ระบบการศึกษาไทย ความล้มเหลวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ระบบการศึกษาไทย

ความล้มเหลวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

          ข้อเขียนจากประสบการณ์ของอาจารย์ชาวต่างชาติ คาสซานดรา เจมส์ เขียนขึ้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2008 บริบท เหตุการณ์ นโยบายต่างๆในการวิจารณ์คือช่วงเวลานั้น นำเสนออีกครั้งผ่าน iReport ของเว็บไซต์ CNN (ซึ่งเป็นการนำเสนอบทความโดยบล็อกเกอร์บุคคลทั่วไป) เมื่อ 8 มิถุนายน 2013 ถ่ายทอดและสรุปเป็นภาษาไทยโดย New Culture 

          ระบบการศึกษาไทย คือหนึ่งในระบบการศึกษาที่ล้มเหลวที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตกต่ำลงทุกปี 

          ผู้เขียนสอนอยู่ในระบบการศึกษาไทยมากว่า 3 ปี และได้รับรู้ว่าแท้ที่จริงแล้วระบบการศึกษาในไทยนั้นย่ำแย่แค่ไหน เงินงบประมาณที่ถมลงไปไม่เคยพอ, ห้องเรียนขนาดใหญ่(นักเรียนมากกว่า 50 คนต่อห้อง) ผลิตและพัฒนาครูย่ำแย่, นักเรียนขาดแรงผลักดัน และระบบที่บังคับให้นักเรียนผ่านชั้นได้แม้ว่าพวกเขาจะสอบตก จนคล้ายว่าเราจะมองไม่เห็นความหวังต่อการเปลี่ยนแปลงในระยะอันใกล้นี้

          ผู้เขียนสอนในโรงเรียนเอกชนพหุภาษา ดังนั้นระดับความเข้มข้นของปัญหาจะน้อยกว่าโรงเรียนรัฐ แต่ถึงอย่างนั้น โรงเรียนของเราก็ต้องตกอยู่ภายใต้ระบบราชการอันเทอะทะของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานไร้ประสิทธิภาพจนน่าหัวร่อแห่งหนึ่งของโลก กฏระเบียบเปลี่ยนแปลงทุกภาคการศึกษา หลักสูตรการสอน, เนื้อหาแบบเรียน, ข้อสอบ ฯลฯ แนวทางปฏิบัติใหม่ๆถูกสั่งการมายังครูอาจารย์ทุกๆเปิดเทอมใหม่ แล้วก็เปลี่ยนใหม่อีกทีในภาคการศึกษาหน้า

          อาจารย์ได้รับคำสั่งให้ปล่อยนักเรียนผ่านชั้นไปได้ แม้ว่าพวกเขาจะสอบตก และให้ปิดตาข้างหนึ่งให้กับปัญหาที่เราควรจะซีเรียสอย่างการลอกการบ้านส่ง

          ทุกๆปี กระทรวงศึกษาธิการจะเกิดปิ๊งไอเดียสุดเลิศในการพัฒนาการศึกษา ไอเดียสุดเลิศในปีนี้(2008-ผู้แปล)คือการบังคับให้อาจารย์ชาวต่างชาติทุกคนไปอบรมคอร์สวัฒนธรรมไทย แม้ว่าอาจารย์ชาวต่างชาติจำนวนมากจะอยู่ที่นี่มาหลายปีและเข้าใจวัฒนธรรมไทยดี แต่เพื่อจะได้รับการต่ออายุใบอนุญาตเป็นอาจารย์ พวกเขาก็จำเป็นต้องเข้าคอร์สนี้ ค่าอบรมอยู่ในราคา 110$-300$ (ราวสามพันถึงเกือบหมื่น-ผู้แปล) ต้องจ่ายโดยตัวอาจารย์ผู้เข้าอบรมเอง อาจารย์ชาวต่างชาติหลายคนปฏิเสธที่จะจ่าย ผู้เขียนรู้จักอาจารย์ที่มีฝีมือมาก 2 ท่านตัดสินใจเปลี่ยนไปสอนที่ญี่ปุ่นและเกาหลีแทน ด้วยผลจากนโยบายนี้

          ประเทศอาเซียนอื่น อาจารย์ชาวต่างชาติได้รับเงินเดือนที่สูงกว่า และกระทรวงศึกษาธิการในประเทศเหล่านั้นมีแนวคิดที่ก้าวหน้ากว่า ประเทศไทยจึงประสบปัญหาในการที่จะดึงดูดและรักษาอาจารย์ชาวต่างชาติที่มีคุณภาพเอาไว้ การออกกฏเช่นนั้นมา จึงเป็นคล้ายดั่งใบสั่งให้พวกเขาจากไปสู่ประเทศอื่นๆ

          เป็นที่ทราบกันดีว่าองค์กรของรัฐหรือระบบราชการในแทบทุกประเทศทั่วโลกจะขึ้นชื่อเรื่องความไร้ประสิทธิภาพ แต่ถึงอย่างนั้น กระทรวงศึกษาธิการของไทย ก็ยังต้องจัดว่าไร้ประสิทธิภาพที่สุดที่ผู้เขียนได้เคยทำงานร่วมด้วยมา

