รายละเอียดกระทู้
เจ้าของกระทู้
: Author
ว/ด/ป เวลา
: 27/10/24 18:48:03 PM
เลขไอพี
: 27.55.93.166
หัวข้อ
: ความสำคัญของการบริจาคซะกาตของชาวมุสลิม คืออะไร
รายละเอียด
:

การบริจาคซะกาตทำไมถึงสำคัญต่อชาวมุสลิม และศาสนาอิสลามอีกด้วย

การจ่ายซะกาต

ความสำคัญของการบริจาคซะกาตคืออะไร? ทำไมถึงเป็นหนึ่งในหลักสำคัญของอิสลามที่มีผลต่อชาวมุสลิมด้วย การบริจาคซะกาตมีกี่รูปแบบ?

หากท่านได้เป็นผู้ริเริ่มศรัทธาในศาสนาอิสลาม การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจ่ายทานซะกาต จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจนั้นเอง โดยการบริจาคซะกาตเป็นหนึ่งในการให้ทานที่สามารถแสดงถึงความเคารพต่อพระเจ้า (อัลลอฮฺ) ทั้งเป็นส่วนที่ช่วยให้ท่านสามารถขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์ เป็นการจ่ายซะกาตที่ให้ทานแก่ผู้ยากไร้ ถือเป็นการวินัยบัญญัติที่ต้องกระทำ หากหลีกเลี่ยงถือเป็นบาปใหญ่ในภายโลกหน้า และรวมถึงการกระทำผิด เนรคุณต่อพระเจ้าได้


ซะกาต คืออะไร? จุดประสงค์ของการบริจาคซะกาต

บริจาคซะกาต

ซะกาต เป็นคำศัพท์เฉพาะที่มาจากภาษาอาหรับ จากคำว่า “ زكاة : ZAKAT ” ซึ่งคือ คำที่มีความหมายเกี่ยวกับการชำระที่บริสุทธิ์ , การขัดเกลาให้สะอาดบริสุทธิ์ , การเพิ่มพูน หรือบางท่านจะรู้จักในคำว่า ซะกาตุลมาล ที่หมายถึง ซะกาตบนความมั่งคั่ง จึงกลายเป็นจุดประสงค์ในรูปแบบของการกระทำด้วยการบริจาคทานโดยอุมะมะฮ์มุสลิม ตามหลักของศาสนา ถือเป็นข้อผูกพันทางความเชื่อของศาสนาอิสลาม ทั้งยังมีลำดับความสำคัญรองจากการละหมาดอีกด้วย 

ซะกาตจึงเป็นหนึ่งในหลักทั้ง 5 ของศาสนาอิสลามที่เป็นหน้าที่ของเหล่าชาวมุสลิมทั้งหลายที่มีรายได้ – ทรัพย์สินตรงตามข้อกำหนดเงื่อนไข ซึ่งสามารถกระทำการช่วยเหลือให้แก่ผู้เดือดร้อน หรือผู้ที่มีความต้องการในการขอรับบริจาคในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตนั้นเอง โดยซะกาตจะเป็นการบริจาคซะกาตที่มีบทบาททางประวัติศาสตร์ของศาสนามาอย่างยาวนานด้วยความจำเป็นอย่างช่วงสงครามอีกด้วย 

อีกหนึ่งของความเชื่อว่าการบริจาคซะกาตเป็นหนึ่งในการขัดเกลาจิตใจของผู้ให้ ก่อให้เกิดความสะอาดของจิตใจ ลดความถี่เหนียวที่เกาะกินภายในใจซึ่งส่งผลให้เป็นคนจิตใจหลายกระด้างทั้งยังลดความขุ่นมัวสกปรก การบริจาคซะกาตจึงจะช่วยให้ทรัพย์สินที่ท่านได้มามีความบริสุทธิ์ และยังช่วยให้ผู้ที่มีความขัดสนต่อความยากจน หนี้สินรุมล้อมได้รับการช่วยเหลือส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนสภาพเศรษฐกิจ เกิดการจ้างงาน ทั้งสร้างรายได้ในส่วนหนึ่ง 

