พระอัคนี เทพเจ้าแห่งไฟ
พระอัคนี เป็นเทพแห่ง ไฟ ทรงเป็นหนึ่งในเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ในยุคแรก และทรงเป็นคู่แข่งสำคัญของ พระอินทร์ อย่างไรก็ตาม พระองค์ก็มีตำนานที่น่าเคารพมากมายเช่นเดียวกับพระอินทร์ ถือกันว่า ไฟ เกิดขึ้นได้ก็มาจากการเสียดสีของสิ่ง 2 สิ่ง ดังนั้นไฟจึงถือว่าเป็นบุตรของ โลก (พระนาง ปฤถวี) และ สวรรค์ (พระทโยส : Dyaus) และเป็นพระอนุชาของพระอินทร์ ทรงโปรดเสวยน้ำเนยใสเหมือนพระอินทร์ ทรงโปรดน้ำโสม พระองค์จึงมีพระชิวหา (ลิ้น) ถึง 7 ชิวหา เพื่อใช้เลียเนยที่ละลายจากการบูชายัญไฟ ซึ่งแต่ละชิวหามีชื่อประจำ พระอินทร์เป็นผู้ให้ชีวิต และพระอัคนีเป็นสัญลักษณ์ของการจุดประกายที่สำคัญ ซึ่งเป็นรากฐานแห่งชีวิตมนุษย์ สัตว์ รวมถึงพืช ต้นไม้
พระอัคนีทรงเป็นอมตะ เป็นผู้ริเริ่มพิธีบูชายัญ พระองค์ทรงเป็นต้นแบบของพราหมณ์ เป็นสื่อกลางระหว่างพระเจ้าและมนุษย์ เป็นผู้สื่อสารของพระเจ้า โดยการไปเยี่ยมมนุษย์ในพิธีบูชายัญ และจะเป็นผู้อัญเชิญเทพเจ้ามายังสถานบูชา
ตำนานการเกิดของพระองค์บ้างก็กล่าวว่า พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งปฐพี ซึ่งมี พระวายุ หรือ พระอินทร์ เป็นเทพแห่งลม และพระสุริยะเป็นเทพแห่งท้องฟ้า กระนั้นยังกล่าวว่า พระอัคนี ทรงเป็นเทพทั้ง 3 โลก และเป็นหัวหน้าเทพทั้งสอง มืเรื่องเล่าอีกว่า พระองค์ทรงประสูติใหม่ถึง 3 ครั้ง คือ พระองค์ทรงประสูติเป็นพระอาทิตย์ในสวรรค์ หรือบางครั้งก็ทรงประสูติเป็นเปลวเพลิงแห่งพระอาทิตย์ ครั้งที่ 2 พระองค์ประสูติบนโลกมนุษย์ โดยการจุดไฟของพราหมณ์และมนุษย์ในพิธีบูชาไฟ ซึ่งทำให้เกิดความอบอุ่น ช่วยปกป้องและบำรุงเลี้ยงในรูปของที่ตั้งเตาไฟ ซึ่งควันไฟจะลอยขึ้นไป กลายเป็นเมฆในชั้นบรรยากาศอีกครั้ง พระองค์จึงสามารถเข้าไปสัมผัสสำรวจในทุกรูปการณ์ได้ และได้รับการบูชาเหมือนดั่งเช่นวิญญาณในบ้านด้วย
ตำนานการเกิดของพระองค์บ้างก็กล่าวว่า พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งปฐพี ซึ่งมี พระวายุ หรือ พระอินทร์ เป็นเทพแห่งลม และพระสุริยะเป็นเทพแห่งท้องฟ้า กระนั้นยังกล่าวว่า พระอัคนี ทรงเป็นเทพทั้ง 3 โลก และเป็นหัวหน้าเทพทั้งสอง มืเรื่องเล่าอีกว่า พระองค์ทรงประสูติใหม่ถึง 3 ครั้ง คือ พระองค์ทรงประสูติเป็นพระอาทิตย์ในสวรรค์ หรือบางครั้งก็ทรงประสูติเป็นเปลวเพลิงแห่งพระอาทิตย์ ครั้งที่ 2 พระองค์ประสูติบนโลกมนุษย์ โดยการจุดไฟของพราหมณ์และมนุษย์ในพิธีบูชาไฟ ซึ่งทำให้เกิดความอบอุ่น ช่วยปกป้องและบำรุงเลี้ยงในรูปของที่ตั้งเตาไฟ ซึ่งควันไฟจะลอยขึ้นไป กลายเป็นเมฆในชั้นบรรยากาศอีกครั้ง พระองค์จึงสามารถเข้าไปสัมผัสสำรวจในทุกรูปการณ์ได้ และได้รับการบูชาเหมือนดั่งเช่นวิญญาณในบ้านด้วย
ในฐานะที่เป็นเจ้าแห่งการสร้าง บทบาทของพระองค์คือ การให้ชีวิต และทรงร่วมแบ่งลักษณะอื่นๆจากพระเชษฐาหรือพระอินทร์ด้วย ศัตรูของพระองค์คือพวก รากษส ที่ชอบกินเนื้อมนุษย์ ในการสู้รบกับอสูรพระองค์จึงแปลงพระวรกายเป็นอีกรูปหนึ่ง คือ พระฉวีกลายเป็นสีแดง มีพระเศียรเป็นเปลวไฟสามเศียร มีขา 3 ขา และพระกร 7 กร ทรงสวมมงกุฏผลไม้ ส่วนอสูรจะมีเขี้ยวยาว และรูปลักษณ์น่าเกลียด พระอัคนี จะทรงเสกเขี้ยวเหล็กยาวแหลม 2 อัน มาต่อสู้กับพวกอสูร และใช้เขี้ยวเหล็กนั้นแทงอสูรและกลืนพวกมันลงไป
การบูชายัญของพระองค์จะมีการถวายเนื้อมนุษย์ เนื้อนี้จะต้องเป็นเนื้อบริสุทธิ์ ถ้าไม่บริสุทธิ์ พระองค์จะทำให้บริสุทธิ์เสียก่อน ในการนี้จะมี ฤษีภฤคุ คอยจัดการอยู่ เขาจะไปลักพาเด็กหญิง 1 คน มาหมั้นกับอสูรหรือปีศาจก่อน อสุรานี้จะทราบว่าพระอัคนี ทรงสถิตอยู่ทุกหนทุกแห่ง จึงถามพระอัคนีว่า เด็กหญิงอยู่ที่ไหน พระอัคนีจะตอบอสุราด้วยความสัตย์ และมันจะหาตัวเด็กเจอ อีกเรื่องหนึ่งกล่าวไว้ว่า พระอัคนีมาสู่มนุษย์โดย เทพครึ่งอสูร (Matarisvan) เทพครึ่งอสูรผู้ที่มารับคือ ฤษีภฤคุ ซึ่งจะเป็นผู้ทำพิธีบูชาพระอัคนี
บางตำนานก็เล่าว่า พระองค์ไม่ได้เสวยแค่เนยใสเท่านั้น แต่ยังเสวยน้ำโสมเหมือนเช่นพระอินทร์ด้วย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทพแห่งการสวดมนต์ พฤหัสบดี (Brihaspati) พระองค์จะเป็นผู้ช่วยพระอินทร์ในการสร้างจักรวาล ส่วนบทบาทของพระองค์สืบต่อมาในช่วงปลายยุคพระเวท ซึ่งเป็นช่วงที่พระอินทร์ใกล้จะกลืนอำนาจของพระองค์เป็นผลสำเร็จแล้ว
ในศาสนาฮินดู พระอัคนีได้รับบทบาทของพระวรุณ เสมือนกษัตริย์แห่งปิตริ (Pitris) แต่พระองค์ยังไม่ใช่พระบิดาที่ดีในช่วงแรก มีเรื่องเล่าว่าพระองค์เป็นโอรสของ ฤษีอังคีรส (Angiras) หนึ่งในพราหมณ์ 7 คน หรือหนึ่งในบรรพบุรุษของมนุษย์ ในฐานะที่พระอังคีรส เป็นกษัตริย์แห่งปิตริ พระอัคนี จึงได้รับราชสมบัติต่อมา และส่งผ่านคุณลักษณะในช่วงแรกของคนให้บิดาเช่นกัน ซึ่งต่อมาพระอังคีรส ได้กลายมาเป็นพระของเทพเจ้าและเป็นเจ้าแห่งการบูชายัญ