          โรงเรียนล่าสุดที่ผู้เขียนมีโอกาสสอน อาจารย์สอนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนได้มาหาผู้เขียนเพื่อขอให้ช่วยแก้ไขแกรมมาร์ เนื่องจากอาจารย์ท่านนั้นถูกตำหนิอย่างรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ ตัวแทนของกระทรวงศึกษาธิการได้ต่อว่าอาจารย์ท่านนั้นอย่างหยาบคายว่า ไม่ดูแกรมมาร์ของเด็กๆบนการ์ดวันแม่ให้ถูกต้อง คำตำหนินี้มาจากองค์กรที่ส่งเอกสารมายังอาจารย์ต่างชาติทุกวัน โดยที่เอกสารราชการเหล่านั้นไม่มีสักประโยคที่เขียนแกรมมาร์ถูกต้องเลย ถึงขนาดที่บางอันหัวหน้าของผู้เขียนต้องโยนทิ้งถังขยะ เนื่องจากไม่สามารถอ่านได้เข้าใจเลย

          สังคมไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติทางศึกษา นักเรียนไทยไม่เคยต้องคิดอะไรเอง ไม่ได้รับการฝึกฝนทักษะ Critical Thinking (การคิดเชิงวิพากษ์เป็นเหตุเป็นผล) ในโรงเรียนรัฐ การมีนักเรียน 50 คนต่อห้องเป็นเรื่องปกติ เด็กครึ่งนึงหลับในชั้นเรียน ในขณะที่อาจารย์ไม่เคยสนใจว่าพวกเขาจะฟังหรือไม่ จำนวนหนังสือมีจำกัด อุปกรณ์การทดลองวิทยาศาสตร์ไม่เคยปรากฏให้เห็นในบางโรงเรียน อาจารย์ต่างชาติเป็นเหมือนเศษเกินที่มีแค่ให้พอมี

          ในขณะที่โรงเรียนไม่สามารถจ่ายได้เกิน 750$ (ราว 23,000 บาท-ผู้แปล) จึงได้คุณภาพเท่าที่จ่าย (และคนที่เรียกว่า"อาจารย์"จำนวนมากนี้ เป็นเพียงชายแก่ที่ไม่มีปริญญาการสอนใดๆ มาที่นี่เพราะหญิงไทย และลงเอยด้วยการเป็นอาจารย์สอนภาษา เพราะเป็นงานเพียงไม่กี่อย่างที่อนุญาตให้ชาวต่างชาติทำ)

          สถานการณ์การศึกษาในเวียดนาม มาเลเซีย เกาหลีหรือจีน กำลังพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ขณะที่ไทยถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง รัฐยังเสียเวลาไปกับการออกกฏที่น่าขัน แทนที่จะแก้ไขสิ่งที่เป็นปัญหาจริงๆ 

          อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงต่างๆในสังคมไทยนั้นเป็นไปอย่างเชื่องช้า สังคมไทยนั้นคือสังคมแห่งการรักษาหน้าตาในทุกๆด้าน ภาพลักษณ์คือทุกสิ่ง และตราบใดที่ภาพลักษณ์ภายนอกของเด็กยังสำคัญกว่าความรู้ที่อยู่ข้างในสมองของพวกเขา ระบบการศึกษาไทยก็จะยังเผชิญกับปัญหาอยู่ต่อไป และร่วงหล่นอยู่ท่ามกลางการแข่งขันของโลก

          แต่ใครสนกันล่ะ? ขอเพียงเด็กๆดูน่ารักน่าชัง เข้าแถวตรงเดินพาเหรดในชุดเครื่องแบบเรียบร้อย ถึงจะพูดประโยคภาษาอังกฤษได้ไม่เกินเกิน 20 คำและภาษาไทยเองก็ไม่ได้เก่งไปกว่ากันก็ตาม

 

บทความ : CNN iReport 

ที่มา : New Culture 

ระบบการศึกษาไทย, การศึกษาไทย, ความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทย, อาเซียน, ระบบการศึกษาที่ล้มเหลวที่สุด, iReport, CNN, New Culture, บทความ, ระบบการศึกษาไทย, การศึกษาไทย, ความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทย, อาเซียน, ระบบการศึกษาที่ล้มเหลวที่สุด, iReport, CNN, New Culture, บทความ, ระบบการศึกษาไทย, การศึกษาไทย, ความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทย, อาเซียน, ระบบการศึกษาที่ล้มเหลวที่สุด, iReport, CNN, New Culture, บทความ

 

ดวง / ฮวงจุ้ย
เบญจเพส หรือ วัยเบญจเพส เลขอายุที่ทุกคนเกรง 24 25 26 รู้แล้วป้องกัน ดีกว่าแก้ไขตอนที่เกิด ... อ่านต่อ
ตัวเลขเสริมบุคลิกภาพ เสริมเสน่ห์ให้ผู้หญิง ... อ่านต่อ
ตัวเลข 359 นักพัฒนาต่อยอดธุรกิจ ... อ่านต่อ
ดูดวง / ฮวงจุ้ย
ทายนิสัย จากลายมือการเขียนตัวเลข ... BY : หมอเมท ... อ่านต่อ
คาถาทวงหนี้ คาถาอีกาวิดน้ำ ใช้สำหรับคนยืมเงินแล้วไม่คืนหรือของหาย ... อ่านต่อ
ตากระตุก ตาเขม่น ลางสังหรณ์ที่บ่งบอกเรื่องราวอะไร? ... อ่านต่อ
 

 


 


 


 


 


 


 


 


 


 

หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย

бишкек эскорт

 

Copyright @2014 Horonumber.com All rights reserved.