ดังนั้นการบริจาคซะกาตในช่วงเดือนรอมฏอนนี้ จึงเป็นการช่วยเหลือผู้ยากไร้ หรือผู้ที่มีความขัดสน ด้วยการบริจาคทานตามหลักของศาสนาด้วยความสมัครใจต่อกลุ่มชาวมุสลิมเช่นเดียวกัน เพื่อให้จิตใจได้เกิดการขัดเกลา สร้างความดีงามต่อตนเอง และสังคมให้เกิดการเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั่นเอง


รูปแบบการบริจาคซะกาต มีอะไรบ้าง 

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วนั้นว่า ซะกาตเป็นการบริจาคทานที่มีความจำเป็นตามหลักคำสอนสำคัญทางศาสนา โดยสามารถจำแนกได้ออกเป็น 2 ประเภท สามารถแบ่งได้ ดังนี้

บริจาคซะกาตฟิฏเราะห์

การบริจาคซะกาตฟิฏเราะห์ เป็นการบริจาคทานจากผู้ที่มีกำลังทรัพย์สามารถหาเลี้ยงตัวเองได้ เพื่อมอบให้แก่ผู้ยากจน หรือผู้ไม่มีกำลังหาเลี้ยงตนเองได้ในเดือนที่ถือศีลอด ด้วยการบริจาคก่อนสิ้นสุดเดือนรอมฎอน ด้วยการจ่ายค่าซะกาตเป็นอาหารหลักที่คนในบริเวณนั้น ท้องถิ่นนั้น สามารถรับประทานกันอย่างเป็นปกติประจำ โดยมีอาหารจำพวก อาหารหารแห้งต่างๆ การจ่ายเป็นข้าวสารประมาณ 3 ลิตร หากต้องการจ่ายเป็นจำนวนเงินแทนค่าข้าวสารต้องจ่ายในจำนวนยอดที่มีค่าเทียบเท่ากับข้าวสารนั้นเอง 

ซึ่งการบริจาคซะกาตฟิฏเราะห์นี้ชาวมุสลิมทุกคนต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะห์ เพื่อเป็นหลักฐานและเป็นเครื่องหมายต่อคำขอบคุณจากอัลลอฮ์ การจ่ายซะกาตจึงถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก หากว่าขณะที่ท่านใดถือศีลอดแล้วไม่บริจาคซะกาตจะถือว่าพระเจ้าจะไม่รับการถือศีลอดของท่าน

บริจาคซะกาตมาล

การบริจาคประเภทซะกาตมาล บางท่านจะรู้จักกันในชื่อ ซะกาตทรัพย์สิน เป็นการบริจาคซะกาตโดยมีกำหนดระยะเวลาในการจ่ายจากยอดรายได้ที่เกี่ยวข้องจากทรัพย์สินที่ได้เก็บสะสมไว้ ด้วยเงื่อนไขของจำนวนยอดทรัพย์สินตามประเภทของแต่ละอย่างนั้น โดยจะเก็บบริจาคจากชาวมุสลิมที่มียอดทรัพย์ตามที่ได้กำหนดอัตราร้อยละ 2.5 จนถึงร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์แต่ละประเภทที่สามารถสร้างรายได้จากความพยายาม ด้วยการคำนึกถึงความมั่นคงทางการเงินของแต่ละท่าน จะมีทรัพย์สินที่ต้องจ่ายในการบริจาคซะกาตด้วยกันดังต่อนี้ 