ในยุคนี้พระองค์ได้รับการบูชาในฐานะเทพแห่งไฟลดน้อยลง แต่ได้รับการบูชาในฐานะผู้ที่ทำให้ของเซ่นไหว้บริสุทธิ์มากกว่า และได้รับการสักการะในโอกาสสำคัญ เช่น งานแต่งงาน และงานศพ พระองค์จะใช้พระชิวหาทั้ง 7 เลียเนยที่ใช้ในพิธีบูชาบัญอย่างไม่รู้เบื่อ และด้วยความบริโภคมากไปนี้เอง จึงทำให้พระองค์อ่อนแอ
ใน มหาภารตะ กล่าวไว้ว่า พระองค์ทรงเสวยของเซ่นไหว้มากมายจนเหนื่อยล้า พระองค์จึงคิดที่จะฟื้นคืนกำลังกลับมาโดยการเสวยป่า ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตราย พระอินทร์จึงทรงห้ามไว้ แต่ต่อมา พระองค์ก็ทำสำเร็จ โดยมีพระกฤษณะ และอรชุน โอรสของพระอินทร์คอยช่วยเหลือ ในบทบาทของเทพแห่งไฟ พระองค์มีสัญลักษณ์เป็นมนุษย์ พระฉวีแดง มีพระเศียรเป็นเปลวไฟ 3 เศียร เทพพาหนะหรือสัตว์คู่กายคือแกะตัวผู้ ในฐานะที่เป็นกษัตริย์แห่งปิตริ พระองค์เป็นเช่นผู้ที่ทำให้การบูชายัญราบรื่น และนำพาวิญญาณที่ตายแล้วมายังที่ประทับของพระองค์ เพื่อทำให้วิญญาณนั้นบริสุทธิ์
ความสับสนระหว่างพระอัคนีกับพระอินทร์นั้น เริ่มจากพระอินทร์ได้ขโมยพลังของพระองค์ไป และให้ยืมเทพแห่งบรรยากาศไป จากนั้นพระศิวะ ที่มีความเกี่ยวข้องกับพระรุทระ ก็ได้ขโมยลักษณะอื่นๆของพระองค์ไป เช่น ผู้ฆ่าปิศาจเชื้อโรค บางครั้งพระอัคนีก็เป็นฤษี บางครั้งก็เป็นดวงดาว และเป็นพระมรุต บ่อยครั้งในช่วงปลาย พระองค์มีสัญลักษณ์เป็นมนุษย์ มี 4 กร ฉลองพระองค์สีดำ พระองค์จะถือหอกไฟ และประทับรถม้า ซึ่งมีลมทั้ง 7 เป็นล้อ ม้าสีแดงเป็นตัวขับเคลื่อน บางครั้งก็เป็นพระรุทระ และถือว่าโอรสทั้ง 49 องค์นั้นเป็นพระมรุต
พระอัคนียังเป็นเทพผู้รักษาทิศตะวันออกเฉียงใต้ด้วย พระองค์ทรงดำรงอยู่ทั้ง 3 แดน คือ เป็นไฟบนโลก สายฟ้าในชั้นบรรยากาศ และดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า พระองค์ยังเป็นพระตรีมูรติร่วมกับ พระสูรยาทิตย์ และพระอินทร์ด้วย ต่อมากล่าวกันว่าได้รวมพระองค์เข้ากับพระศิวะ ในความเชื่อของชาวฮินดู และเป็นพระบิดาของพระกรรตติเกยะ กับพระแม่คงคา
ใน คัมภีร์ฤคเวท พระเศียรของพระอัคนีจะลุกเป็นไฟ มี 3 เศียร และมีลำแสง 7 ลำ มี 3 ชิวหา 4 เขา 3 พระบาท และ 7 พระกร บ้างก็ว่าพระองค์มีพระเศียรโดยรอบ บ้างก็ว่าทรงไม่มีพระบาทและพระเศียร
