เจ้าของรถยนต์และจักรยานยนต์ทุกคนต้องทำ พ.ร.บ. รถตามกฎหมาย หลายคนสงสัยว่าต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กี่บาท ต่อที่ไหน และต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง วันนี้เรามาอัปเดตอัตราค่า พ.ร.บ. ล่าสุดปี 2568 พร้อมรายละเอียดเอกสารที่ต้องใช้และสถานที่ต่อ พ.ร.บ. กัน
อัตราค่า พ.ร.บ. จะแตกต่างกันตามประเภทและขนาดของรถ โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้
รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) 600 บาท
รถยนต์โดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) 600 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้) 1,100 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาท
รถกระบะ น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน 900 บาท
รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 3 ตัน แต่ไม่เกิน 6 ตัน 1,220 บาท
รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 6 ตัน แต่ไม่เกิน 12 ตัน 1,310 บาท
รถจักรยานยนต์ไม่เกิน 75 ซีซี 150 บาท
รถจักรยานยนต์ 75-125 ซีซี 300 บาท
รถจักรยานยนต์ 125-150 ซีซี 400 บาท
รถจักรยานยนต์ 150 ซีซีขึ้นไป 600 บาท
การต่อ พ.ร.บ. รถต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินการ
สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ
เล่มทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนาก็ได้
ใบตรวจสภาพรถจาก ตรอ. (กรณีรถยนต์อายุครบ 7 ปีขึ้นไป)
ใบตรวจเช็คสภาพถังแก๊ส (กรณีรถติดแก๊สเท่านั้น)
สามารถต่อ พ.ร.บ. รถได้หลายช่องทาง ได้แก่
กรมการขนส่งทางบกทั่วประเทศ
ไปรษณีย์
ห้างสรรพสินค้าที่ร่วมรายการ ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพื่อการเกษตร
เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
ต่อภาษีออนไลน์ด้วยตัวเองผ่านทางเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/
การต่อ พ.ร.บ. รถเป็นสิ่งที่เจ้าของรถทุกคนต้องดำเนินการตามกฎหมาย โดยอัตราค่า พ.ร.บ. จะแตกต่างกันตามประเภทและขนาดของรถ สามารถต่อได้หลายช่องทางทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพียงเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน การต่อ พ.ร.บ. ก็จะเป็นเรื่องง่ายและสะดวกรวดเร็ว
หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย