ปรับราคา ก๊าซ-น้ำมัน เตรียมตัวกระเป๋าฉีก

  

ปรับราคา  ก๊าซ-น้ำมัน  เตรียมตัวกระเป๋าฉีก

            รมว.พลังงาน จ่อเสนอ กพช. ปรับโครงสร้างน้ำมัน-ก๊าซยกแผง มีผล ธ.ค. 57 แย้มขึ้นดีเซล แอลพีจี เอ็นจีวี เล็กน้อย ส่วนผู้ใช้เบนซินและแก๊สโซฮอล์ได้ประโยชน์มากขึ้น ด้าน ปตท. วอนรัฐปรับขึ้นราคาก๊าซ ระบุขาดทุนหน้าโรงแยกกว่า 1 หมื่นล้านบาทต่อปี

            เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานเตรียมเสนอการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันและก๊าซต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในเดือนพฤศจิกายน 2557 นี้ และจะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนราคาตามโครงสร้างราคาใหม่ ทั้งน้ำมัน ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) ในเดือน ธันวาคม 2557 ทันที โดยในส่วนของกลุ่มผู้ที่จะได้รับประโยชน์คือ ผู้ใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ ส่วนกลุ่มที่อาจต้องถูกปรับขึ้นราคาบ้างเล็กน้อยคือ กลุ่มผู้ใช้ดีเซลและก๊าซแอลพีจีภาคขนส่งและครัวเรือน และเอ็นจีวี 

            นายณรงค์ชัย ระบุว่า สำหรับราคาน้ำมันนั้น จะเสนอ กพช. เป็นหลักการไว้ว่า ผู้ใช้น้ำมันจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะภาษีน้ำมันที่ปัจจุบันเก็บต่ำมากเพียง 75 สตางค์ต่อลิตร ขณะที่เบนซินและแก๊สโซฮอล์ถูกเก็บประมาณ 4-5 บาทต่อลิตร ดังนั้นจะต้องปรับให้มาใกล้เคียงกัน ประกอบกับกระทรวงการคลังมีความจำเป็นต้องมีรายเพิ่ม เพราะขณะนี้งบประมาณแผ่นดินมีน้อย อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าการปรับโครงสร้างราคาดีเซลดังกล่าว กระทรวงพลังงานจะพยายามให้มีผลกระทบต่อผู้ใช้น้อยที่สุด ซึ่งจะเร่งทำในช่วงนี้ที่ราคาน้ำมันโลกอยู่ในจังหวะราคาขาลง

            "ส่วนโครงสร้างราคาแอลพีจีนั้น จะค่อย ๆ ปรับราคาขึ้น โดยราคาสูงสุดที่จะปรับขึ้นนั้นขณะนี้กำลังพิจารณาอยู่ แต่เบื้องต้นเห็นว่าควรเป็นราคาเฉลี่ยต้นทุนของโรงแยกก๊าซ โรงกลั่นและราคานำเข้า นอกจากนี้ในส่วนของการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมนั้น แม้จะมีการประกาศเชิญชวนออกไปแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีเอกชนรายใดมายื่นขอสัมปทาน เนื่องจากต้องรอให้กระทรวงพลังงานเปิดโรดโชว์รายละเอียดการขอสัมปทานก่อน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเปิดได้ในเดือนธันวาคม 2557 นี้" นายณรงค์ชัย กล่าว

            ขณะที่นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า การขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเป็นเรื่องของนโยบาย ซึ่งกรมพร้อมที่จะดำเนินการ โดยที่ผ่านมานักวิชาการด้านพลังงาน รวมถึงหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงานของไทยเห็นตรงกันว่า ต้องมีการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเป็นลิตรละ 4-5 บาท จากปัจจุบันเก็บอยู่ที่ลิตรละ 0.75 บาท ซึ่งทำให้รายได้กรมเพิ่มขึ้น 5 พันล้านบาทต่อเดือน

            "การปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตในช่วงที่ราคาน้ำมันลดลง จะไม่ส่งผลกระทบกับราคาขายปลีก เพราะสามารถไปปรับลดในส่วนของการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันได้ ซึ่งทางกรมรอการตัดสินใจของฝ่ายนโยบายจะให้ปรับขึ้นเมื่อไร" นายสมชาย กล่าว

            ทั้งนี้หากจะปรับภาษีน้ำมันให้เท่ากัน ก็ควรปรับภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลให้อยู่ลิตรละ 4-5 บาท และปรับลดภาษีน้ำมันเบนซินที่ปัจจุบันเก็บอยู่ลิตรละ 5.60 บาท ให้มาอยู่ที่ 4-5 บาท ซึ่งจะทำให้กับภาษีน้ำมันเบนซินหรือใกล้เคียงกันมากที่สุด ซึ่งจะทำให้การใช้น้ำมันไม่มีการบิดเบือน และยังส่งผลให้การเก็บภาษีของกรมสรรพสามิตเพิ่มขึ้น เพราะการใช้น้ำมันดีเซลมากกว่าการใช้น้ำมันเบนซิน

