เมื่อ..สเปรย์พริกไทย..ผิดกฎหมาย จะใช้อะไรป้องกันตัว?

เมื่อ..สเปรย์พริกไทย..ผิดกฎหมาย

จะใช้อะไรป้องกันตัว?

          กรณีของน้องแก้ม สร้างความสะเทือนใจแก่สังคม เกิดกระแสเรียกร้องให้มีการแก้ตัวบทกฎหมายให้โทษของการข่มขืนต้องประหาร ส่วนหนึ่งด้วยหวังให้บทลงโทษที่รุนแรงขึ้นช่วยปรามผู้ที่คิดจะประพฤติเยี่ยงนี้

          แต่ขณะเดียวกันผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นเหยื่อ ไม่เพียงบนรถไฟ แต่รวมทั้งในจุดเสี่ยงต่างๆ เช่น ในซอยเปลี่ยว ฯลฯ ต้องรู้จักการระวังดูแลตนเองด้วย

          "สเปรย์พริกไทย" เป็น หนึ่งในอาวุธคู่กายชนิดแรกๆ ที่ได้รับการแนะนำให้หญิงสาวกลุ่มเสี่ยงพกติดตัวเพื่อปกป้องและพาตัวหนีรอด จากสถานการณ์ในยามคับขันได้
 
          ด้วยข้อดีที่ว่า ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเข้าไปอยู่ในระยะประชิด และด้วยฤทธิ์ของพริกไทยที่สามารถหยุดพฤติกรรมหื่นได้อย่างชะงัก ทำให้มีโอกาสหนีรอดได้ และที่สำคัญคือ ฤทธิ์ของสเปรย์พริกไทยไม่ถึงกับทำให้เสียชีวิต

          ทว่าในทางกฎหมาย สเปรย์พริกไทยกลับถูกจัดอยู่ในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 หมวดการควบคุมวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า ห้ามจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง โดยมีบทลงโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รอง เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อธิบายถึงที่มาของการจัด "สเปรย์พริกไทย" เข้าไปอยู่ใน พ.ร.บ.วัตถุอันตราย ประเภทที่ 4 ว่า ปี 2535 ว่า มีการปรับเปลี่ยน พ.ร.บ.วัตถุมีพิษไปเป็น พ.ร.บ.วัตถุอันตราย โดยพิจารณาจาก 2 ประเด็น คือ ดูสารประกอบที่ก่อให้เกิดอันตราย เช่น ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และสอง พิจารณาว่าถ้าสารนั้นสามารถนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ก่ออาชญากรรมหรือทำร้ายผู้อื่น

          แต่เดิมถึงแม้ไทยจะควบคุมตัว วัตถุมีพิษธรรมดาก็ตาม แต่ขณะนั้นยังไม่มีผู้ผลิตหรือนำเข้าใช้ในประเทศไทย พอมาเป็น พ.ร.บ.วัตถุอันตรายในปี 2535 แล้ว โดยพิจารณาจาก 2 ปัจจัยนี้ สเปรย์พริกไทยซึ่งเข้าในองค์ประกอบที่ 2 ซึ่งในต่างประเทศมีรายงานให้เห็นเนืองๆ ว่านำไปก่ออาชญากรรม จึงเข้าในกรณีนี้

          ที่จริง ในปี 2552 อย.เคยเสนอว่าควรจะลดระดับการควบคุมหรือไม่ โดยลดระดับเป็นประเภทที่ 3 หรือ ประเภทที่ 2 แต่ต้องมีหน่วยงานที่กำกับดูแลเป็นหน่วยอื่น

          "การ จะปรับระดับการควบคุมเป็นอำนาจของคณะกรรมการซึ่งองค์ประกอบของคณะกรรมการมี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน นอกจากนี้ยังมีกรรมการเป็นหน่วยงานต่างๆ ไม่ใช่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นการเฉพาะ หมายความว่าการจะปรับลดระดับหรือไม่ อย.ยังไม่สามารถจะตอบแทนคณะกรรมการได้ ซึ่งสมมุติว่าถ้า อย.เห็นสมควรจะมีการปรับสดระดับ ก็ต้องเสนอเข้าไปในคณะกรรมการ

          แต่ ที่เป็นประเด็นเลยคือ ตัวมาตรการควบคุม เพราะสเปรย์นี้พิจารณาได้ทั้งสองด้าน คือ ด้านการป้องกันตัว แต่ถ้าไปตกอยู่ในมือผู้ร้ายก็สามารถนำไปก่ออาชญากรรมได้ และกระทรวงสาธารณสุข เราไม่มีหน่วยงานที่สามารถตรวจสอบประวัติคนที่ก่อคดี เราเองในเรื่องการควบคุมคุณภาพมาตรฐานคงไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่เป็นเรื่องการควบคุมการกระจายและการครอบครอง ทำอย่างไรจะไม่ให้สเปรย์ไปตกอยู่ในมือของผู้ที่จะก่ออาชญากรรม"

