รายละเอียดกระทู้
เจ้าของกระทู้
: Author
ว/ด/ป เวลา
: 19/03/24 06:42:13 AM
เลขไอพี
: 171.4.239.70
หัวข้อ
: ค่าแรงขั้นต่ำ เรื่องใกล้ตัวของทุกคนที่คุณไม่ควรพลาด
รายละเอียด
:

ค่าแรงขั้นต่ำ

สถานการณ์ปัจจุบันจะพบว่าค่าครองชีพมีแต่จะสูงขึ้นทุกปี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อยค่อนข้างมาก และหากไม่มีมาตรการที่เหมาะสมมาช่วยควบคุมก็จะมีแนวโน้มการเอารัดเอาเปรียบของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้าง ซึ่งมาตรการที่สามารถช่วยแก้ไขสถานการณ์ความยากจน ทั้งยังช่วยลดสัดส่วนผู้ทำงานที่ยากจนให้ลดน้อยลงคือ การกำหนดใช้ค่าแรงขั้นต่ำนั่นเอง

ล่าสุดได้มีการประกาศใช้ค่าแรงขั้นต่ำปัจจุบัน 2567 อ้างอิงจากประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำฉบับที่ 12 ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 สำหรับแรงงานใหม่ทั่วไปแรกเข้าทำงานในปี 2567 ส่วนของแรงงานที่มีอายุงานไม่น้อยกว่า 1 ปีมีทักษะฝีมือมากขึ้น ผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้น นายจ้างควรพิจารณาปรับค่าจ้างให้มากกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ


สำหรับค่าแรงขั้นต่ำนั้น เราจะหมายถึงรายได้ขั้นต่ำที่นายจ้างต้องจ่ายตอบแทนให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าแรงงาน และตัวเลขต้องอิงตามค่าแรงขั้นต่ำปัจจุบัน โดยไม่มีการแบ่งแยกเพศ สัญชาติ ระดับการศึกษา ประเภทของงาน รวมถึงคนที่อยู่ในระยะทดลองงานด้วย ถึงแม้ลูกจ้างจะทำงานไม่ถึง 8 ชั่วโมงในหนึ่งวัน ค่าจ้างขั้นต่ำก็ยังต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด 

นอกจากนี้แล้วเงินค่าสวัสดิการต่าง ๆ เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร ค่าเดินทางไม่อาจนับเข้าเป็นค่าแรงขั้นต่ำที่นายจ้างจะนำมาใช้คำนวณเพื่อหักในการจ่ายค่าแรงพื้นฐานให้แก่ลูกจ้างอย่างเด็ดขาด


ค่าแรงขั้นต่ำ มีวิธีการปรับอย่างไร?

กลุ่มคนที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำคือ คณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งประกอบด้วย

  • ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 5 คน

  • ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง 5 คน

  • ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล 5 คน มีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานกรรมการ พร้อมอีก 4 คนเป็นตัวแทนฝ่ายรัฐบาล
     

ปัจจัยที่ใช้พิจารณาในการกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำนั้นจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ค่าครองชีพ ราคาสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจ การเติบโตของผลิตภาพแรงงานในจังหวัดนั้น ๆ อัตราเงินเฟ้อ สภาพเศรษฐกิจและสังคม เพื่อนำไปสู่ข้อยุติที่ว่านายจ้างสามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้ และลูกจ้างสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข

ในส่วนของกฎหมายแรงงานจะมีกำหนดวันทำงานปกติเป็น 8 ชั่วโมงต่อวัน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ พร้อมวันหยุดตามประเพณีอย่างน้อย 13 วันต่อปี และวันหยุดพักผ่อนอย่างน้อย 6 วันทำงานต่อปี


อัพเดต! ค่าแรงขั้นต่ำล่าสุดของประเทศไทย

 สำหรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 2567 ที่ประกาศให้เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม 2567 นั้นมีการนำข้อมูลตัวเลขย้อนหลังของ 5 ปีที่ผ่านมาเพื่อนำมาพิจารณาหาค่าเฉลี่ยจนได้บทสรุปของการปรับขึ้น 2-16 บาทใน 77 จังหวัดต่าง ๆ  แบ่งเป็น 17 อัตราดังต่อไปนี้
 