ใน มหาภารตะ พระองค์เป็นบุตรของ พระอนิล (Anila) เจ้าแห่งลม มีพระชิวหาแดง 7 ชิวหา พระพักตร์ 7 พักตร์ พระโอษฐ์ใหญ่ พระศอแดง พระเนตรสีน้ำตาลปนเหลือง พระเกศาเงางาม และน้ำเชื้อสีทอง ทรงเป็นผู้ปัดเป่าองค์แรกที่พระพรหมสร้างขึ้น บ้างก็ว่าพระองค์มีเครา พระกร 4 กร เขี้ยว 4 เขี้ยว พระเนตร 3 ดวง ทรงประทับรถพระที่นั่งโดยมีนกแก้ว 4 ตัว เทียมไปในอากาศ มีครุฑตัวเมียคือ นางสวาหะ พระมเหสีประทับบนตักเบื้องซ้าย เทพศาสตราวุธของพระองค์ คือเปลวไฟ ตรีศูล และ ลูกประคำ
การบูชาพระอัคคี เทพแห่งเปลวเพลิง
ชาวฮินดูโบราณเคารพนับถือ พระอัคคี หรือ พระอัคนี หรือ พระเพลิง เป็นเทพแห่งการเผาผลาญ การบวงสรวงกราบไหว้บูชาพระอัคคีจะประสบความสำเร็จ ชีวิตมีแต่ความโชติช่วงชัชวาล มีแต่ความรุ่งโรจน์ ปัญหาต่างๆที่สะสมก็จะถูกเผาผลาญให้สิ้นไปด้วยอำนาจแห่งพระอัคคี หรือพระเพลิง
อานุภาพของพระอัคคีหรือพระเพลิงนี้มีมหาศาล พระองค์ประทานฤทธิ์บารมี อำนาจเพิ่มพูน ประทานยศศักดิ์ยากที่ใครจะราวีได้
ของบูชาพระอัคคี
ก็เช่นเดียวกับการบูชาเทพทุกพระองค์ นั่นคือ สามารถถวายน้ำ นม ดอกไม้ ผลไม้ ขนมหวาน
ดอกไม้ให้เน้นสีเหลือง สีแดง อันเป็นสีแห่งเปลวไฟ
เทพองค์อื่นๆ หากไม่สะดวกจุดเทียน ไม่จุดไฟ ก็ไม่เป็นไร แต่สำหรับการไหว้เทพอัคนี จะต้องจุดไฟ ใช้ได้ทั้งไฟตะเกียง ไฟเทียน ไฟประทีป ไฟการบูร ฯลฯ จุดให้สว่างตลอดเวลาที่ทำการสวดบูชาและขอพร
คาถาบูชาพระอัคนี
บทนมัสการแบบสั้น
โอม อัคคี ราชะ นะโม นะมะ
บทสรรเสริญ
โอม มหาจะวัลยา วิทมาเห
อัคนี เทวายะ ทิมาฮี
ตันโน อัคนี ประโจทะยาต
บทสรรเสริญ
โอม พระอัคคีราชะ อุปาทะวะตายะ
ขัคคะพาหะนายะ อาคะเณยยะ ทิสะฐิตายะ
อาคัจฉันตุ ภุญชะตุ ขิปปะยะตุ วิปปะยะตุ สะวาหะ สะวาหายะ
สัพพะอุปาทะวะ วินาสายะ สัพพะอันตะรายะ วินาสายะ
สุขขะวัฑฒโก โหตุ อายุ วัณณะสุขะ พะลัง
อัมหากัง รักขะตุ อัคคีเทวะตา สวาหะ สะวาหายะ
บทสรรเสริญ
โอม อาคเณย ยะทิสะ อัคคีนะ เทวะตา
สะหะคะณะ ปะริวารายะ อาคัจฉันตุ
ปริภุญชะตุ สะวาหะ สวาหายะ
โอม สัพพะอุปาทะวะ สัพพะทุกขะ
สัพพะโรคะ สัพพะภะยะ สัพพะปัททะวะ วินาสายะ
สัพพะศัตรู ปะมุจจันติ
โอม อัคคีนะทะเทวะตา สะหักขันตุ
สะวาหะ สะวาหะ สะวาหะ
ที่มา : siamganesh
หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย