พบสุสาน พระเจ้าตากสิน ที่ประเทศจีน

พบสุสาน พระเจ้าตากสิน ที่ประเทศจีน


      พบสุสานองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4) ที่เมืองเถ่งไฮ่ ประเทศจีน โดยสถานีโทรทัศน์แห่งชาติจีน CCTV International 9 เผยแพร่ ทั้งนี้การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี นั้นยังเป็นเรื่องราวที่พูดถึงกันอย่างคลุมเครือและไม่มีท่าทีว่าจะมีกรณีใดน่าเชื่อถือ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่แน่ชัด ในหลักฐานส่วนใหญ่มักถือว่าพระองค์ทรงเสียพระสติ หรือสติฟั่นเฟือน จึงทรงถูกขบถแลสำเร็จโทษโดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) อันเป็นการสิ้นสุดสมัยธนบุรี พร้อมกับการเริ่มต้นของราชวงศ์จักรี และสมัยรัตนโกสินทร์ อย่างไรก็ตาม ยังปรากฏหลักฐานที่ชี้ว่าพระองค์สวรรคตด้วยสาเหตุอื่น

      เหตุเกิดจาก สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ ซึ่งไปราชการทัพเมืองเขมร และยกกำลังเข้าตีเมืองเสียมราฐ เมื่อทราบข่าวการจลาจลในกรุงธนบุรี จึงได้รีบยกทัพกลับ ขณะนั้นเป็นเดือนเมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกมาถึงในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ก็ได้สืบสวนเรื่องราวความวุ่นวายที่เกิดขึ้น และจับกุมผู้ก่อการกบฏมาลงโทษ รวมทั้งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณาความที่มีผู้ฟ้องร้องกล่าวโทษว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเป็นต้นเหตุเนื่องจากพระองค์ทรงเสียพระสติไป เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีกจึงให้สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วยการตัดพระเศียร ณ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ แล้วฝังพระบรมศพที่วัดบางยี่เรือใต้ เสด็จสวรรคตในวันพุธ แรม 13 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล แต่ยังเป็นตรีศก จ.ศ.1143 หรือตรงกับวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2325
 
 
      การวิเคราะห์ สำหรับสาเหตุที่พระองค์เสียพระจริตนั้น มีหลักฐานได้อธิบายไว้หลายสาเหตุ สามารถจำแนกได้ดังนี้: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวินิจฉัยว่า เป็นเพราะความสนพระทัยเรื่องเล่นเบี้ยนี้ทำให้พระองค์มัวเมา กรมหลวงนรินทรเทวี พระน้องนางเธอต่างพระชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงยกเหตุให้แก่การประหารชีวิตหัวหน้ากลุ่มญวน-จีนกว่า 53 คน และโปรดให้อพยพชาวญวนไปยังชายขอบพระราชอาณาเขต พระสังฆราชปาลเลอกัวซ์ ได้ฟังจากชนชั้นสูงของไทยสมัยนั้นว่าพระองค์ทรงได้รับโอสถขนานหนึ่งทำให้พระสติวิปลาส กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ทรงพระนิพนธ์อธิบายในเชิงจิตวิทยา และแสดงความเห็นใจสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ว่าพระองค์ทรงงานหนักจนทำให้เกิดความเครียด สาเหตุของการเสียพระจริตนั้น ได้เปลี่ยนแปลงไปตามทัศนะของชนชั้นสูงในยุคสมัยที่แตกต่างกัน แต่ทั้งหมดนี่เป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น เพราะแนวคิดในการพิสูจน์ความจริงนั้นได้ถูกละเลย นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้อธิบายใน การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด (หรือ “ดุร้าย”) ในสมัยปลายรัชกาลนั้น คงเป็นเพราะพระราชอำนาจที่เสื่อมลง พระองค์ยังเป็นกษัตริย์ที่ทรงประพฤติไม่เหมือนกับพระมหากษัตริย์อยุธยาแต่เดิมอีกด้วย จนสูญเสียความศรัทธาจากกลุ่มขุนนางอยุธยาแต่เดิม จนถูกมองว่าเสียสติ ทั้งนี้ หลักฐานพงศาวดารซึ่งบันทึกอาการวิกลจริตของพระองค์ล้วนถูกเขียนขึ้นภายหลังการสวรรคตของพระองค์ทั้งสิ้น เช่นเดียวกับข่าวการเสียสติของพระองค์ ในขณะที่จดหมายโหรร่วมสมัยได้บันทึกว่า พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นปกติจนถึงปี พ.ศ. 2324 การเสียสติของพระองค์จึงไม่ปรากฏในหลักฐานร่วมสมัย แต่บางฉบับก็บอกว่าเป็นวันเดียวกัน ซึ่งยังไม่มีใครทราบเป็นที่แน่ชัด
 
