รายละเอียดกระทู้
เจ้าของกระทู้
: Author
ว/ด/ป เวลา
: 25/03/25 06:35:35 AM
เลขไอพี
: 27.55.79.221
หัวข้อ
: รองช้ำ อาการปวดที่ไม่ควรมองข้ามต้องรักษาให้หายดี
รายละเอียด
:

รองช้ำอาการเจ็บปวดที่ไม่ควรละเลย ควรพบแพทย์เพื่อรักษา 

รองช้ำ

รองช้ำ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบบริเวณกล้ามเนื้อและกระดูกที่เท้า ส่งผลให้รู้สึกเจ็บเวลาลุกขึ้นยืน หรือหลังจากยืนไปสักระยะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน

เวลาที่เดินแล้วรู้สึกเจ็บฝ่าเท้าหลายคนเลือกจะมองข้ามเพราะคิดว่าไม่นานก็หายเอง แต่จริง ๆ แล้วไม่ควรทำแบบนั้น เพราะอาการปวดเท้าอาจเป็นสัญญาณของโรค “รองช้ำ” อาการบาดเจ็บที่เท้าที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว และมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ซึ่งหากปล่อยไว้อาการรองช้ำอาจรุนแรงจนถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษา ก่อนอาการจะแย่ลงมาก ๆ เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและวิธีรักษาโรครองช้ำให้หายขาด


โรครองช้ำ คืออะไร?

รองช้ำ คือ

โรครองช้ำ (Plantar Fasciitis) คือ อาการเจ็บปวดบริเวณฝ่าเท้าที่มีสาเหตุมาจากพังผืดใต้ฝ่าเท้าเกิดการอักเสบ โดยพังผืดเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณฝ่าเท้า ทำหน้าที่รับรองรับและกระจายน้ำหนักที่ลงมายังฝ่าเท้าอย่างเหมาะสม การอักเสบของพังผืดจึงส่งผลกระทบต่อการยืนเป็นอย่างมาก หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาการจะรุนแรงขึ้น และมีโอกาสพบหินปูนในกระดูกส้นเท้าได้ด้วย


ปัจจัยที่เสี่ยงทำให้เกิดโรครองช้ำ

ปัจจัยที่เสี่ยงทำให้เกิดโรครองช้ำ ส่วนมากมาจากสภาพร่างกายและพฤติกรรมของแต่ละบุคคล โดยมีรายละเอียดปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  • ลักษณะการเดินของแต่ละคนอาจทำให้เกิดโรครองช้ำได้ โดนเฉพาะคนที่วางเท้าไม่ถูกต้อง
  • เมื่ออายุมากขึ้นเข้าช่วงวัย 40 ปีขึ้นไป ก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นรองช้ำมากขึ้นด้วย
  • คนที่มีน้ำหนักตัวค่อนข้างมากมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้มาก เพราะพังผืดจะต้องรับน้ำหนักจากแรงที่กดลงมามากขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการอักเสบ
  • คนที่อุ้งเท้าแบนหรือสูงเกินไป ก็เสี่ยงเป็นโรคมากกว่าคนอื่น เนื่องจากเท้ากระจายน้ำหนักได้ไม่ดี ซึ่งรองช้ำก็เกิดจากการที่พังผืดบาลานซ์ได้ไม่ดี
  • การทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและรุนแรง โดยไม่พักเท้าเลยก็เพิ่มความเสี่ยงการเป็นรองช้ำได้
  • กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณฝ่าเท้าเกิดการเสื่อมสภาพก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยของโรค

อาการของโรครองช้ำเป็นอย่างไร?

