เปิดโครงสร้าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คืออะไร มีรายละเอียดและขอบเขตแค่ไหน หลังรัฐบาลตัดสินใจประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค. 57
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 เวลา 19.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่กองบัญชาการกองทัพอากาศ (บก.ทอ.) พล.ท.ภราดร พัฒนาถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ให้สัมภาษณ์ว่า การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อให้เป็นไปตามสากล และทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ โดยมีตำรวจเป็นเจ้าภาพ นำความสงบกลับมาสู่ประเทศ และเจ้าหน้าที่ทหารเป็นผู้สนับสนุนจำนวน 40 กองร้อย และตำรวจ 50 กองร้อยเหมือนเดิม
โดย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตัวนี้ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจออกกฎกติกาข้อบังคับ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารและไม่เกี่ยวกับการสลายการชุมนุม แต่จะเป็นเพียงการควบคุมการขยายพื้นที่หรือเคลื่อนขบวนของผู้ชุมนุม เพราะที่ผ่านมาการเคลื่อนของกลุ่มผู้ชุมนุมนำพามาซึ่งเหตุการณ์ปาระเบิดหรือการยิงกันที่เกิดขึ้น โดยตอนนี้ศูนย์ราชการก็ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทำให้ผู้ที่ต้องการทำหนังสือเดินทางไม่สามารถทำได้ อีกทั้งผู้ชุมนุมก็มีจำนวนลดลงแต่ความรุนแรงกลับมีมากขึ้น จึงถือว่าเป็นปัญหามากที่สุด
และตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2557 พล.ต.อ.อุดลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ศรส. จะเป็นผู้เจรจาและทำความเข้าใจกับผู้ชุมนุม เพราะเมื่อมีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้ว จะมีความผิดเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ พล.ท.ภราดร ระบุด้วยว่า แม้เราจะมีอำนาจหลังจากประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่เราคงไม่ปิดสื่อ เราเพียงแต่จะไปทำความเข้าใจว่าการนำเสนอในบางเรื่องเป็นการใส่ร้ายป้ายสีกัน ส่วนการเดินขบวนไปปิดสถานที่ราชการเมื่ออกข้อห้ามแล้วก็ไม่สามารถทำได้ เพราะว่าจะมีความผิด ตั้งแต่เที่ยงคืนขอวันที่ 22 มกราคมเป็นต้นไป กฎหมายจะประกาศใช้ เนื่องจากเมื่อช่วงเย็นได้ลงนามเรียบร้อยแล้ว รอแต่เพียงกฤษฎีกาตรวจเช็กความเรียบร้อยก็ถือว่าเรียบร้อย และหากสถานการณ์คลี่คลายก็สามารถยกเลิกได้ทันที
โดยในส่วนของบุคคลที่รับผิดชอบมี 3 ส่วนหลัก คือ ผู้รับผิดชอบคือ ร.ต.อ.เฉลิม ในฐานะ ผอ.ศรส. ส่วนการสั่งการคือ ผบ.ตร. และปลัดกระทรวงกลาโหม ฐานะรอง ผอ.ศรส. ส่วนที่สามคือ สถานที่ตั้งศูนย์ ศรส. อยู่ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนแจ้งวัฒนะ (เมืองทองธานี) อย่างไรก็ตาม ใน ศรส. ยังมีรัฐมนตรี และผบ.เหล่าทัพ ที่เป็นกรรมการ ซึ่งในส่วนของ ผบ.เหล่าทัพ ที่เป็นกรรมการจะเป็นผู้แทนของ ผบ.เหล่าทัพ
ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกัน อีกห้องประชุมหนึ่งใน บก.ทอ. ได้มีการประชุมคู่ขนานของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมี นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ ในฐานะกำกับดูแล ศอ.รส., พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม, พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร รองผบ.สส., พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ., พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร., พล.อ.อักษรา เกิดผล เสนาธิการทหารบก, นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตัวแทนผบ. 3 เหล่าทัพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม ซึ่งภายหลังที่ประชุมได้มีมติให้ประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พร้อมกับเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในทันที
ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ให้อำนาจสามารถระดมกำลังจากทุกหน่วยทั้งตำรวจ ทหาร เพื่อระงับยับยั้ง และคลี่คลายสถานการณ์ฉุกเฉินตามกฎหมาย โดยรายละเอียดมี 2 ระดับ คือ
1. สถานการณ์ฉุกเฉินทั่วไป มีข้อกำหนดเพื่อให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขคลี่คลายสถานการณ์ประกอบไปด้วย ห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด ห้ามชุมนุมมั่วสุม ห้ามเสนอข่าว จำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือยานพาหนะ ห้ามการใช้อาคาร และสั่งอพยพประชาชนได้
2. สถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงถึงขั้นการก่อการร้าย การใช้กำลังประทุษร้ายต่อชีวิตร่างกาย หรือทรัพย์สิน กฎหมายให้อำนาจเพิ่มเติมแก่นายกฯ ในการออกข้อกำหนดอีกลหายประการ เช่น จับกุมโดยไม่ต้องมีหมายจับ ควบคุมตัวได้ครั้งละ 7 วัน ต่อเนื่องได้ไม่เกิน 30 วัน ออกคำสั่งเรียกตัวบุคคล ออกคำสั่งยึดอายัดอาสวุธ สินค้า หรือวัตถุอื่นใด ออกคำสั่งตรวจค้น รื้อถอน หรือทำลายอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ออกคำสั่งให้ตรวจสอบการสื่อสารทุกรูปแบบ เป็นต้น
ทั้งนี้ มาตรา 18 ระบุไว้ด้วยว่า หากใครฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามมาตรา 9, 10, 11 หรือ 13 ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ที่มา : http://www.kapook.com/
พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คืออะไร, โครงสร้าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, ขอบเขต พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, รัฐบาล, ประกาศ, นายก, พ.ร.ก.ฉุกเฉินใช้กี่วัน, พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ประกาศใช้, พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ใช้วันไหน, ม๊อบ, ประกาศ เคอร์ฟิล, ชุมนุม, พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คืออะไร, โครงสร้าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, ขอบเขต พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, รัฐบาล, ประกาศ, นายก, พ.ร.ก.ฉุกเฉินใช้กี่วัน, พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ประกาศใช้, พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ใช้วันไหน, ม๊อบ, ประกาศ เคอร์ฟิล, ชุมนุม,
พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คืออะไร, โครงสร้าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, ขอบเขต พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, รัฐบาล, ประกาศ, นายก, พ.ร.ก.ฉุกเฉินใช้กี่วัน, พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ประกาศใช้, พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ใช้วันไหน, ม๊อบ, ประกาศ เคอร์ฟิล, ชุมนุม,