      ในบทความ “ชำแหละแผนยึดกรุงธนบุรี” เขียนโดยปรามินทร์ เครือทอง ได้ลำดับเหตุการณ์การรัฐประหารไว้ว่า: แผนรัฐประหารเริ่มขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2324 ระหว่างการปราบปรามจลาจลในเขมร สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบข่าวความไม่ปกติในกรุงธนบุรี จึงให้พระยาสุริยอภัยผู้หลานมาคอยฟังเหตุการณ์อยู่ที่เมืองนครราชสีมา เวลาเดียวกัน สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ลอบทำสัญญากับแม่ทัพญวน ฝ่ายแม่ทัพญวนก็ให้กองทัพญวน-เขมรนั้นล้อมกองทัพกรมขุนอินทรพิทักษ์ไว้ แรมเดือน 4 พ.ศ. 2325 ขุนแก้ว น้องพระยาสรรค์, นายบุนนาค นายบ้านในเขตกรุงเก่า และขุนสุระ นายทองเลกทองนอก ทั้งสามได้คิดก่อการปฏิวัติขึ้น โดยรวบรวมกำลังพลจำนวนหนึ่งไปสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ฝ่ายเจ้าเมืองอยุธยา พระอินทรอภัย หนีรอดมาได้ กราบบังคบทูลต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์จึงให้พระยาสรรค์ขึ้นไปปราบ แต่ภายหลังได้กลายเป็นแม่ทัพยกมาตีกรุงธนบุรี
 
      เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2325 ทัพพระยาสรรค์ได้เข้าล้อมกำแพงพระนคร รบกับกองทัพซึ่งรักษาเมืองจนถึงเช้า ครั้นรุ่งเช้า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีบัญชาให้หยุดรบ พระยาสรรค์ก็ถวายพระพรให้ผนวช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงออกผนวชเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2325 วันรุ่งขึ้น พระยาสรรค์ก็ออกว่าราชการชั่วคราว
แต่มาภายหลัง พระยาสรรค์ได้ปล่อยตัวกรมขุนอนุรักษ์สงครามมาช่วยกันรบป้องกันพระนครจากกองทัพพระยาสุริยอภัย ทั้งสองทัพรบกันเมื่อราว 2-3 เมษายน พ.ศ. 2325 พระยาสรรค์และกรมอนุรักษ์สงครามแตกพ่ายไป จนเมื่อถึงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ยกทัพมาถึงกรุงธนบุรี
 
      นอกจากนี้ชาวไทยบางกลุ่มยังเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ได้ถูกสำเร็จโทษ แต่ทรงจงใจสละราชบัลลังก์เพื่อจะได้มิต้องชำระเงินกู้จากจีน เมื่อทรงได้รับการปล่อยตัวอย่างลับ ๆ แล้วจึงเสด็จลงเรือสำเภาไปประทับที่วัดเขาขุนพนม จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยผนวชเป็นพระภิกษุและจำพรรษาอยู่ที่นั่นตราบจนเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2368 รวมพระชนมายุได้ 91 ปี 43 พรรษา ส่วนบุคคลที่ถูกประหารชีวิตนั้น กล่าวกันว่าเป็นบุคคลที่มีใบหน้าบุคลิกลักษณะที่คล้ายพระองค์มากรับอาสาปลอมตัวแทนพระองค์ ซึ่งอาจเป็นพระญาติหรือมหาดเล็กใกล้ชิด
 
      คงปฏิเสธไม่ได้ว่า “ชาวจีนโพ้นทะเล” ในประเทศไทย มีบทบาททางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม มาเป็นเวลานานหลายร้อยปี ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขายังเป็นหัวขบวนสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกู้ชาติหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ของแต้อ๊วง หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แม้แต่การปฏิวัติ 2475 ก็นำโดยลูกหลานชาวแต้จิ๋ว อย่างนายปรีดี พนมยงค์ เช่นกัน
 
      ประวัติศาสตร์ที่คลุมเครือกรณีสวรรคตของพระเจ้าตากสินมหาราช สร้างความสับสนให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแค่นั้น ในปี 2464 ยังมีการค้นพบสุสานของพระเจ้าตากสินฯ ที่อำเภอเฉิงไห่ หรือ เท่งไฮ้ ในสำเนียงจีนแต้จิ๋ว ตั้งอยู่ในจังหวัดแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งเป็นบ้านเกิดของพระบิดาของพระเจ้าตากสิน
 
