ภาพยนตร์ไทย..สะท้อน..หรือ..ชี้นำสังคม

ภาพยนตร์ไทย 'สะท้อน' หรือ 'ชี้นำสังคม'

          คนที่จะดีหรือเลวนั้น ขึ้นอยู่กับมโนสำนึกภายในจิตใจ คนที่มีจิตใจต่ำช้าไปอยู่ในหมู่คนดี ก็ยังเป็นคนไม่ดีอยู่วันยันค่ำ

          มนุษย์ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาพร้อมกับความเห็นแก่ตัว ความชั่ว โดยเริ่มมาจากยีน (gene) ในร่างกาย ที่เป็นยีนชั่ว ทุกวันนี้คนเราตัดสินกันที่ความแข็งแกร่ง ใครแข็งแรงกว่า รวยกว่า จะอยู่รอด และคนที่อยู่รอดก็มักไม่ใช่คนดี ความยุติธรรมไม่มีอยู่จริง เป็นสิ่งที่เราต้องสร้างขึ้นเอง

          ข้อความที่ได้กล่าวข้างต้น มาจากภาพยนตร์สองเรื่อง สองผู้กำกับ คือ ภาพยนตร์เรื่อง 'นาคปรก' โดย ภวัต พนังคศิริ และภาพยนตร์เรื่อง 'ฝนตกขึ้นฟ้า' โดย เป็นเอก รัตนเรือง

          ภาพยนตร์สองเรื่องนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงการวนเวียนอยู่กับด้านมืดของมนุษย์ เป็น 'สังคมที่มืดมน มีแต่คนจมจมกับกิเลส' โดยเสนอผ่านตัวแสดงที่ไม่มีใครดีร้อยเปอร์เซ็นต์ และกำลังเกิดความสับสนกับสิ่งที่ตนเผชิญอยู่ การตกอยู่ภายใต้อำนาจของจิตใจที่ดำดิ่งสู่ก้นลึก มีเพียงตัวเราเท่านั้นที่จะเข้าถึง ทำให้สามารถเชื่อมโยงเรื่องราวให้เกี่ยวข้องกับศรัทธา และความเชื่อทางศาสนาได้

          ถ้าพูดถึงสังคมไทย ทุกคนคงคิดเหมือนกันว่าคนไทยเป็นพุทธศาสนิกชน มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ในปัจจุบันคนไทยบางคนเริ่มไม่มีความเชื่อมั่นในการที่จะนับถือศาสนา เพราะเกิดความไม่เชื่อว่าศาสนาจะสามารถช่วยอะไรได้ เราพบว่าคนไทยเริ่มมีการเปลี่ยนไปถือศาสนาอื่น แต่ที่แย่กว่านั้นคือบางคนเลือกที่จะไม่นับถือศาสนาใดเลยด้วยซ้ำ

          พุทธศาสนาสอนให้คนเป็นคนดีได้จริงหรือ การเสนอมุมมองด้านมืดของศาสนา การสร้างปมและชี้ให้เห็นถึงเบื้องลึกในจิตใจมนุษย์ผ่านทางภาพยนตร์ เป็นการสะท้อนสภาพปัญหา หรือเป็นการชี้นำสังคมกันแน่

          อาจารย์วาจวิมล เดชเกตุ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนี้เข้าจี้จุดผู้ชมด้วยการคาบเกี่ยวเนื้อเรื่องในภาพยนตร์กับศาสนาเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีฉากประกอบคือ 'วัด' ศาสนสถานที่คนส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ การสร้างตัวละครที่มีทั้งดีและเลว โดยผูกปมเรื่องของตัวแสดงเหล่านี้ สร้างเรื่องกระตุ้นให้คนดูได้คิด โดยอาจจะให้คนดูตั้งคำถามในใจว่า ตัวแสดงแต่ละตัวนี้ เป็นคนไม่ดีโดยกมลสันดานจริงหรือการนำเสนอมุมมองของตัวแสดงบางตัวที่อยากหลุดพ้นจากความชั่ว แต่มีไม่กี่คนที่สามารถหลุดพ้นไปได้

          คนเรามักมีสองขั้วเสมอ มีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง เมื่อมีดีก็ต้องมีเลว และเราในฐานะพุทธศาสนิกชน ควรเลือกกระทำ หรือประพฤติตนแบบไหนให้อยู่บนความเหมาะสม โดยให้เราเป็นตัวตั้งทางความคิด พิจารณาไตร่ตรอง และเปิดใจให้กว้างในการชมภาพยนตร์

          คนไทยส่วนใหญ่ มีความคาดหวังและมักชอบตั้งคำถามไว้มากมาย หลังจากที่ชมภาพยนตร์จบ สิ่งที่คาดหวังคงไม่พ้นผลกระทบ ว่าดูแล้วได้อะไรจากภาพยนตร์ เป็นประโยชน์หรือโทษต่อตัวเราและสังคม