          รอง เลขาธิการ อย. บอกว่า การจะมองว่าสเปรย์พริกไทยควรยกออกจากรายการเพื่อให้เป็นประโยชน์ในการใช้การ ป้องกันตัวนั้น ต้องมองในอีกด้านเช่นกัน เพราะถ้าผู้ร้ายจะนำสเปรย์พริกไทยไปพ่นใส่เหยื่อเพื่อข่มขืนล่ะ นี่คือข้อที่ทำให้เรากำหนดไว้เพื่อป้องกันผู้ร้ายอาจนำไปก่ออาชญากรรม

          ลอง มาฟังอีกความเห็นของผู้ที่เคยเป็นลูกค้า เป็นพ่อค้า และผู้รณรงค์ให้ อย.นำสเปรย์พริกไทยออกจากรายการวัตถุอันตรายประเภทที่ 4 มาถึง 5 ปีเต็ม

          กอสิน ศุภฤทธิ์ธำรง เว็บมาสเตอร์ ThaiBodyGuard.com บอกถึงข้อดีของ "สเปรย์พริกไทย" ว่า

          1.มัน ให้ระยะในการป้องกันตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1-5 เมตร โดยที่ผู้หญิงไม่ต้องเรียนรู้การใช้มาก ขอแค่มีสติตอนเกิดเหตุ หันด้านสเปรย์ถูกด้าน และไม่ต้องฉีดเข้าตาเต็มๆ ก็ได้ แค่ให้มันฟุ้งในอากาศ ก็มีเวลาจะวิ่งหนีรอดแล้ว

          2.ฤทธิ์ของมันไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้กระทำ ไม่เหมือนกับมีด ที่ต้องมีเกือบตายสักคน ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง

          กอสินอธิบายข้อดีของ "สเปรย์พริกไทย" ซึ่งเป็นเหตุผลที่เมื่อ 7 ปีก่อนเขาหาซื้อมาไว้ใช้ป้องกันตนเอง ครั้งที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่แถวลาดกระบัง และพบว่ามีคนที่มีปัญหาเดียวกับเขาเป็นจำนวนมาก ฝากซื้อรวมทั้งบอกกันต่อๆ จึงตกลงใจจัดจำหน่าย กระทั่งทราบว่า ผิดกฎหมายจึงยุติการขาย

          "พ.ร.บ .วัตถุอันตราย ประเภทที่ 4 เป็นกฎหมายที่ควบคุมวัตถุที่รุนแรง รวมทั้งกัมมันตภาพรังสี ห้ามนำเข้า ห้ามผลิต และมีในครอบครองไม่ได้ ซึ่ง อย.เอาสารที่มีในสเปรย์พริกไทยใส่เข้าไปในทุกชนิด เช่น แคปไซซิน (Capsaicin) ซึ่งมีอยู่ในพริก แค่เอาพริกไปต้มก็จะได้น้ำมันสกัดแคปไซซินในครอบครองแล้ว รวมทั้งสารที่ให้กลิ่นเหม็นมาก เช่น สกั๊งออย ก็ห้ามด้วย"

          เชื่อว่า ปัจจุบันจำนวนคนที่มีสเปรย์พริกไทยไว้ในครอบครองมีเป็นแสนกระป๋อง เพราะที่ผ่านมาการสื่อสารในเรื่องนี้ไม่ชัดเจน รวมทั้ง ทางกฎหมายอาญา "สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ" การมีในครอบครองจึงไม่ผิด แต่ถ้าถือตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย ผู้หญิงที่ถือครองมีโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท

          แค่ครอบครองโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็มีโทษปรับไม่เกิน 8 แสนบาท!

          ขณะที่บทลงโทษของผู้กระทำการข่มขืนผู้อื่นที่มิใช่ภริยาตน โทษจำคุก 4-20 ปี และปรับ 8,000-40,000 บาท

          ยก ตัวอย่าง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่ง ผู้จัดการร้านใช้สเปรย์พริกไทยสยบผู้ร้ายได้ ผู้ร้ายถูกตำรวจจับ แต่กลับถูกตำหนิเพราะสเปรย์พริกไทยเป็นของผิดกฎหมาย

          "กฎหมาย นี้ออกมาตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งตั้งแต่มีการห้ามมา มีข่าวมีผู้ที่นำสเปรย์พริกไทยไปใช้ไม่เกิน 5 กรณี ใน 8 ปี ซึ่งเป็นคดีที่ประสงค์ต่อทรัพย์ทั้งสิ้น ไม่ได้ประสงค์ต่อชีวิต คือ "จุดประสงค์ป้องกันคนไม่ดีนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี แต่ปรากฏว่ารวมไปถึงคนดีที่จะนำไปใช้เพื่อการป้องกันตนเองก็ใช้ไม่ได้ด้วย"