  1. บริจาคซะกาตเป็นโลหะเงิน ทองคำ เงินสด เงินในบัญชี หุ้น สินค้าต่างๆ ซึ่งทรัพย์สินเหล่านี้จะมีการกำหนดค่าใช้จ่ายต่อเงื่อนไขของยอดจำนวนบริจาคที่ต้องจ่าย เมื่อท่านมีทองราคามูลค่าที่เทียบเท่ากับ 85 กรัม (ประมาณ 5.66 บาท : ทองคำ 1 บาทจะหนักที่ 15 กรัม) เมื่อครบรอบปีที่ต้องถึงเวลาบริจาคค่าซะกาต 2.5 % จากทรัพย์สินที่ยกตัวอย่างเหล่านี้ รวมถึงบรรดาเครื่องประดับที่ทำมาจากทองคำ / เครื่องประดับจำพวกเงิน จะสามารถแบ่งตามเงื่อนไขการจ่ายซะกาต ดังนี้
     
    • เครื่องประดับที่รับซื้อไว้เก็บ เพื่อให้สามารถเช่าทรัพย์ได้ หากมีในครอบครอง จำเป็นต้องกระทำการบริจาคซะกาตโดยไม่มีข้อแม้ใด
    • หากเป็นเครื่องประดับที่นำมาใช้งานตามลักษณะของทรัพย์สิน จำเป็นต้องจ่ายค่าซะกาตโดยไม่มีข้อแม้เช่นเดียวกับกลุ่มอื่น เนื่องจากได้มีหลักการอ้างอิงว่าผู้ที่มีเครื่องประดับ และยังสามารถนำเครื่องประดับมาสวมใส่ได้ง่าย จะถือว่าชาวมุสลิมท่านนั้นมีกำลังทรัพย์ที่ควรจ่ายซะกาตต่อทางการ
       
  2. ผู้ที่ได้รับผลผลิตทางการเกษตร โดยจะต้องจ่ายซะกาตทางธัญพืชต่างๆ รวมถึงผลไม้ตามกำหนดที่ครบเงื่อนไข ซึ่งได้จากการใช้ประโยชน์จากชลประทาน ด้วยการลงทุนจ่ายซะกาตมี 2 แบบ ดังนี้
     
    • การบริจาคซะกาตจากผลผลิตทางการเกษตรจากอาศัยแหล่งน้ำ / ผลผลิตจากแหล่งน้ำธรรมธรรมชาติ ได้แก่น้ำที่มาจากฝน แหล่งน้ำจากลำคลอง เป็นต้น ซึ่งใช้การดูดน้ำจากแหล่งน้ำเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ ด้วยการจ่ายซะกาตตามอัตราร้อยละ 10 ของยอดผลผลิตรวมในปีนั้น 
    • การบริจาคซะกาตจากผลผลิตทางการเกษตรที่ใช้แรงงาน , การใช้เครื่องทดแทนแรงงาน เช่น เครื่องระหัดวิดน้ำ รวมถึงการใช้เครื่องยนต์เป็นตัวช่วยในการเกษตร เป็นต้น โดยต้องจ่ายซะกาตตามอัตราที่กำหนดคือ ร้อยละ 5 ของยอดผลผลิตรวมในปีนั้น
       
  3. ต้องจ่ายค่าบริจาคซะกาตจากผู้ทำการปศุสัตว์ ได้แก่ วัว ควาย อูฐ แก แพะ เป็นต้น การจ่ายซะกาตจะมีเงื่อนไขในการจ่ายคือ ต้องเป็นการเลี้ยงสัตว์ด้วยการปล่อยให้สัตว์เลี้ยงของตนได้หากินเองตามธรรมชาติ ตามแหล่งที่อาศัยสาธารณะ ตามทุ่นทุ่งหญ้าสาธารณะนั่นเอง โดยต้องมีครอบครองในรอบปีที่ต้องจ่ายตามอัตราค่าซะกาตตามที่กำหนด
  4. การบริจาคซะกาตเนื่องจากครอบครองขุมทรัพย์ที่สามารถพบได้ในแผ่นดิน ซึ่งขุมทรัพย์จะกล่าวถึงจะเป็นสินแร่ รวมถึงทรัพย์ที่ถูกฝังดินไว้ จะมีการจ่ายตามอัตราตามเงื่อนไขที่กำหนดด้วยกันดังต่อไปนี้
     
