ถ้าช้างเผือกที่แก่งกระจานเป็นจริง มาดูคำทำนายกัน

ก่อนอื่นต้องขอเล่าอธิบายคร่าวๆก่อนนะครับ
ช้างเผือกมี 4 ตระกูลช้าง
1. อิศวรพงศ์
2. พรหมพงศ์
3. วิษณุพงศ์
4. อัคนิพงศ์
ตระกูลพรหมพงศ์
พระพรหมเป็นผู้สร้าง หากมีช้างในตระกูลนี้มาสู่พระบารมี เชื่อว่าจะให้ความเจริญทั้งทางวัตถุและวิทยาการต่างๆ แก่เจ้าของ
ลักษณะเด่นของช้างตระกูลนี้ คือมีเนื้อหนังอ่อนนุ่ม มีหน้าใหญ่ ท้ายต่ำ ขนอ่อนละเอียด เส้นเรียบ โขมดสูง คิ้วสูง น้ำเต้าแฝด มีกระเต็มตัว ขนที่หลังหู ปาก และขอบตามีสีขาว อกใหญ่ งามีสีเหลือง เรียวรัดงดงาม
ตระกูลอิศวรพงศ์
พระอิศวรเป็นผู้สร้าง เมื่อมีช้างตระกูลนี้มาสู่พระบารมี จะทำให้บ้านเมืองมีความเจริญด้วยทรัพย์และอำนาจ
ลักษณะเด่นของช้างตระกูลนี้ มีผิวกายดำสนิท งาอวบ งอน เสมอกันทั้งสองข้าง เท้าใหญ่ น้ำเต้ากลม คอย่นเมื่อเยื้องย่าง อกใหญ่ หน้าเชิด
ตระกูลวิษณุพงศ์
พระวิษณุเป็นผู้สร้าง เมื่อมีช้างตระกูลนี้มาสู่พระบารมีย่อมมีชัยชนะต่อศัตรู ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ผลาหาร ธัญญาหารจะบริบูรณ์
ลักษณะเด่นช้างตระกูลนี้ มีผิวหนา ขนหนา เกรียน สีทองแดง อก คอ และคางใหญ่ หางและงวงยาว หน้าใหญ่ นัยน์ตาขุ่น และหลังราบ
ตระกูลอัคนิพงศ์
พระอัคนีเป็นผู้สร้าง ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมี บ้านเมืองจะเจริญด้วยมังสาหาร มีผลในทางระงับศึกอันพึงจะเกิดหรือเกิดขึ้นแล้ว และมีผลในทางระงับความอุบาทว์ทั้งปวงอันเกิดแก่บ้านเมืองและราชบัลลังก์
ลักษณะเด่นของช้างตระกูลนี้คือมีท่วงทีงดงาม เวลาเดินจะเชิดงวง อกใหญ่ ปลายงาทั้งสองจะโค้งพอจรดกัน มีสีเหลือง ขนสีขาวปนแดง และผิวกายมีสีใบตองตากแห้ง
ช้างที่พบที่แก่งกระจาน คือตระกูลอัคนิพงศ์ ซึ่งเป็นตระกูลช้างที่ในหลวงยังไม่เคยมี ดังนั้นจึงไม่สามารถเอาช้างใดๆก็ตามที่เคยมีไปเทียบลักษณะได้ จริงอยู่ที่ช้างเผือกไม่จำเป็นที่ตัวต้องเผือก แต่ช้างเผือกตระกูลนั้น อยู่ใน3ตระกูลข้างต้น โดยช้างเผือกที่เราเห็นตัวดำๆของในหลวง ส่วนมากเป็น พรมหมพงศ์ และ อิศวรพงศ์
แต่ยังไม่มีอัคนิพงศ์
คำทำนาย
พระอัคนีเป็นผู้สร้าง ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมี บ้านเมืองจะเจริญด้วยมังสาหาร มีผลในทางระงับศึกอันพึงจะเกิดหรือเกิดขึ้นแล้ว และมีผลในทางระงับความอุบาทว์ทั้งปวงอันเกิดแก่บ้านเมืองและราชบัลลังก์
ถ้าช้างที่แก่งกระจานเป็นช้างเผือก จะเป็นการเจอในรอบ35ปี
ตามตำราคชรกล่าวไว้ว่า สัตว์3ชนิดที่เกิดมารว่มภพกัน คือ ลิงเพือก กาเผือก และช้างเผือก ถ้ามีชนิดใดปรากฎ อีกชนิดก็จะตามมา หากใครจำได้ เคยมีข่าวอีกาเผือกและลิงกังเผือกเมื่อไม่นานมานี้เกิดขึ้นแล้ว
รูปลิงเผือก และกาเผือก
ช้างเผือกประจำรัชกาล (ของในหลวงรัชกาลที่9)