          ปี 2552 มีคดีที่เกี่ยวกับเพศ 4,155 คดี เป็นคดีเฉพาะที่มีผู้มาแจ้งความ ถ้าแต่เป็นตัวเลขของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ซึ่งทำเรื่องช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกกระทำ ตัวเลขในปี 2556 มี 31,866 ราย จับได้แค่ 2,184 คน นั่นหมายความว่าคนร้ายอีก 28,000 คน อยู่ในระบบและเพิ่มมากขึ้นทุกปี

          กอสินบอกว่า สเปรย์พริกไทยเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มเสี่ยงจะใช้เพื่อการป้องกัน ตัว แต่ก็เห็นด้วยว่าควรมีการควบคุม เช่น กำหนดสารสำคัญว่าต้องไม่ทำอันตรายอย่างถาวรต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย กำหนดความเข้มข้นของสารสำคัญ ขนาดบรรจุ กำหนดคุณสมบัติของผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย กำหนดสินค้าต้องขึ้นทะเบียน มีซีเรียล นัมเบอร์ การจำหน่ายต้องเฉพาะผู้ที่มีใบอนุญาตพกพา กำหนดอายุผู้ครอบครอง ฯลฯ

          โดยได้เสนอเรื่องไว้เมื่อคราวได้เข้า ประชุมหารือและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สเปรย์ป้องกันตัว ร่วมกับ อย.เมื่อ 5 ปีก่อน ซึ่งผลสรุปค่อนข้างมีความหวัง มีแนวโน้มที่จะแก้ไขเป็นวัตถุประเภท 3 หรือ 2 แต่แล้วเรื่องก็เงียบหายไป 4 ปี

          ถามว่า เมื่อสเปรย์พริกไทยเป็นวัตถุผิดกฎหมาย จะมีสิ่งใดที่ใช้ป้องกันตัวได้บ้าง?

          เว็บมาสเตอร์ ThaiBodyGuard.com บอกว่า เครื่องชอร์ตไฟฟ้า หรือ มีด นับเป็น "อาวุธโดยสภาพ" พกในที่สาธารณะมีโทษปรับ 500 บาท

          หรือ ไม่ก็เป็นตระกูลส่งเสียงดัง เช่น นกหวีด หรือ Personal Alarm ดึงสลักแล้วส่งเสียงดัง แต่ถ้าเกิดเหตุในอาคาร/ห้องที่ปิด แม้จะเป็นเสียงไซเรนที่ดังมาก ใครจะมาช่วยได้

          "ผมขอยกคำพูดของ ท่านรองโชติวิเชียร (พล.ต.ท.โชติวิเชียร วิเชียรโชติ) ท่านเขียนหนังสือ "ภัยผู้หญิง" และสนใจเรื่องนี้มานาน บอกว่า ลองนึกดูว่าถ้าผู้ญิงทุกคนที่อยู่ในสถานการณ์นั้นมีสเปรย์พริกไทย ข่าวที่เกิดขึ้นบนหน้าหนังสือพิมพ์ที่เห็นกันอยู่น่าจะไม่เป็นอย่างที่เกิด เรื่องราวน่าจะคลี่คลาย และจบสวยงามกว่านี้"

          คงต้องแล้วแต่ความถนัด จะหมัดมวย หรือ ใช้สองเท้าโกยดีล่ะ?

          หรือจะเปลี่ยนจาก สเปรย์พริกไทย เป็น เครื่องช็อตไฟฟ้าแทน?

 

ขอบคุณบทความจาก ประชาชาติธุรกิจ ,prachachat.net

บทความที่เกี่ยวข้อง
วิจารณ์หนักตำรวจ คดีน้องแก้ม ตำรวจโพสต์ FB ระบายความในใจ ... อ่านต่อ
วันชัย แสงขาว ทำแผนคดีฆ่าน้องแก้ม รับ เสพยา-ดูคลิปโป๊ก่อนก่อเหตุ ... อ่านต่อ
พนักงานการรถไฟสารภาพ ตัวเองลงมือฆ่าน้องแก้ม ... อ่านต่อ
ดูดวง / ฮวงจุ้ย
ทายนิสัย จากลายมือการเขียนตัวเลข ... BY : หมอเมท ... อ่านต่อ
คาถาทวงหนี้ คาถาอีกาวิดน้ำ ใช้สำหรับคนยืมเงินแล้วไม่คืนหรือของหาย ... อ่านต่อ
ตากระตุก ตาเขม่น ลางสังหรณ์ที่บ่งบอกเรื่องราวอะไร? ... อ่านต่อ
 

 


 


 


 


 


 


 


 


 


 

หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย

бишкек эскорт

 

Copyright @2014 Horonumber.com All rights reserved.