  • 1 จังหวัด ปรับเพิ่ม 16 บาทเป็น 370 บาท

    • ภูเก็ต (เดิม 354 บาท)

  • 6 จังหวัด ปรับเพิ่ม 10 บาทเป็น 363 บาท

    • กรุงเทพ, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ และสมุทรสาคร (เดิม 353 บาท)

  • 2 จังหวัด ปรับเพิ่ม 7 บาทเป็น 361 บาท

    • ชลบุรี และระยอง (เดิม 354 บาท)

  • 1 จังหวัด ปรับเพิ่ม 12 บาทเป็น 352 บาท

    • นครราชสีมา (เดิม 340 บาท)

  • 1 จังหวัด ปรับเพิ่ม 13 บาทเป็น 351 บาท

    • สมุทรสงคราม (เดิม 338 บาท)

  • 6 จังหวัด เป็น 350 บาท

    • เชียงใหม่, ขอนแก่น, ปราจีนบุรี และสระบุรี (เดิม 340 บาท) ปรับเพิ่ม 10 บาท

    • พระนครศรีอยุธยา (เดิม 343 บาท) ปรับเพิ่ม 7 บาท

    • ฉะเชิงเทรา (เดิม 345 บาท) ปรับเพิ่ม 5 บาท

  • 1 จังหวัด ปรับเพิ่ม 9 บาทเป็น 349 บาท

    • ลพบุรี (เดิม 340 บาท)

  • 3 จังหวัด เป็น 348 บาท

    • สุพรรณบุรี และหนองคาย (เดิม 340 บาท) ปรับเพิ่ม 8 บาท

    • นครนายก (เดิม 338 บาท) ปรับเพิ่ม 10 บาท

  • 2 จังหวัด ปรับเพิ่ม 7 บาทเป็น 347 บาท

    • กระบี่ และตราด (เดิม 340 บาท)

  • 15 จังหวัด เป็น 345 บาท

    • กาญจนบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, สระแก้ว, นครพนม, บุรีรัมย์ และพิษณุโลก (เดิม 335 บาท) ปรับเพิ่ม 10 บาท

    • สุราษฎร์ธานี, สงขลา, พังงา และอุบลราชธานี (เดิม 340 บาท) ปรับเพิ่ม 5 บาท

    • จันทบุรี, มุกดาหาร และสกลนคร (เดิม 338 บาท) ปรับเพิ่ม 7 บาท

    • เชียงราย และตาก (เดิม 332 บาท) ปรับเพิ่ม 13 บาท

  • 3 จังหวัด เป็น 344 บาท

    • เพชรบุรี และสุรินทร์ (เดิม 335 บาท) ปรับเพิ่ม 9 บาท

    • ชุมพร (เดิม 332 บาท) ปรับเพิ่ม 12 บาท

  • 3 จังหวัด เป็น 343 บาท

    • ยโสธร และนครสวรรค์ (เดิม 335 บาท) ปรับเพิ่ม 8 บาท

    • ลำพูน (เดิม 332 บาท) ปรับเพิ่ม 11 บาท

  • 5 จังหวัด เป็น 342 บาท

    • นครศรีธรรมราช (เดิม 332 บาท) ปรับเพิ่ม 10 บาท

    • บึงกาฬ, ร้อยเอ็ด และเพชรบูรณ์ (เดิม 335 บาท) ปรับเพิ่ม 7 บาท

    • กาฬสินธุ์ (เดิม 338 บาท) ปรับเพิ่ม 4 บาท

  • 5 จังหวัด เป็น 341 บาท

    • ชัยนาท, พัทลุง และอ่างทอง (เดิม 335 บาท) ปรับเพิ่ม 6 บาท

    • สิงห์บุรี ชัยภูมิ (เดิม 332 บาท) ปรับเพิ่ม 9 บาท

  • 16 จังหวัด เป็น 340 บาท

    • ระนอง, สตูล, หนองบัวลำภู, มหาสารคาม, ศรีสะเกษ, อำนาจเจริญ, แม่ฮ่องสอน, ลำปาง, สุโขทัย, กำแพงเพชร, พิจิตร, อุทัยธานี และราชบุรี (เดิม 332 บาท) ปรับเพิ่ม 8 บาท