            ด้านนายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท. เตรียมแผนลงทุนระยะสั้น 5 ปี (2558-2562) ด้วยงบประมาณที่ใกล้เคียงกับช่วง 5 ปีที่ผ่านมาประมาณ 3.72 แสนล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะนำมาขยายการลงทุนสร้างท่อก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 และเส้นที่ 5 พร้อมทั้งสร้างคลังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) เฟส 2 อีก 5 ล้านตัน ซึ่งจะเสร็จในปี 2560 รวมทั้งใช้ลงทุนในต่างประเทศ

            ทั้งนี้แม้กระทรวงพลังงานจะเปิดสัมปทานปิโตรเลียม แต่โอกาสเจอปิโตรเลียมปริมาณมาก ๆ คงจะยาก เพราะเป็นแหล่งเก่าที่เคยสำรวจไปแล้ว ประกอบกับพื้นที่ทางธรณีวิทยาของไทยไม่ได้เป็นแหล่งก๊าซขนาดใหญ่ เป็นแค่แหล่งเล็ก ๆ เท่านั้น ดังนั้น ปตท. จำเป็นต้องเข้าไปลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจากต่างประเทศ ส่วนหนึ่งเพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซในไทยที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

            ส่วนการปรับโครงสร้างราคาก๊าซในประเทศของรัฐบาลนั้น เป็นเพียงการปรับขึ้นราคาในส่วนของผู้ใช้เท่านั้น ขณะที่ด้านการผลิตไม่ได้ปรับขึ้นให้แต่อย่างใด โดยปัจจุบัน ปตท. ขาดทุนถึงปีละ 1 หมื่นล้านบาท จากการผลิตแอลพีจีที่โรงแยกก๊าซให้ภาคครัวเรือนและขนส่งในประเทศได้ใช้ เนื่องจากโรงแยกก๊าซถูกควบคุมราคาขายไว้ที่ 330 เหรียญสหรัฐต่อตัน ขณะที่ราคาก๊าซในตลาดโลกปัจจุบันอยู่สูงกว่าที่ 605 เหรียญสหรัฐต่อตัน ซึ่งภาครัฐควบคุมราคาดังกล่าวมากว่า 10 ปีแล้ว 

            ส่วนเอ็นจีวีที่ภาครัฐควบคุมราคาอยู่นั้น ปัจจุบันปตท.ขายขาดทุนอยู่ในราคา 11.50 บาทต่อกิโลกรัม โดยต้นทุนที่แท้จริงอยู่ที่ 16 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งทำให้แต่ละปี ปตท. ขาดทุนจากการขายเอ็นจีวีถึง 1.8 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้ภาครัฐจะปรับขึ้นราคาเอ็นจีวีไปแล้ว 1 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อเดือนตุลาคม 2557 และทำให้ราคาเอ็นจีวีมาอยู่ที่ 11.50 บาทต่อกิโลกรัมแล้วก็ตาม ซึ่งเมื่อมาพิจารณาจะพบว่าช่วยลดภาระขาดทุนของ ปตท. ได้เพียง 500 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น

             อย่างไรก็ตาม เห็นว่าภาครัฐควรปรับโครงสร้างราคาก๊าซให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เนื่องจากไทยเตรียมจะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 ซึ่งเป็นการเปิดประตูการค้าเสรี และเป็นต้นเหตุให้หลายประเทศเลิกอุดหนุนราคาพลังงานแล้ว โดยเฉพาะจีน อินเดีย และอินโดนีเซีย ซึ่งไทยควรลดการอุดหนุนเช่นกัน

ที่มา : ไทยโพสต์

  

บทความที่เกี่ยวข้อง
ครึ่งปีหลังอ่วม ค่าน้ำ-ค่าไฟ-ค่าโดยสาร เล็งขึ้นราคาพรึ่บ ... อ่านต่อ
8 อันดับแอพพลิเคชั่นที่ราคาแพงที่สุดในโลก ... อ่านต่อ
ปัญหาราคาทองวันนี้??มีคำตอบจากทางสมาคมผู้ค้าทอง ... อ่านต่อ
ดูดวง / ฮวงจุ้ย
ทายนิสัย จากลายมือการเขียนตัวเลข ... BY : หมอเมท ... อ่านต่อ
คาถาทวงหนี้ คาถาอีกาวิดน้ำ ใช้สำหรับคนยืมเงินแล้วไม่คืนหรือของหาย ... อ่านต่อ
ตากระตุก ตาเขม่น ลางสังหรณ์ที่บ่งบอกเรื่องราวอะไร? ... อ่านต่อ
 

 


 


 


 


 


 


 


 


 


 

หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย

бишкек эскорт

 

Copyright @2014 Horonumber.com All rights reserved.