เรียกเก็บแล้ว! ข้าวถุงโค-โค่ หลังพบสารตกค้างอื้อ

บริษัทข้าวถุงโค-โค่ ยอมรับ ผิดพลาดขั้นตอนรมยา ทำให้มีค่าสารรมควันเมทิลโบรไมด์เกินมาตรฐาน สั่งชะลอการผลิต เรียกเก็บคืนสินค้าแล้ว
นายกิติพันธุ์ เหล่าประภัสสร ผู้จัดการฝ่ายการขาย บริษัท สยามเกรนส์ จำกัด ผู้ผลิตข้าวถุงโค-โค่ เปิดเผยว่า หลังจาก อย.เข้าตรวจสอบกระบวนการผลิตของโรงงาน และหารือถึงการมีสารรมควันเมทิลโบรไมด์สูงเกิน 50 ppm
ทางบริษัทยอมรับว่า มีความผิดพลาดในขั้นตอนการรมยา โดยข้าวถุงล็อตดังกล่าว มีการรมควันสารเมทิลโบรไมด์หลังจากบรรจุถุงแล้ว และไม่ได้ปล่อยให้สารระเหย ก่อนจัดส่งไปยังจุดจำหน่าย ขณะนี้ได้ชะลอการผลิต พร้อมเรียกเก็บข้าวจากที่จำหน่ายจากโรงงานกลับคืน
บริษัทไม่ได้มีเจตนาให้เกิดเรื่องดั และเป็นการผิดพลาดในกระบวนการผลิตที่ไม่ได้ทำตามขั้นตอนทั้งหมด อยากชี้แจงว่า สารที่ใช้รมข้าวเป็นสารที่ใช้ทั่วไป จะมีการระเหยในระยะเวลาหนึ่ง ไม่ได้เป็นอันตรายถึงเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต
ทางบริษัทจะใช้โอกาสนี้ในการตรวจสอบการผลิต และจัดทำแผนฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อไป คาดว่าจะใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ ถึงจะสรุปได้ว่า บริษัทจะดำเนินการอย่างไร ยอมรับว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ได้สร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์และรายได้อย่างมาก
คลิปข่าว ข้าว โคโค่ อันตรายเป็นอันดับที่ 1
วันนี้ องค์การอาหารและยา ลงพื้นที่ บริษัท สยามเกรนส์ จำกัด ผู้ผลิตข้าวแบรนด์โคโค่ ถึงกระบวนการผลิตข้าวบรรจุถุงแบรนด์นี้
องค์การอาหารและยา หรือ อย.และกรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่ตรวจสอบกระบวนการผลิตข้าวสารบรรจุถุง แบรนด์โคโค่ และโคโค่ ข้าวขาวพิมพา ของบริษัท สยามเกรนส์ จำกัด หลังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อ้างว่ามีสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน โดยท้อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นผู้ซื้อเพื่อนำไปจำหน่ายต่อ
จากการตรวจสอบ พบว่า บริษัทดังกล่าว ผิดหลักการรมยาตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร เพราะใช้วิธีบรรจุข้าวใส่ถุง จากนั้นจึงเจาะรูที่ถุงข้าวทุกถุง และรมสารเมทิลโบรไมด์ เพื่อให้ยาผ่านเข้าไปในถุงข้าวสาร
นอกจากบริษัทผู้ผลิตข้าว จะแสดงความรับผิดชอบด้วยการเรียกคืนข้าวแบรนด์โคโค่ ที่วางจำหน่ายในท็อปส์และห้างสรรพสินค้าอื่นๆ มาทั้งหมดแล้ว ยังยอมจ่ายค่าเสียหาย พร้อมขอโทษผู้บริโภค และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ทำให้มาตรฐานข้าวไทยเสียหาย
การรมสารเมทิลโบไมด์ที่ถูกต้อง คือ ต้องบรรจุข้าวสารลงในกระสอบขนาดใหญ่ ประมาณ 1 ตัน จากนั้นจึงคลุมด้วยพลาสติกขนาดใหญ่และรมยาสารชนิดนี้ ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับการรมสารแอมโมเนียมฟอสฟีน แตกต่างกันตรงที่สารแอมโมเนียมฟอสฟีน จะออกฤทธิ์และระเหิดหายไปภายใน 7-10 วัน แต่สารเมทิลโบไมด์ จะออกฤทธิ์และระเหย ภายใน 24 ชั่วโมง แต่หากมีสารดังกล่าวตกค้างในข้าว สารนี้ก็สามารถละลายน้ำในขณะซาวข้าว หรือ ผ่านกระบวนการปรุงสุกได้
ข้าวโคโค่, รายชื่อข้าวอันตราย, ข้าวมีสารพิษ, โคโค่มีสารพิษ, ข้าวควรระวัง, ควรระวังข้าวถุง, ข้าวถุงอันตราย, รายชื่อข้าวถุงอันตราย, pantip, พันธ์ทิพย์, ข้าวโคโค่, รายชื่อข้าวอันตราย, ข้าวมีสารพิษ, โคโค่มีสารพิษ, ข้าวควรระวัง, ควรระวังข้าวถุง, ข้าวถุงอันตราย, รายชื่อข้าวถุงอันตราย, pantip, พันธ์ทิพย์, ข้าวโคโค่, รายชื่อข้าวอันตราย, ข้าวมีสารพิษ, โคโค่มีสารพิษ, ข้าวควรระวัง, ควรระวังข้าวถุง, ข้าวถุงอันตราย, รายชื่อข้าวถุงอันตราย, pantip, พันธ์ทิพย์, ข้าวโคโค่, รายชื่อข้าวอันตราย, ข้าวมีสารพิษ, โคโค่มีสารพิษ, ข้าวควรระวัง, ควรระวังข้าวถุง, ข้าวถุงอันตราย, รายชื่อข้าวถุงอันตราย, pantip, พันธ์ทิพย์, ยี่ห้อข้าวอันตราย, ยี่ห้อข้าวอันตราย, ยี่ห้อข้าวอันตราย, ยี่ห้อข้าวอันตราย,