แม้จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในวันที่ 2 ก.พ.2557 ตามพระราชกฤษฎีกา แต่ใช่ว่าจะสามารถเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ เนื่องจากสถานการณ์คัดค้านการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นใน กรุงเทพ และ 14 จังหวัดภาคใต้ ย่อมส่งผลให้ได้จำนวน ส.ส.ไม่น้อยกว่า 95 % หรือ 475 คน ของจำนวน ส.ส.ทั้งหมด 500 คน
หรือไม่เป็นไปตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญมาตรา 93 วรรค 6 ที่กำหนดว่า…
“ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใดๆ ทำให้การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใดมี สส.ไม่ถึง 500 คน แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่า 95% ของจำนวน สส.ทั้งหมด ให้ถือว่าสมาชิกจำนวนนั้นประกอบเป็นสภาผู้แทนราษฎร”
กล่าวคือ ได้จำนวน ส.ส.ไม่ครบองค์ประชุมตามที่กฎหมายกำหนดจึงไม่สามารถเปิดสภาฯ จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ เลือกนายกรัฐมนตรีไม่ได้
ฉะนั้นการเลือกตั้ง 2 ก.พ.2557 จึงถูกมองว่าเป็น “โมฆะ”
และหากการเลือกตั้ง 2 ก.พ.2557 ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ ไม่สามารถกระทำ หรือ กำหนดขึ้นเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศได้ อาจถูกนำไปตีความได้ว่า
การเลือกตั้งครั้งนี้เข้าข่ายขัดต่อรัฐ ธรรมนูญ มาตรา 108 บัญญัติ ที่ระบุว่า หลังการยุบสภาแล้วการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไปต้องกำหนดภายใน 45-60 วัน และจะต้องกระทำในวันเดียวกันทั้งประเทศ
ฉะนั้นการเลือกตั้ง 2 ก.พ.2557 จึงถูกมองว่าเป็น “โมฆะ”
แต่สภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมี “ผู้ร้อง” ยื่นเรื่องให้ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ตีความ การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
ซึ่งจังหวะก้าวในสถานการณ์ขณะนี้คล้ายกับจังหวะก้าวเมื่อ 2 เม.ย.2549
ที่สุดท้าย ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้ง 2 เม.ย.2549 เป็นโมฆะ หลังจากผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย การจัดการเลือกตั้งว่าชอบตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
ซึ่งครั้งนั้น ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีมติด้วยคะแนน 8 ต่อ 6 วินิจฉัยว่ากระบวนการจัดการเลือกตั้งใน 2 ประเด็น คือ การที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ความเห็นเกี่ยวกับระยะเวลาจนนำไปสู่การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 และการจัดคูหาเลือกตั้งโดยหันหลังให้คณะกรรมการมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
และศาลรัฐธรรมนูญยังมีมติด้วยคะแนะเสียง 9 ต่อ 5 ให้การเลือกตั้งมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่
ดังนั้นจึงมิใช่เรื่องเหตุการณ์ที่แปลกประหลาดอันใดที่ บรรดานักกฎหมาย กปปส. หรือแม้แต่ กกต. ต่างมีมุมมองเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า การเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้เป็น “โมฆะ”
มิต่างจาก “มีชัย ฤชุพันธุ์” อดีตประธานวุฒิสภา และ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ที่ได้บอกว่า โมฆะของการเลือกตั้ง จะไม่ได้เกิดจากจำนวนคนที่ออกไปใช้สิทธิ หากแต่อาจจะเกิดขึ้นจากการที่ไม่อาจจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวกันทั่วราช อาณาจักร
มิต่างจาก “โภคิน พลกุล” อดีตรองประธานศาลปกครองสูงสุด อดีตประธานรัฐสภา และ กรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ที่เชื่อว่า เมื่อ 28 เขตไม่สามารถเลือกตั้ง และไม่สามารถเปิดสภาได้ ก็จะมีผู้ร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความว่า การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ก็มีความคิดเห็นมิต่างกัน
รวมทั้ง “สุเทพ เทือกสุบรรณ” แกนนำ กปปส.ก็มั่นใจว่า ในที่สุดแล้ว ผลการเลือกตั้งจะเป็นโมฆะ เนื่องการจัดการเลือกตั้งทั่วไปจะต้องจัดพร้อมกันทุกเขต และจะต้องจัดกันในวันเดียว
ความคิดเห็นที่ว่าล้วนมีที่มาจากการตีความและอ้างอิงข้อกฎหมายที่ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญปี2550
ที่สุดท้ายจะถูกลากไปจบที่กระบวนการยุติธรรม ชี้ชะตาการเลือกตั้ง 2 ก.พ.2557 จะเป็น “โมฆะ” หรือไม่ ?!
เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้
ที่มา : http://www.postjung.com/
การเลือกตั้ง, เลือกตั้ง 2 ก.พ. 57, การเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 เป็นโมฆะ, การเลือกตั้งเป็นโมฆะ, การเลือกตั้งจะเป็นโมฆะจริงหรือ, กฎหมายรัฐธรรมนูญ, กฎหมายเลือกตั้ง, โมฆะ, เลือกตั้ง 2 ก.พ., เลือกตั้ง, การเลือกตั้ง, เลือกตั้ง 2 ก.พ. 57, การเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 เป็นโมฆะ, การเลือกตั้งเป็นโมฆะ, การเลือกตั้งจะเป็นโมฆะจริงหรือ, กฎหมายรัฐธรรมนูญ, กฎหมายเลือกตั้ง, โมฆะ, เลือกตั้ง 2 ก.พ., เลือกตั้ง, การเลือกตั้ง, เลือกตั้ง 2 ก.พ. 57, การเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 เป็นโมฆะ, การเลือกตั้งเป็นโมฆะ, การเลือกตั้งจะเป็นโมฆะจริงหรือ, กฎหมายรัฐธรรมนูญ, กฎหมายเลือกตั้ง, โมฆะ, เลือกตั้ง 2 ก.พ., เลือกตั้ง