          สิ่งแรกไม่อยากให้เกิดความหวังว่าภาพยนตร์จะเข้าไปช่วยผลักดัน หรือยกระดับคนในสังคมให้มีจิตสำนึกที่ดีขึ้น เพราะภาพยนตร์ไม่สามารถชี้นำ หรือสะท้อนความคิดของใครได้ทั้งหมด ต่อให้เราเอาคนร้อยคนมานั่งดู ก็ใช่ว่าจะมีความรู้สึกนึกคิดเหมือนกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก แต่ถ้าภาพยนตร์เรื่องนั้นทำออกมา แล้วสามารถกลืนกินและเข้าไปอยู่ในใจคน สิ่งที่ภาพยนตร์ถ่ายทอดอาจกลายเป็นวิถี ที่นำไปสู่การตัดสินใจหรือสร้างจิตสำนึกให้คนได้เก็บเอาไปคิด

          อย่างน้อยภาพยนตร์ก็มีส่วนช่วยให้คนได้คิด มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความงามในจิตใจและวิจารณญาณของบุคคลนั้นๆ หากถามว่าคนไทยชอบดูภาพยนตร์นอกกระแสที่แสดงถึงปมปัญหา ยากจะเข้าใจหรือไม่นั้น เชื่อเลยว่าคนไทยมักมองข้ามภาพยนตร์เหล่านี้ ด้วยเหตุผลที่ดูแล้วไม่เกิดความบันเทิง ดูแล้วเกิดความรู้สึกสะเทือนใจ ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของคนในสังคมอีกด้วย

          อาจารย์วาจวิมล ยังได้ให้ความเห็นอีกว่า ขณะนี้เราต้องยอมรับ เพราะมันเป็นวิธีของผู้ผลิตที่จะทำภาพยนตร์ออกมาเพื่อให้ขายในตลาดต่างประเทศด้วย การทำภาพยนตร์ออกมาแล้วนำเสนอ สิ่งเล็กๆ จุดเล็กๆของประเทศไทย บางครั้งคนต่างประเทศอาจไม่รู้สึก แต่ถ้าเราดึงเอาเรื่องที่มันกระทบ สะท้อนปัญหาในสังคมที่น่าสนใจ แล้วไปกระแทกใจให้คนต่างชาติได้รู้สึกด้วย นั่นไม่ถือว่าเป็นการแสดงภาพลักษณ์ที่เสียหายของคนไทยเลย

          ในมุมมองกลับกัน คนที่ทำภาพยนตร์ไทยแนวสะท้อนปัญหาสังคม กล้วที่จะตีแผ่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้คนทั่วโลกได้รับรู้ ซึ่งจะเป็นการสะท้อน หรือชี้นำสังคม ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของผู้ชม หลังจากที่ได้รับชมภาพยนตร์ไปแล้ว ผู้ชมมีความรู้สึกอย่างไร จะมองในมุมไหน ก็สุดแล้วแต่จะคิดตามให้มากที่สุด เพราะการนำเสนอภาพยนตร์แนวนี้ จะเสนอทั้งในด้านลบและด้านบวกเพื่อความสมเหตุสมผล

          สุดท้ายแล้วการจบเรื่องราวของภาพยนตร์ด้วยบทสรุปที่ทำให้ผู้ชมเห็นว่า คนทำดีย่อมได้รับสิ่งดีๆกลับมา ส่วนคนชั่วย่อมต้องได้รับผลกรรมที่ตนเองก่อเอาไว้ และเป็นข้อคิดเตือนใจให้ใครหลายๆคน แต่ในเรื่องของความเป็นจริง การเลือกทางเดิน การใช้ความคิด หรือแม้กระทั่งการตัดสินใจ ผู้กำหนดและเลือกที่จะกระทำย่อมเกิดจากใจเราเองทั้งนั้น ดังคำที่ว่า "ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว"

          ไม่ว่าสื่อภาพยนตร์ สื่อโทรทัศน์ หรือสื่อใดๆก็ตาม เป็นเพียงแค่สิ่งที่ถ่ายทอดออกมาให้คนได้รับรู้ แต่ในทางปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับจิตใต้สำนึกของคนว่าจะ 'คิดดี ทำดี' หรือ 'คิดชั่ว ทำเลว'

 

โดย : journalism108

จาก : jr-rsu

ดวง / ฮวงจุ้ย
เบญจเพส หรือ วัยเบญจเพส เลขอายุที่ทุกคนเกรง 24 25 26 รู้แล้วป้องกัน ดีกว่าแก้ไขตอนที่เกิด ... อ่านต่อ
ตัวเลขเสริมบุคลิกภาพ เสริมเสน่ห์ให้ผู้หญิง ... อ่านต่อ
ตัวเลข 359 นักพัฒนาต่อยอดธุรกิจ ... อ่านต่อ
ดูดวง / ฮวงจุ้ย
ทายนิสัย จากลายมือการเขียนตัวเลข ... BY : หมอเมท ... อ่านต่อ
คาถาทวงหนี้ คาถาอีกาวิดน้ำ ใช้สำหรับคนยืมเงินแล้วไม่คืนหรือของหาย ... อ่านต่อ
ตากระตุก ตาเขม่น ลางสังหรณ์ที่บ่งบอกเรื่องราวอะไร? ... อ่านต่อ
 

 


 


 


 


 


 


 


 


 


 

หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย

бишкек эскорт

 

Copyright @2014 Horonumber.com All rights reserved.