รายละเอียดกระทู้
เจ้าของกระทู้
: miyeonp 619
ว/ด/ป เวลา
: 25/02/22 14:55:35 PM
เลขไอพี
: 49.230.138.182
หัวข้อ
: ด่วน! สะโพกหักในผู้สูงอายุ ทำไมต้องรีบรักษาภายใน 24 ชั่วโมง?
รายละเอียด
:

 

    ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ร่างกายเสื่อมถอย จากเรี่ยวแรงที่เคยมีกลับไม่มี จากที่เคยคล่องตัว มาถึงวันหนึ่งอาจพลาดประสบอุบัติเหตุรุนแรงแม้จะอยู่แค่ภายในบ้าน นั่นก็เป็นเพราะความเสื่ยมถอยของร่างกาย กล้ามเนื้อ สายตา ระบบประสาท ทุกอย่างรวมกันทำให้คนแก่เสี่ยงที่จะหกล้ม ทรงตัวไม่ดี หรือบาดเจ็บบ่อย ๆ หนึ่งในอาการที่มักจะกลายเป็นภาวะรุนแรงก็คือ “สะโพกหักในผู้สูงอายุ” ซึ่งเป็นการหกล้มที่แม้ดูเผิน ๆ อาจไม่รุนแรงเท่าไหร่ แต่ความจริงแล้วสามารถพัฒนาไปเป็นภาวะวิกฤติได้เร็วอย่างแทบไม่น่าเชื่อ

 

 

รู้จักอาการ “สะโพกหัก” คืออะไรและเกิดจากอะไร?

    อาการสะโพกหักในผู้สูงอายุคืออาการปวดสะโพกมากจนไม่สามารถลุกขึ้น เดิน ยืน หรือนั่งท่าต่าง ๆ ได้ตามปกติที่เคยทำ หรือขยับขาแล้วปวดร้าวขึ้นมาถึงสะโพก ซึ่งระดับความรุนแรงอาจเป็นแค่ฟกช้ำ กระดูกร้าวเล็กน้อยไปจนถึงกระดูกหัก อาการนี้อาจเกิดจากการหกล้ม ลื่นตกเก้าอี้ ตกบันได หรืออุบัติเหตุต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งการล้มหรือลื่นบางครั้งอาจไม่รุนแรงมาก แต่ด้วยความที่ผู้สูงอายุมีภาวะกระดูกพรุนหรือมวลกระดูกน้อยกว่าคนในวัยอื่นอยู่แล้ว จึงทำให้อาการอาจรุนแรงกว่าคนอายุน้อยที่ล้ม 

 

ทำไมจึงต้องรีบรักษาภายใน 24 ชั่วโมง

    อย่างที่เราได้กล่าวไปว่า แม้การล้มจะไม่ได้รุนแรง แต่ด้วยปัจจัยด้านความแข็งแรงกระดูกของผู้สูงอายุ บวกกับสภาพร่างกายที่ไม่ได้ฟิตแบบคนหนุ่มสาว ทำให้การสะโพกหักในผู้สูงอายุสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อันตรายถึงชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หรือเกิดแผลกดทับที่เกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยนอนเฉย ๆ เพราะลุกเดินไม่ได้

 

วิธีการรักษาทำอย่างไร?

    หากเอกซเรย์แล้วพบว่ากระดูกหัก ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดโดยเร็วที่สุด หรือภายใน 24 ชั่วโมง เพราะหากปล่อยไว้นานอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงหรือเกิดแผลกดทับ เกิดการติดเชื้อ หรือภาวะอื่น ๆ เช่น ลิ่มเลือดอุดตันในกระแสเลือด ซึ่งจะเป็นอันตรายถึงชีวิตแน่ ๆ หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

 

มีไหม วิธีป้องกันการเกิดสะโพกหักในผู้สูงอายุ?

    แม้สะโพกหักในผู้สูงอายุจะเป็นภาวะที่เกิดจากอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่เราสามารถลดความเสี่ยงและลดโอกาสที่การหกล้มจะรุนแรงได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น

  • การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง หรืออาจต้องรับอาหารเสริมประเภทแคลเซียมและวิตามินดีร่วมด้วย เพื่อเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรง หากหกล้มก็จะได้ไม่รุนแรงมาก

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้ร่างกายเคลื่อนไหวคล่องตัว ตามรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงอายุเอง

  • ลดการรับประทานอาหารหรือพฤติกรรมที่ทำให้มวลกระดูกเสื่อมหรือเร่งการขับแคลเซียมออกจากร่างกาย เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ

  • ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เอื้อต่อการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ เช่น ทำราวจับไว้ในจุดเสี่ยง ทำพื้นแบบไม่ลื่น จัดบ้านให้เป็นระเบียบ ไม่วางของจนยากต่อการเดินเหิน

ชื่อ
: 1
ว/ด/ป เวลา
: 11/01/24 14:08:29 PM
เลขไอพี
: 104.28.206.177
ความคิดเห็น
:
ayan
ชื่อ*
<< 1 >
 

 


 


 


 


 


 


 


 


 


 

หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย

бишкек эскорт

 

Copyright @2014 Horonumber.com All rights reserved.