การสาธยายธรรม (การสวดมนต์) ตามพุทธบัญญัติ

  

การสาธยายธรรม (การสวดมนต์) ตามพุทธบัญญัติ

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ซึ่งทำให้สัทธรรมตั้งมั่น ไม่ลบเลือนจนเสื่อมสูญไป อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมตรึกตรอง เพ่งดูด้วยใจ ซึ่งธรรม ตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมา โดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ซึ่งทำให้สัทธรรมตั้งมั่น ไม่ลบเลือนจนเสื่อมสูญไป


ประโยชน์ของการสาธยายธรรม

           ๑. เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม (หนึ่งในเหตุห้าประการเพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๑/๑๕๕.
           ๒. เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ (หนึ่งในธรรมให้ถึงวิมุตติห้าประการ) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๓/๒๖.
           ๓. เป็นอาหารของความเป็นพหูสูต ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๐/๗๓.
           ๔. เป็นองค์ประกอบของการเป็นบริษัทที่เลิศ ทุก. อํ. ๒๐/๖๘/๒๙๒.
           ๕. ทำให้ไม่เป็นมลทิน อฎฺก. อํ. ๒๓/๑๔๙/๑๐๕.
           ๖. เป็นบริขารของจิตเพื่อความไม่มีเวรไม่เบียดเบียน (หนึ่งในห้าบริขารของจิต) มู. ม. ๑๓/๕๐๐/๗๒๘.
           ๗. เป็นเหตุให้ละความง่วงได้ (หนึ่งในแปดวิธีละความง่วง) สตฺตก. อํ. ๒๓/๗๓/๕๘.


วิธีการสาธยายธรรมให้แจ่มแจ้งได้นาน

           ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถูกเหนี่ยวรั้ง ย่อมรู้ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัด ออกซึ่งนิวรณ์ทั้งห้า (กามราคะ, พยาบาท, ถีนมิทธะ, อุทธัจจกุกกุจจะ, วิจิกิจฉา) ทำให้รู้เห็นประโยชน์ตามที่เป็นจริง มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๖๖/๖๐๓.


ข้อควรระวังและวิธีป้องกันในการสาธยายธรรม

           อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ ทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟัง ได้เรียนมาโดยพิสดาร, แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้นๆ  ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการสวด (นักสวด) ยังมิใช่ ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)......เธอไม่ใช้วันทั้งวันให้เปลืองไปด้วยการเรียนธรรมนั้นๆ ไม่เริดร้างจากการหลีกเร้น, ประกอบตามซึ่งธรรมเป็นเครื่องสงบใจ ในภายในเนืองๆ. ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)... ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๙-๑๐๐/๗๓-๗๔.

           การสาธยายธรรมใครจะสาธยายธรรมบทใดก็ได้ที่เป็นธรรมจากพระโอษฐ์ของพระตถาคต ก็จักเป็นประโยชน์กับเราทั้งสิ้นเพราะการสวดแบบนี้สวดเพื่อให้รู้ถึงบทธรรมที่พระองค์ทรงแสดงไว้ดีแล้วให้เราเข้าใจเหมือนเป็นการสวดท่องทบทวน เพื่อให้ขึ้นใจแทงตลอดด้วยดี เพื่อใคร่ครวญเกื้อหนุนกันในการเจริญอานาปานสติ  หรือการดำเนินชีวิตประจำวันได้ เมื่อเรา ไปซื้อของถ้าเราท่องสูตรคูณไม่ได้เราก็บวกลบคูณหารไม่ได้ ฉันใด ถ้าเราไม่จำธรรมของตถาคต เราจักเอาธรรมอันใดมาใคร่ครวญคิดพิจารณาเมื่อเกิดปัญหา  ฉันนั้น!!

           ในปัจจุบัน ตามวัด และตามร้านหนังสือ มีแต่หนังสือสวดมนต์ซึ่งเป็นคำแต่งใหม่ผสมปนกันไปกับคำตถาคต

           จุดประสงค์เป็นไปเพื่อ การขอ อ้อนวอน ต่างๆ ซึ่งอาจรวมเดรัจฉานวิชาต่างๆด้วย ใครที่ทำหนังสือแต่งใหม่เพื่อเป็นธรรมทานให้หยุดทำเพราะเป็นการทำลายคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะคำแต่งใหม่มีมาก คนก็จะหันไปสนคำแต่งใหม่โดยแก่นแท้คำสอนของพระองค์ก็จะค่อยๆหายไป

           ชาวพุทธที่ไม่รู้ก็คิดว่าดีจึงสวดตามทุกวันๆ บางท่านอาจจะคิดขึ้นได้ว่าสวดมนต์แบบนี้มันเกิดปัญญาเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นตามพระศาสดาสอนตรงไหน เพราะล้วนแต่สวดแต่คำแต่งใหม่ของสาวก ซึ่งพระองค์ก็ทรงตรัสห้ามบัญัติเพิ่มไว้แล้ว

           ดังนั้นการสวดมนต์หรือสาธยายธรรมที่ถูกต้องคือการนำคำสอนของพระองค์มาสวดทบทวนตอนไหนยามไหนก็ได้  บทไหนก็ได้ทั้งนั้น

           แต่ถ้าจะปฏิบัติบูชาแบบเดิมด้วยก็ เริ่มตั้งแต่การสวดสรรเสริญแล้วค่อยตามด้วยหลักธรรมก็ได้สุดแต่จะทำ


ที่มา : http://watnapp.com/book

  

บทความที่เกี่ยวข้อง
ศัลยกรรมความงาม จากมุมมองพระพุทธศาสนา..!! ... อ่านต่อ
พระพุทธเจ้า ทรงปลงผมเหมือนเหล่าสาวก หรือไม่ !?! ... อ่านต่อ
๑๐ พระสูตร ของความสำคัญ ที่ชาวพุทธต้องศึกษาแต่คำสอนจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น ... อ่านต่อ
ดูดวง / ฮวงจุ้ย
ทายนิสัย จากลายมือการเขียนตัวเลข ... BY : หมอเมท ... อ่านต่อ
คาถาทวงหนี้ คาถาอีกาวิดน้ำ ใช้สำหรับคนยืมเงินแล้วไม่คืนหรือของหาย ... อ่านต่อ
ตากระตุก ตาเขม่น ลางสังหรณ์ที่บ่งบอกเรื่องราวอะไร? ... อ่านต่อ
 

 


 


 


 


 


 


 


 


 


 

หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย

бишкек эскорт

 

Copyright @2014 Horonumber.com All rights reserved.