ในความเชื่อที่มีมาแต่โบราณของไทยถือว่าเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติประดับบารมีของพระมหากษัตริย์ เมื่อมีช้างเผือกเข้ามาสู่พระบารมีจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีสมโภชขึ้นระวาง พระราชทานนามเป็น "พระยาช้างต้น หรือนางพระยาช้างต้น" และให้ยืนโรงช้างประจำพระราชฐาน พระมหากษัตริย์พระองค์ใด มีช้างเผือกมาก จะเชื่อกันว่ามีพระบุญญาบารมีมาก สำหรับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ นี้ จวบจนถึงปัจจุบัน มีการพบช้างเผือก ๒๑ ช้าง ปัจจุบันเหลือ ๑๑ ช้าง และวันนี้ได้นำตัวอย่างมาให้ดู 6 ช้าง ดังนี้
ตระกูลพรหมพงศ์
พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิศุทธวงศ์ สรรพมงคลลักษณคเชนทราชาติ สยามราษฎรสวัสดิประสิทธิ์ รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการปรมินทรบพิตร สารศักดิ์เลิศฟ้า
ตระกูลพิษณุพงศ์
พระเศวตสุทธวิลาศ อัฏฐคชชาต พิษณุพงศ์ ดำรงประภาพมหิมัน ตามร พรรณไพศิษฏ์ ผริตวรุตตมมงคล ดาสศุภผลสวัสดิวิบุล อดุลยลักษณ์เลิศฟ้า
ตระกูลพรหมพงศ์
พระวิมลรัตนกิริณี กมุทศรีพรรณโศภิต อัฏฐทิศพงศ์กมลาสน์ อรรคราชทิพยพาหน ถกลกิตติคุณกำจร อมรสารเลิศฟ้า
ตระกูลพรหมพงศ์
พระศรีนรารัฐราชกิริณี จิตรวดีโรจนสุวงศ์ พรหมพงศ์อัฏฐทิศพิศาล พิเสฐธารธรณิพิทักษ์คุณารักษ กิตติกำจร อมรสารเลิศฟ้า
ตระกูลพรหมพงศ์
พระเศวตภาสุรคเชนทร์ นวเมนทราพาหน สุทธวิมลวิษณุพงศ์ คุณธำรงดามพหัสดินทร์ สุพัชรินทร์อนันตพล คชมงคลเลิศฟ้า
ตระกูลวิษณุพงศ์
พระเทพวัชรกิริณี ดามพหัสดีพิษณุพงศ์ โสตถิธำรงวิสุทธิลักษณ์ อำนรรฆคุณสบสกนธ์ วิมลสารโสภิต พิบูลกิตติ์เลิศฟ้า

และที่ไม่ได้นำภาพมาให้ชมอีก 5 ช้าง ได้แก่
1. พระเศวตวรรัตนกรี
2. พระเศวตสุรคชาธาร
3. พระศรีเศวตศุภลักษณ์
4. พระบรมนขทัศ
5. ส่วนอีก 1 ช้าง ไม่ทราบชื่อ
นอกจากนี้ยังมีช้างสำคัญที่ยังไม่ได้ขึ้นระวาง ดังนี้
1. แก้วขาว ช้างพลายเผือก ลูกบ้าน คล้องได้จากจังหวัดเชียงใหม่
2. ก้อง คล้องได้จากจังหวัดชลบุรี
3. พลายวันเพ็ญ คล้องได้จากจังหวัดเพชรบุรี อายุประมาณ ๓๑ ปี ขณะนี้อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง
4. พลายยอดเพชร คล้องได้จากจังหวัดเพชรบุรี อายุเกือบ ๓๐ ปี ขณะนี้อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง
5. พังมด อายุ ๒๐ ปี คล้องได้จากจังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบันอยู่ที่โรงช้างต้น พระราชวังภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร
6. ขวัญเมือง คล้องได้จากจังหวัดเพชรบุรี มีอายุเกือบ ๓๐ ปี ขณะนี้อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง
7. พลายทองสุก อายุประมาณ ๓๑ ปี ขณะนี้อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง
Credit : www.t-pageant.com/2011
: www.raorakprajaoyuhua.com
: รูปภาพประกอบบางส่วนจาก www.innnews.co.th