    • เลย และอุตรดิตถ์ (เดิม 335 บาท) ปรับเพิ่ม 5 บาท

    • อุดรธานี (เดิม 328 บาท) ปรับเพิ่ม 12 บาท

  • 4 จังหวัด เป็น 338 บาท

    • ตรัง และแพร่ (เดิม 332 บาท) ปรับเพิ่ม 6 บาท

    • พะเยา (เดิม 335 บาท) ปรับเพิ่ม 3 บาท

    • น่าน (เดิม 328 บาท) ปรับเพิ่ม 10 บาท

  • 3 จังหวัด ปรับเพิ่ม 2 บาทเป็น 330 บาท

    • นราธิวาส, ปัตตานี และยะลา (เดิม 328 บาท)
       

ปรับค่าแรงขั้นต่ำ


ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำมีอะไรบ้าง?

สิ่งที่ตามมาจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำต่อนายจ้าง เจ้าของกิจการ ก็จะมี
 

  • ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจาก

    • กลุ่มพนักงานที่ได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำปัจจุบัน ก็ยังส่งผลกระทบต่อ

    • กลุ่มพนักงานที่มีฐานเงินเดือนสูงกว่าก็จะถูกกระทบไปด้วยหากไม่ได้รับการปรับเงินเดือนขั้นต่ำด้วย
       

สำหรับพนักงานเงินเดือนสูงกว่าที่ได้รับการปรับเงินเดือนเพิ่มขึ้นด้วยเพื่อป้องกันการลาออกก็จะมีผลกระทบตรง ๆ ต่อ

  • เงินสมทบกองทุนประกันสังคม

  • เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  • ค่าโอที และ ค่าใช้จ่ายส่วนอื่นที่คิดจากฐานเงินเดือน เช่น ค่าคอมมิชชั่น โบนัส เป็นต้น
     

ขณะเดียวกันนายจ้าง หรือ เจ้าของกิจการที่มีโครงสร้างพนักงานส่วนมากภายในองค์กรเป็นกลุ่มพนักงานที่มีอายุงานน้อยในสัดส่วนที่สูงกว่ามาก ก็ยิ่งจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ


สามารถกล่าวได้ว่าการปรับค่าแรงขั้นต่ำจะมีผลกระทบโดยรวมดังนี้

  • ต้นทุนจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับพนักงานใหม่สูงขึ้น

  • ต้นทุนจากการปรับค่าจ้างพนักงานเดิมเพิ่มสูงขึ้น

  • ต้นทุนจากการปรับอัตราค่าจ้างตามวุฒิการศึกษาเพิ่มขึ้น

  • ต้นทุนการปรับเงินเดือนคนเก่าให้มากกว่าคนใหม่เพิ่มขึ้น

  • พนักงานเก่าอาจเรียกร้องขอเงินเดือนเพิ่มขึ้น

  • เปอร์เซ็นต์การลาออกของพนักงานเก่าเพิ่มขึ้นหากไม่ได้รับการปรับเงินเดือนเพิ่มขึ้น

  • ผลกำไรไม่ได้ตามเป้าเนื่องจากค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อการขึ้นเงินเดือนและโบนัสประจำปี

  • มีแนวโน้มสูงที่จะต้องปรับโครงสร้างเงินเดือนใหม่

  • สร้างความกดดันต่อต้นทุนการผลิตส่วนที่เป็นค่าจ้าง และเงินเฟ้อ

 

ผลกระทบจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ


นายจ้างต้องปรับตัวอย่างไรเมื่อมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำ?

เมื่อไรก็ตามที่มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ผลกระทบก็จะเกิดขึ้นกับคน 2 กลุ่มด้วยกันซึ่งก็คือ นายจ้างที่เป็นเจ้าของธุรกิจและลูกจ้างที่เป็นพนักงาน แต่ในหัวข้อนี้เราจะกล่าวถึงกลุ่มแรกที่เป็นนายจ้างว่าควรจะต้องมีการเตรียมตัวในด้านใดบ้าง


1. ควบคุม และวางแผนงานค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

สำรวจจำนวนพนักงานทั้งหมดที่มี ว่ากลุ่มไหนต้องใช้อัตราค่าแรงขั้นต่ำล่าสุด หรืออัตราค่าจ้างตามวุฒิการศึกษา เพื่อคำนวณค่าจ้างขั้นต่ำที่ต้องจ่าย พร้อมวางแผนถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกิดจากการจ้างงาน เช่น เงินสมทบทุนประกันสังคม เงินสมทบทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าล่วงเวลา ค่าคอมมิชชั่นอื่น ๆ


2. ตรวจสอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อเช็กความน่าจะเป็นที่จะลดทอนลงได้

หลังจากปรับค่าแรงพนักงาน ตามค่าแรงขั้นต่ำแล้ว จากนั้นบริหาร วิเคราะห์การดำเนินงาน และประเมินค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาลดค่าใช้จ่ายส่วนที่ไม่จำเป็นออก


3. ควรมีหน่วยงานที่คอยสื่อสารกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอทุก ๆ ครั้งที่มีการปรับโครงสร้างเงินเดือน

แรงงานเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อให้องค์กรเดินหน้าต่อไป ดังนั้นควรมีการติดต่อสื่อสารวางนโยบายเกี่ยวกับพนักงาน คอยรักษากำลังใจ แก้ไขปัญหาอย่างรอบคอบเพื่อก้าวเดินไปพร้อมองค์กร


4. ผู้ประกอบการควรปรับระบบการผลิต ลดขั้นตอนการทำงานและการผลิตให้กระชับยิ่งขึ้น

ธุรกิจที่มีภาคการผลิตที่ใช้แรงงานขั้นต่ำเป็นส่วนมากควรปรับระบบการผลิตให้มีความยืดหยุ่นเพื่อสามารถเผชิญกับความผันผวนทางด้านเศรษฐกิจได้มากขึ้นโดยใช้กำลังแรงงานในจำนวนที่เหมาะสม


ลูกจ้างต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างเมื่อมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำ?

การปรับค่าแรงขั้นต่ำนับได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับลูกจ้างที่มีรายได้น้อยจะได้มีฐานะความเป็นอยู่โดยรวมที่ดีขึ้น มีเงินจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นถึงแม้จะอยู่ในช่วงที่ค่าครองชีพสูงก็ตาม ดังนั้นลูกจ้างทั้งหลายสมควรอัปเดตอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ใช้ในแต่ละปีอยู่เสมอ

1.  ควรที่จะมีการวางแผนทางการเงินที่ดี

ต่อให้ได้รับค่าแรงเพิ่ม จากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ แต่อย่าชะล่าใจควรที่จะทำบัญชีค่าใช้จ่ายรายวันเพื่อกำหนดงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายรายวัน เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ค่าเดินทาง ฯลฯ

2. ศึกษาหาวิธีเก็บเงินแบบง่าย ๆ

เพื่อที่จะได้มีการกันเงินเก็บส่วนหนึ่งไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน และสำหรับเหตุอันไม่คาดฝันในอนาคต

3. สร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตและสุขภาพ

พยายามเลือกทำงานในบริษัทที่มีสวัสดิการ เช่น กองทุนประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน ฯลฯ เพื่อใช้สิทธิ์ในกรณีที่มีอันตรายจากการทำงานให้นายจ้าง 


สรุปเกี่ยวกับค่าแรงขั้นต่ำล่าสุด

ค่าแรงขั้นต่ำที่ประกาศใช้เดือนมกราคม 2567 ทั่วประเทศ 77 จังหวัดนั้นเป็นการปรับขึ้น 2-16 บาท เพื่อให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ ค่า GDP สภาพเศรษฐกิจและสังคม และการเติบโตของผลิตภาพแรงงานในแต่ละจังหวัด

อย่างไรก็ตามประกาศฉบับนี้เป็นเพียงการปรับรอบแรกเท่านั้น เพราะรัฐบาลได้วางแผนจะมีการพิจารณาอีกครั้งภายในเดือนมกราคม และนำเข้าที่ประชุมอีกครั้งในเดือนมีนาคม ก่อนที่จะมีการประกาศค่าแรงขั้นต่ำรอบใหม่เพื่อใช้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567 ที่จะถึงนี้

 
ชื่อ*
 

 


 


 


 


 


 


 


 


 


 

หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย

бишкек эскорт

 

Copyright @2014 Horonumber.com All rights reserved.