    • จะต้องจ่ายซะกาตจากค่าสินแร่ที่ได้ครอบครองจากการใช้เครื่องมือขุดพบจากพื้นดินทั้งสินแร่ที่พบมีมูลค่า โดยไม่เกี่ยวข้องกับพืชพันธุ์ที่สามารถสร้างรายได้ เช่น ค้นพบแร่ทองคำ ทับทิม แร่เหล็ก แร่เงิน รวมทั้งค้นพบน้ำมันดิบ เป็นต้น เนื่องจากมีความเชื่อว่าสินแร่ที่ได้ค้นพบนี้เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺได้ประทานมอบให้ภายในดินแดนเพื่อมอบให้แก่มนุษย์นั้นเอง ด้วยการจ่ายซะกาตตามอัตราที่กำหนด คือร้อยละ 2.5 ของยอดจำนวนทรัพย์สินที่สามารถขุดพบได้ ซึ่งจะต้องจ่ายทันทีหลังจากขุดค้นพบ
    • จ่ายซะกาตจากการได้ทรัพย์ที่ถูกฝังไว้ในดิน ซึ่งทรัพย์สินที่ได้ถูกค้นพบจากการถูกขุดไม่ว่าจะเป็นยุคก่อนศาสนาอิสลาม ทั้งในแผ่นดินใดก็ตามโดยที่ได้ถูกทำสัญลักษณ์ของชาวมุสลิมไว้ จะถือว่าเป็นทรัพย์ที่ถูกค้นพบได้ สามารถจ่ายค่าซะกาตตามเงื่อนไขอัตราที่กำหนดคือ ร้อยละ 20 ของสิ่งที่ถูกขุดค้นขึ้นมา หากขุดค้นพบทรัพย์ที่เจอและมีสัญลักษณ์ของชาวมุสลิมบนทรัพย์นั้น จะถือว่าเป็นทรัพย์ที่มีเจ้าของจนกว่าจะตามหาเจ้าของทรัพย์ที่แท้จริงได้ 

ผู้ใดบ้างที่ต้องบริจาคซะกาตให้ทานแก่ผู้อื่น

วิธีบริจาคซะกาต

เงื่อนไขของผู้ที่สามารถจ่ายการบริจาคซะกาตได้ จะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 

  • จะต้องเป็นชาวมุสลิม ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์
  • ต้องไม่มีสถานะเป็นทาสแต่อย่างใด
  • มีสติสัมปชัญญะขณะจ่ายซะกาต 
  • ไม่มีฐานยากจน จนไม่สามารถหายอดเงินที่ต้องบริจาคทานซะกาตได้ ต้องมีกำลังทรัพย์ที่สามารถจ่ายซะกาตให้แก่ตนเอง และบุคคลภายในครอบครัวได้ 
  • สามารถจ่ายซะกาตเป็นสิ่งของ อาหารหลักในการดำรงชีวิตได้ เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง ลูกเกดข้าวโพด เมล็ดข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ เป็นต้น รวมถึงสามารถจ่ายเป็นเงินแทนค่าสิ่งของเหล่านี้ได้เช่นเดียวกัน 

ในการบริจาคทานซะกาตยังมีข้อถกเถียงกันตามหลักศาสนากับกฎหมายในหลักนิติศาสตร์ของอิสลามแบบดังเดิมที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายซะกาต รวมถึงข้อสงสัยที่บางท่านไม่มีความต้องการจ่ายให้กลุ่มที่ตนเองไม่อยากให้ทานในบางรัฐก็ตามจะเป็นการผิดหลักบัญญัติหรือไม่ แต่ตามหลักความเชื่อของการบริจาคซะกาตนั้น ชาวมุสลิมมีความเชื่อว่าหากผู้ให้ทานซะกาตไปแล้วนั้น โลกหน้าจะได้รับรางวัลจากพระเจ้า ส่วนผู้ที่ไม่ต้องการจ่ายจะได้รับบทลงโทษต่อตนเอง การบริจาคซะกาตจึงกลายเป็นการตกลงทำพันธสัญญาต่อพระเจ้านั้นเอง