      สุสานได้รับการบูรณะในปี 2528 โดยป้ายหลุมศพมีการจารึกชื่อ “แต้อ๊วง” แปลว่า พระเจ้าแผ่นดินตระกูลแต้ ซึ่งหมายถึงพระเจ้าตากสิน คนจีนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวรู้จักพระเจ้าตากสินดี และภาคภูมิใจ เพราะพระองค์ทรงเป็นชาวเฉิงไห่ ที่มีความกล้าหาญ เสี่ยงชีวิตกู้ชาติ และได้เป็นพระเจ้ากรุงธนบุรีในที่สุด
 
      หลายคนเชื่อว่า สุสานดังกล่าวไม่ได้บรรจุพระศพของพระเจ้าตากสิน แต่บรรจุฉลองพระองค์ ที่ชาวเฉิงไห่นำกลับไปยังบ้านเกิด หลังจากพระองค์สวรรคต เพื่อแสดงความเคารพในพระมหากรุณาธิคุณ ขณะเดียวกัน ประวัติศาสตร์กระเเสหลักบอกว่า พระองค์ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ เพราะพระสติวิปลาส หรืออาจหนีไปผนวชที่วัดเขาขุนพนม จังหวัดนครศรีธรรมราชจนสวรรคตที่นั่น
 
      อย่างไรก็ตาม ตลอด 230 ปีที่ผ่านมา ยังไม่มีใครยืนยันได้ว่า ตกลงแล้วสุสานที่ค้นพบในเมืองเฉิงไห่ เป็นสุสานฝังพระศพจริง หรือฝังเพียงฉลองพระองค์ของพระเจ้าตากสิน ประกอบกับประวัติศาสตร์การสวรรคตที่เลือนลาง และไม่มีใครต้องการพิสูจน์ ว่าพระเจ้าตากสินสวรรคต เพราะเหตุใดกันแน่
 

ที่มา  :  www.banaze.com

พระเจ้าตากสิน pantip, สุสานพระเจ้าตากสิน, จีน, ประเทศจีน, พระศพของพระเจ้าตากสิน, ประวัติศาสตร์, สุสาน, ชาวจีนโพ้นทะเล, ทัพพระยาสรรค์, ชำแหละแผนยึดกรุงธนบุรี, การวิเคราะห์, พระเจ้ากรุงธนบุรี, พระเจ้าตากสิน pantip, สุสานพระเจ้าตากสิน, จีน, ประเทศจีน, พระศพของพระเจ้าตากสิน, ประวัติศาสตร์, สุสาน, ชาวจีนโพ้นทะเล, ทัพพระยาสรรค์, ชำแหละแผนยึดกรุงธนบุรี, การวิเคราะห์, พระเจ้ากรุงธนบุรี, พระเจ้าตากสิน pantip, สุสานพระเจ้าตากสิน, จีน, ประเทศจีน, พระศพของพระเจ้าตากสิน, ประวัติศาสตร์, สุสาน, ชาวจีนโพ้นทะเล, ทัพพระยาสรรค์, ชำแหละแผนยึดกรุงธนบุรี, การวิเคราะห์, พระเจ้ากรุงธนบุรี
ดวง / ฮวงจุ้ย
เบญจเพส หรือ วัยเบญจเพส เลขอายุที่ทุกคนเกรง 24 25 26 รู้แล้วป้องกัน ดีกว่าแก้ไขตอนที่เกิด ... อ่านต่อ
ตัวเลขเสริมบุคลิกภาพ เสริมเสน่ห์ให้ผู้หญิง ... อ่านต่อ
ตัวเลข 359 นักพัฒนาต่อยอดธุรกิจ ... อ่านต่อ
ดูดวง / ฮวงจุ้ย
ทายนิสัย จากลายมือการเขียนตัวเลข ... BY : หมอเมท ... อ่านต่อ
คาถาทวงหนี้ คาถาอีกาวิดน้ำ ใช้สำหรับคนยืมเงินแล้วไม่คืนหรือของหาย ... อ่านต่อ
ตากระตุก ตาเขม่น ลางสังหรณ์ที่บ่งบอกเรื่องราวอะไร? ... อ่านต่อ
 

 


 


 


 


 


 


 


 


 


 

หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย

бишкек эскорт

 

Copyright @2014 Horonumber.com All rights reserved.