อาการของโรครองช้ำ มักเกิดความรู้สึกเจ็บปวดบริเวณฝ่าเท้าหลังจากลุกขึ้นยืน บางคนมีอาการปวดเท้าด้านข้างหรือปวดเท้าด้านในคล้ายโดนเข็มทิ่มบริเวณฝ่าเท้า โดยอาการจะค่อย ๆ หายไปเองหลังผ่านไปสักพัก แต่พอออกไปทำกิจวัตรประจำวันที่ใช้งานฝ่าเท้าหรือมีการลงน้ำหนักที่เท้า อาการเจ็บปวดก็จะกลับมา และส่งผลให้เดินไม่สะดวกเพราะรู้สึกเจ็บทุกครั้งที่กดน้ำหนักลงไปที่ฝ่าเท้า


โรครองช้ำมีวิธีการรักษาอย่างไร?

การรักษาโรครองช้ำ

โรครองช้ำมีวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับว่าอาการรุนแรงแค่ไหน ทางที่ดีควรเข้าพบแพทย์และตรวจอาการอย่างละเอียดก่อนรักษา โดยวิธีการรักษาที่แนะนำมีดังนี้

  • พักเท้าพร้อมประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวดวันละ 20 นาที จนอาการทุเลาลง
  • ยืดกล้ามเนื้อบริเวณฝ่าเท้าและเอ็นร้อยหวาย พร้อมใส่แผ่นรองส้นเท้าเพื่อลดแรงกดบริเวณฝ่าเท้า
  • ก่อนเข้าพบแพทย์ตรวจรองช้ำและรักษา ควรงดกิจกรรมที่ใช้เท้ารุนแรง
  • สวมเฝือกช่วยยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นฝ่าเท้า
  • วิธีรักษาโรครองช้ำที่ส้นเท้าด้วยการกายภาพบำบัด ช่วยให้ฝ่าเท้ากลับมาทำงานได้ตามปกติ
  • รับประทานยาตามคำสั่งของแพทย์
  • หากมีอาการรุนแรงมาก ๆ ก็จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการที่รุนแรงอย่างการผ่าตัด หรือการรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock wave)

จะเห็นได้เลยว่าการรักษาโรครองช้ำมีหลายแบบตั้งแต่วิธีแก้อาการปวดฝ่าเท้าด้วยตัวเองผ่านการประคบเย็นและงดทำกิจกรรมที่สุ่มเสี่ยงทำให้อาการรุนแรงขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นหากอาการปวดไม่ดีขึ้นเลย ก็ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการและหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไป


อาการรองช้ำแบบไหนควรเข้าพบแพทย์

หากลองรักษาอาการรองช้ำด้วยวิธีการต่าง ๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นการประคบเย็น งดทำกิจกรรมต่าง ๆ ควบคู่กับการรับประทานยาแก้ปวดแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้นแถมมีอาการปวดมากกว่าเดิม จนส่งผลต่อชีวิตประจำวันมาก ๆ อาจมีความเสี่ยงเป็นโรครองช้ำเรื้อรัง ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด โดยทางโรงพยาบาลจะมีการตรวจฝ่าเท้าด้วยการเอกซเรย์ หรือ MRI เพิ่มเติมก่อนทำการรักษา อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดรองช้ำก็ไม่ควรละเลยและไปพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะหากอาการรุนแรงมากก็จะส่งผลทำให้ไม่สามารถเดินได้เลย


รองช้ำอาการปวดที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ควรรักษาให้หายก่อนปวดเรื้อรัง

โรครองช้ำไม่ใช่แค่อาการปวดที่ฝ่าเท้าธรรมดา ๆ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้เลย หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาการของโรคมักเริ่มจากการปวดฝ่าเท้าเวลาลงน้ำหนักและทำกิจกรรมต่าง ๆ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาการปวดมีโอกาสที่จะรุนแรงมากขึ้นจนส่งผลให้เจ็บเหมือนโดนเข็มทิ่มเวลาลงน้ำหนักอย่างรุนแรง จนไม่สามารถลุกขึ้นเดินได้เลย โดยการรักษาโรครองช้ำมีทั้งการบรรเทาอาการปวดด้วยตัวเองและการพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดและรักษาอย่างเหมาะสม

ชื่อ*
 

 


 


 


 


 


 


 


 


 


 

ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝากสล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์

หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย

бишкек эскорт

 

Copyright @2014 Horonumber.com All rights reserved.