“พ.ร.บ. รถยนต์” นับเป็นหนึ่งในกฎข้อบังคับทางจราจรที่ยานพาหนะทุกคันต้องทำและจำเป็นต้องมี เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถได้รับการช่วยเหลือและคุ้มครอง ไม่ว่าจะเป็นรถชน รถคว่ำ หรืออุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์
ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับพ.ร.บ. รถยนต์ว่าคุ้มครองเรื่องอะไรบ้าง และไขข้อสงสัยหากพ.ร.บ. รถยนต์หมดอายุจะโดนโทษปรับอย่างไรบ้าง? ถ้าพร้อมแล้วตามมาอ่านกันเลย
พ.ร.บ. รถยนต์ คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับที่มีกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปี พ.ศ. 2535 ว่าเจ้าของรถยนต์ที่มีชื่อในเล่มทะเบียนรถยนต์จะมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อพ.ร.บ. รถยนต์ทุก ๆ ปี หลังซื้อพ.ร.บ. รถยนต์แล้วจะได้รับกรมธรรม์กลับมาเพื่อใช้ยื่นต่อภาษีรถยนต์ทุกครั้งในแต่ละปี
ดังนั้นรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกในประเทศไทยต้องทำประกันภาคบังคับ ซึ่งพ.ร.บ. รถยนต์จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ที่ใช้งานรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รวมถึงผู้ที่ประสบภัยทุกคนที่เกิดจากอุบัติเหตุ โดยไม่แบ่งแยกว่าฝ่ายใดถูกหรือผิด เป็นการให้ความคุ้มครองที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยและสถานพยาบาลที่ทำการรักษาโดยที่รัฐเป็นผู้จัดให้
การคุ้มครองของพ.ร.บ. รถยนต์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ด้วยกัน ดังนี้
ความคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด
ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
ค่าเสียหายที่เกิดแก่ร่างกายจนถึงสูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพถาวร ค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท/คน
ความคุ้มครองค่าสินไหมทดแทนที่จะได้รับหากผู้ประสบภัยสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นฝ่ายถูก
ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ประสบภัยที่เป็นฝ่ายถูกจะได้รับมี
ได้รับค่าชดเชยเป็นค่ารักษาพยาบาลตามจำนวนจริงที่จ่าย ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
หากรุนแรงถึงขั้นเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพแบบถาวร จะได้รับค่าทดแทนอยู่ที่ 200,000-500,000 บาท/คน
กรณีรุนแรงถึงเสียชีวิต จะได้รับการชดใช้ในการจัดการศพ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท/คน
สำหรับกรณีที่ได้รับการแอดมิตให้เป็นผู้ป่วยใน จะได้รับค่าชดเชยรายวัน ๆ ละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน หรือไม่เกิน 4,000 บาท
แต่ความคุ้มครองจากพ.ร.บ. รถยนต์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น จะไม่เกิดขึ้นหากทำผิดเงื่อนไข เช่น ขับขี่รถยนต์ออกนอกประเทศไทย, กรณีรถยนต์ถูกกรรโชก ยักยอกโดยคนร้ายแล้วไปเกิดอุบัติเหตุรถชน รวมไปถึงการใช้รถยนต์ในทางที่ผิดกฎหมาย เช่น ขนแรงงานเถื่อน,ขนยาเสพติด, ลักทรัพย์, ใช้แข่งขันความเร็ว เป็นต้น
เหตุผลที่เจ้าของรถยนต์จำเป็นต้องต่อพ.ร.บ. รถยนต์เพราะเป็นข้อบังคับที่กฎหมายได้กำหนดไว้ว่า เจ้าของรถยนต์ทุกคนจะไม่สามารถเสียภาษีรถยนต์เพื่อต่อป้ายทะเบียนวงกลมที่มีอายุใช้งานตามกฎหมายแค่ 1 ปีได้หากไม่ทำประกันภาคบังคับ และการขับรถยนต์ที่ป้ายทะเบียนวงกลมขาดการต่ออายุจะมีความผิดตามกฎหมายและมีโทษปรับด้วยเช่นกัน
เอกสารสำคัญที่ต้องใช้ในการต่อพ.ร.บ. รถยนต์ ได้แก่
สำเนาบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางของเจ้าของรถยนต์ที่ต้องการทำพ.ร.บ. รถยนต์
สำเนาทะเบียนรถ หรือเล่มจริง
หากรถยนต์อายุครบ 7 ปีขึ้นไป ต้องเตรียมใบตรวจสภาพรถจากตรอ.
หากรถยนต์ติดแก๊ส ต้องเตรียมใบตรวจเช็คสภาพถังแก๊ส
สำหรับช่องทางในการต่อพ.ร.บ. รถยนต์สามารถเข้าไปติดต่อกับกรมขนส่งทางบกในแต่ละพื้นที่โดยตรง, ไปรษณีย์, ห้างสรรพสินค้า, ธนาคารเพื่อการเกษตร, จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส, ผ่านนายหน้าหรือตัวแทนประกันภัย หรือเลือกต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์กับบริษัทประกันก็ได้เช่นกัน
โดยทั่วไปแล้วการต่อพ.ร.บ. รถยนต์ไม่ทัน อาจทำให้โดนค่าปรับ และถือว่าผิดกฎหมายถ้าถูกจับได้ ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือจะส่งผลกระทบให้เจ้าของรถไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ และทำให้ป้ายทะเบียนวงกลมของรถยนต์ขาดอายุ ทั้งยังไม่สามารถนำรถคันดังกล่าวไปใช้ขับขี่บนท้องถนนได้ โดยมีโทษดังต่อไปนี้
หากขาดการต่อพ.ร.บ. นานเกิน 2 ปีจะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
ผลจากการไม่ซื้อพ.ร.บ. รถยนต์ทำให้ไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ และเมื่อถูกจับก็ต้องเสียค่าปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยเพิ่มอีกเดือนละ 1%
หากขาดการต่อพ.ร.บ. ไว้นานเกิน 3 ปี ทะเบียนรถยนต์จะถูกระงับใช้พร้อมโดนค่าปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท โดยรถยนต์จะต้องคืนป้ายทะเบียนให้กรมขนส่งภายใน 30 วัน มิเช่นนั้นจะโดยปรับเพิ่มอีก 1,000 บาท
กรณีบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าของรถได้ขับขี่รถยนต์ที่ไม่ได้ต่ออายุพ.ร.บ. รถยนต์ ก็จะได้รับโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
เนื่องจากพ.ร.บ. รถยนต์เป็นประกันภาคบังคับที่รถทุกประเภท ทุกคันต้องทำ จึงเป็นเรื่องปกติที่ต้องมีการเช็คพ.ร.บ. รถยนต์ว่าหมดอายุเมื่อไร ควรเลือกที่จะทำกับใคร เพื่อที่จะสามารถต่อภาษีและทำพ.ร.บ. รถยนต์ราคาที่ไม่ต้องจ่ายค่าปรับเกินนั่นเอง โดยความคุ้มครองที่จะได้รับจากพ.ร.บ. รถยนต์นั้นไม่สามารถคุ้มครองย้อนหลังได้เมื่อหมดอายุ นอกจากนี้หากรถยนต์ไม่ได้ทำพ.ร.บ. แล้วนำออกมาขับขี่บนท้องถนน จะถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และมีโทษปรับตามที่กฎหมายกำหนด
หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย