขอบเขตการมองเห็นตามมา โดยต้อหินจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทได้แก่

1. ต้อหินปฐมภูมิ

ต้อหินปฐมภูมิคือต้อหินที่ไม่มีสาเหตุการเกิดจากปัจจัยภายนอก โดยจะมีต้อหินปฐมภูมิมุมเปิดเป็นต้อหินที่พบได้บ่อยที่สุด แบ่งออกเป็นกรณีความดันลูกสูงกับความดันลูกตาปกติ โดยการดำเนินขอโรคมักจะดำเนินไปอย่างช้า ๆ ผู้ป่วยจึงสังเกตไม่เห็นความผิดปกติในช่วงระยะแรก ส่วนใหญ่มักตรวจพบโดยจักษุแพทย์ และเมื่อโรคมีการดำเนินไปสักระยะหนึ่งผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการตามัว ขอบเขตการมองเห็นลดลง หรือสามารถมองในที่มืดได้ลดลง

อีกแบบหนึ่งคือต้อหินปฐมภูมิแบบปิดที่มักพบในคนเอเชีย โดยมีสาเหตุจากการอุดตันในท่อระบายน้ำภายในลูกตาทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น แบ่งออกเป็นชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ซึ่งทั้งสองชนิดจะมีอาการคล้ายกันคือผู้ป่วยมักจะมีอาการ ตาแดง ตามัว ปวดศีรษะ ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันขั้วประสาทตาถูกทำลาย

2. ต้อหินทุติยภูมิ

ต้อหินทุติยภูมิเกิดจากความผิดปกติของอย่างอื่นที่ส่งผลต่อดวงตาเช่น เบาหวานขึ้นตา, การอักเสบภายในดวงตา, เนื้องอก, มะเร็งในลูกตา หรือการใช้ยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานานเป็นต้น

3. ต้อหินโดยกำเนิด

ต้อหินโดยกำเนิดจะเกิดจากความผิดปกติของดวงตาตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ ส่งผลให้มีการระบายน้ำในลูกตาผิดปกติ บางกรณีอาจมีความผิดปกติอื่นทางร่างกายร่วมด้วย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการกลัวแสง เปลือกตากระตุก หรือมีตาดำขุ่นเป็นต้น


เมื่อเป็นต้อหินแล้วต้องวินิจฉัยอย่างไร?

สำหรับการวินิจฉัยโรคต้อหินการสามารถทำการวินิจฉัยโดยจักษุแพทย์ได้หลายวิธีดังนี้

วินิจฉัยโดยการวัดความดันตา 

การวินิจฉัยต้อหินโดยการวัดความดันตา (Tonometry) ซึ่งจะสามารถแบ่งแนวทางในการทดสอบได้ 3 วิธีคือ

  1. Applanation method เป็นเทคนิคการตรวจวัดความดันตาโดยใช้กล้อง Slit Lamp Microscope
  2. Schiotz method เป็นการใช้เครื่องมือตรวจวัดความดันของลูกตาโดยตรง โดยจะใช้เครื่องวัดวางบนพื้นผิวของลูกตา
  3. Non-contact method เป็นการตรวจวัดความดันลูกตาโดยใช้การคำนวณการเปลี่ยนแปลงการสะท้อนแสงจากกระจกตา

วินิจฉัยโดยการวัดมุมระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา

การวินิจฉัยต้อหินโดยการวัดมุมระบายน้ำในลูกตา (Gonioscopy) โดยหยอดยาชาที่ที่ตาและใช้กล้องชนิดพิเศษวางบนกระจกตาเพื่อทำการตรวจวัดมุมระบายน้ำในลูกตา เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นต้อหินแบบมุมเปิดหรือมุมปิด

วินิจฉัยโดยการส่องกล้องตรวจดูภายในตา

การวินิจฉัยต้อหินโดยการส่องกล้องดูภายในตา (Opthalmoscopy) เป็นการส่องกล้องเพื่อดูลักษณะรูปร่างของขั้วประสาทตา

วินิจฉัยโดยการตรวจลานสายตา

การวินิจฉัยต้อหินโดยการตรวจลานตา (Perimetry) เป็นการตรวจที่สามารถทำได้หลายวิธีโดยวิธีที่เป็นที่นิยมที่สุดจะให้ผู้ป่วยมองตรงไปข้างหน้าและให้จักษุแพทย์ค่อย ๆ นำแสงไฟเคลื่อนจากด้านข้างทีละข้างและให้ผู้ป่วยบอกว่าเริ่มเห็นแสงเมื่อใด โดยวิธีนี้จะช่วยให้สามารถตรวจการมองเห็นด้านข้างได้เป็นอย่างดี


วิธีรักษาโรคต้อหิน

ต้อหินรักษา

การรักษาต้อหินจะมุ่งเน้นที่การชะลอการดำเนินของโรคเพื่อป้องกันการสูญเสียการมองเห็นที่เกิดจากโรคนี้ ซึ่งไม่มีวิธีที่สามารถทำให้กลับมามองเห็นเป็นปกติได้ โดยวิธีการรักษามักเริ่มต้นด้วยการให้ยาและมีวิธีการอื่น ๆ เช่น เลเซอร์ การผ่าตัด เพื่อควบคุมความดันลูกตา และลดความดันน้ำตาในลูกตา เป็นต้น

วิธีรักษาต้อหินนั้นหลายขั้นตอนโดยเริ่มจากการรับประทานยาที่ช่วยลดความดันลูกตาและเพิ่มการระบายน้ำในลูกตา ซึ่งหากไม่ได้ผลอาจจะต้องพิจารณาการผ่าตัดเพื่อทำทางระบายน้ำภายในลูกตา ดังนั้นความร่วมมือของผู้ป่วยในการรักษาจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยต้องตรวจติดตามและรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่มีการใช้ยาผู้ป่วยควรเคร่งครัดในการใช้ยา และรายงานแพทย์ทุกครั้งหากเกิดปัญหาหรือมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยา


คำถามที่พบบ่อย

โรคต้อหินสามารถหายเองได้ไหม?

เนื่องจากโรคต้อหินเป็นโรคที่ส่งผลให้เกิดการทำลายเส้นประสาทตา ซึ่งเป็นความผิดปกติที่ร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูเองได้จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและได้รับการรักษาจากแพทย์

เป็นต้อหินแล้ว ห้ามทานยาอะไรบ้าง?

หากมีอาการต้อหินจะต้องทราบสาเหตุของการเกิดอาการที่แน่ชัดเพื่อจะได้สามารถหาทางรักษาที่ถูกจุดได้ ซึ่งผู้ป่วยควรคำปรึกษาจากแพทย์ที่ประเมินอาการโดยตรงว่ามียาประเภทใดบ้างที่ห้ามทานหลังจากที่มีอาการต้อหิน


สรุปเรื่องต้อหิน

การเกิดโรคต้อหินมักพบกับกลุ่มผู้สูงอายุ โดยอาจมีสาเหตุมาจากโรงแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือการใช้ยาหยอดตาประเภท สเตียรอยด์ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน โดยในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้กันมากขึ้นเพราะยากลุ่มนี้จะช่วยรักษาอาการคันตาและระคายเคืองตาได้เป็นอย่างดี จึงทำให้คนนิยมซื้อมาใช้งานจนละเลยคำเตือนของแพทย์และเภสัช ส่งผลให้ความดันตาสูงขึ้นจนมีโอกาสกลายเป็นต้อหินได้

ชื่อ*
 

 


 


 


 


 


 


 


 


 


 

หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย

бишкек эскорт

 

Copyright @2014 Horonumber.com All rights reserved.