ผู้ที่มีสิทธิ์รับเงินบริจาคซะกาตเป็นใครได้บ้าง

อย่างไรก็ตามการบริจาคซะกาตก็ถือเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติของชาวมุสลิม โดยมีความสำคัญดังเช่นการละมาดที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน เนื่องจากการให้ทานซะกาตจะถือว่าเป็นหลักการปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และการละหมาดเป็นหลักการปฏิบัติต่อพระเจ้า ดังนั้นการเก็บซะกาตจึงการนำการบริจาคซะกาตมาแจกจ่ายให้ผู้ได้รับสิทธิ์ 8 ประการ จะมีผู้มีสิทธิ์ที่ได้รับทานซะกาตดังนี้ 

  1. ผู้มีฐานยากจน / อนาถา เนื่องด้วยไม่มีทรัพย์สินเพียงพอ รวมทั้งไม่มีผู้ดูแล และไม่มีรายได้จากงานประจำ 
  2. ผู้ที่มีฐานมะซากีน (อัตคัดขัดสน) เป็นผู้มีรายได้ประจำ แต่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิตได้ ถือว่ามีฐานะมากกว่ากลุ่มแรกที่ได้กล่าวไป
  3. ผู้เป็นมูอัลลัพ หรือเข้ารับอิสลามใหม่ เพื่อสามารถเป็นตัวอย่างที่ดี ทั้งให้กำลังใจต่อผู้เริ่มเข้าสู่เส้นทางการศรัทธาในศาสนาอิสลามนั้นเอง
  4. ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรับเก็บ การรับจ่ายทานซะกาต ด้วยหน้าที่ที่ได้รับจากการแต่งตั้งจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้มีอำนาจในการเก็บทานซะกาต 
  5. ผู้มีฐานะทาสซึ่งได้รับการอนุญาตจากผู้เป็นนายให้สามารถนำเงินมาไถ่ถอน (ฮัมบามูกาตับ) ในปัจจุบันไม่มีฐานะทาสเช่นนี้แล้ว 
  6. ผู้ที่พลัดถิ่นฐาน ทั้งยังไร้เงินจากแหล่งที่กำเนิด/แหล่งอาศัย เพื่อสามารถนำเงินจากการได้ซะกาตไปเป็นค่าเดินทาง ทั้งค่าอาหารที่ต้องใช้จ่ายได้ 
  7. ผู้มีหนี้ที่มีสาเหตุมาจากการให้ทานการกุศล แต่ไม่ใช้หนี้ที่มาจากการเล่นพนันนั่นเอง (บีร์ฮูตัน)
  8. ผู้ที่มีแรงศรัทธาในการดำเนินกิจกรรมต่างที่เกี่ยวข้องกับหลักทางศาสนาอิสลาม เพื่อต่อสู้รักษาคงไว้ซึ่งหลักคำสอนของพระเจ้า (ฟีซาบีลิลลาห์) เช่น คุณครูสอนศาสนาอิสลามของชาวมุสลิม

ข้อสรุปของการบริจาคซะกาต

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการบริจาคซะกาตจึงเป็นการให้ทานที่สามารถดึงหลักความเป็นมนุษย์ในการให้ทานซะกาต ควบคู่กับหลักการปฏิบัติต่อพระเจ้าให้สามารถได้รับพรจากโลกในภายภาคหน้าได้ ทั้งยังคงไว้ซึ่งหลักคำสอนของพระเจ้า สามารถช่วยขัดเกลาจิตใจให้มีความบริสุทธิ์ได้อีกด้วย

ชื่อ*
 

 


 


 


 


 


 


 


 


 


 

ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝากสล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์

หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย

бишкек эскорт

 

Copyright @2014 Horonumber.com All rights reserved.