นักเรียนอเมริกันวัย 15 ปี คิดค้นซอฟท์แวร์ตรวจจับยีนที่ก่อให้เกิดมะเร็ง คว้าเงินรางวัล 75,000 เหรียญสหรัฐฯ จากการชนะการประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก
นาธาน ฮาน อายุ 15 ปี จากบอสตัน สหรัฐอเมริกา ผู้คิดค้นซอฟท์แวร์ที่สามารถศึกษาการเปลี่ยนแปลงของยีนที่สามารถก่อให้เกิดมะเร็งทรวงอกได้รับรางวัลชนะเลิศงานประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือ อินเทล ไอเซฟ (ISEF 2014) หนึ่งในโครงการจาก Society for Science & the Public
นาธาน กล่าวว่า เขาศึกษาจากฐานข้อมูลที่หาได้ทั่วไปถึงลักษณะของการเปลี่ยนแปลงของยีนที่มีชื่อว่า BRCA1 เพื่อที่จะ “สร้าง” ให้ซอฟท์แวร์ที่เขาพัฒนาขึ้นสามารถแยกแยะได้ว่ายีนตัวใดสามารถนำไปสู่การก่อมะเร็งได้ ซึ่งผลงานของเขามีความแม่นยำถึงร้อยละ 81 และหากเป็นการศึกษาจากยีน BRCA1 ก็จะเพิ่มความแม่นยำได้สูงขึ้นไปอีก จากแนวคิดนี้จึงทำให้เค้าได้รับรางวัลชนะเลิศพร้อมรับเงินรางวัลมูลค่า 75,000 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นรางวัลที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ กอร์ดอน อี. มัวร์ นักวิทยาศาสตร์ และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล
ขณะที่ตัวแทนจากไทย นายวันทา กำลัง และนายภัทรพงศ์ ลิมปวัฒนะ ผู้พัฒนาโครงการ “ผลของสารจากพืชบางชนิดที่มีต่อเปอร์เซ็นต์การฟักเป็นตัวของไข่และการตายของหอยเชอร์รี่ หอยทากสยาม และหอยทากยักษ์แอฟริกา” ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมนักเรียนไทยจากโรงเรียนพนมอดุลวิทยา อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับรางวัลที่ 4 ในสาขาพฤษศาสตร์ พร้อมรับเงินรางวัลมูลค่า 500 เหรียญสหรัฐฯ
นอกจากนี้ยังมีผลงานทีน่าสนใจจาก เลนนาร์ท ไคลน์เวิร์ท อายุ 15 ปี จากเยอรมนี ได้รับรางวัล นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จากมูลนิธิอินเทล พร้อมเงินสดมูลค่า 50,000 เหรียญสหรัฐฯ จากผลงานการค้นคว้าซอฟท์แวร์บนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ที่ผู้ใช้งานสามารถวาดเส้นสายในรูปแบบต่างๆรวมถึงเส้นเว้า เส้นโค้ง เส้นตรงและทรงเรขาคณิตลงบนหน้าจอ ซึ่งเครื่องจะทำการประมวลผลและสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบได้ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ ซึ่งในอดีตความสามารถนี้จำเป็นต้องมีระบบประมวลผลขั้นสูงและราคาแพง
ส่วนแชนนอน ซินจิง ลี อายุ 17 ปี จากประเทศสิงคโปร์ คืออีกหนึ่งผู้ที่ได้รับรางวัล นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จากมูลนิธิอินเทล พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 50,000 เหรียญสหรัฐฯ จากการคิดค้นตัวเร่งปฎิกิริยาเชิงไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้กับแบตเตอรี่ในอนาคต การประดิษฐ์แบตเตอรี่ที่ทำมาจาก zinc-air ที่ชาร์จไฟใหม่ได้นั้น เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์มากมายกำลังคิดค้นวิธีที่จะทำให้เกิดขึ้นจริง เพราะว่าจะเพิ่มความปลอดภัยมากกว่า น้ำหนักเบากว่า และยังสามารถจุไฟได้มากกว่าแบตเตอรี่แบบ lithium ion ถึง 6 เท่า ซึ่งเหมาะที่จะนำไปใช้ในรถยนต์ประเภทไฮบริด โดย ลี ค้นพบว่า ตัวเร่งกิริยาที่เธอค้นพบจากการรมควันมะเขือยาวนั้น สามารถให้พลังงานที่ยาวนาน และเสถียรกว่าตัวเร่งที่มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีราคาถูกกว่าด้วย
ที่มา : http://www.postjung.com/
เด็ก 15 พัฒนาซอฟแวร์ตรวจจับยีนก่อมะเร็ง, ซอฟแวร์ตรวจจับยีนก่อมะเร็ง, ยีนก่อมะเร็ง, มะเร็ง, ประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์, นาธาน ฮาน, Intel, Intel ISEF 2014, อินเทล ไอเซฟ 2014, Society for Science & the Public, BRCA1, ISEF 2014, เด็ก 15 พัฒนาซอฟแวร์ตรวจจับยีนก่อมะเร็ง, ซอฟแวร์ตรวจจับยีนก่อมะเร็ง, ยีนก่อมะเร็ง, มะเร็ง, ประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์, นาธาน ฮาน, Intel, Intel ISEF 2014, อินเทล ไอเซฟ 2014, Society for Science & the Public, BRCA1, ISEF 2014, เด็ก 15 พัฒนาซอฟแวร์ตรวจจับยีนก่อมะเร็ง, ซอฟแวร์ตรวจจับยีนก่อมะเร็ง, ยีนก่อมะเร็ง, มะเร็ง, ประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์, นาธาน ฮาน, Intel, Intel ISEF 2014, อินเทล ไอเซฟ 2014, Society for Science & the Public, BRCA1, ISEF 2014
หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย