ทำไม?!?...อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป
คุยกับ "ประกิต กอบกิจวัฒนา"
ทำไม "อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป"
 
          "อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป" เป็นแฟนเพจแรก ๆ ในเฟซบุ๊กที่เสียดสีสังคมโดยเสนอผ่านงานศิลปะ โดยเริ่มต้นเผยแพร่ตั้งแต่ปี 2553 "ประกิต กอบกิจวัฒนา" ศิลปินเจ้าของผลงานบอกว่า แนวคิดของเขาเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่ราชประสงค์
 
          "ปี 53 มีคนตายมากมาย เสร็จแล้วเขาก็ทำบิ๊กคลีนนิ่ง แล้วก็จะเซลต่อ เรารู้สึกว่าเราไม่มีอินสไปเรชั่นที่จะกลับไปเขียนรูปแบบเดิม และเราสงสัยว่าสิ่งที่อยู่ตรงหน้าไม่ได้ทำให้คนเราตั้งคำถามบ้างเหรอว่าบ้านเมืองเกิดอะไรขึ้น ลืมกันได้ง่ายๆ อย่างนี้เลยหรอ จุดมุ่งหมายแค่ต้องการให้คนหันกลับมาคิดกับชีวิตสักนิดหนึ่งว่าสังคมที่เราอยู่มันเป็นยังไง เราจะอยู่กันไปแบบฉาบฉวย ป๊อปๆ แบบนี้เหรอ แต่คนจะคิดได้บ้างคิดไม่ได้บ้างก็แล้วแต่ เป็นสิทธิ์ของเขา"
 
 
ทำไม "อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป" คำว่าเมืองดัดจริตครอบคลุมเมืองไหนบ้าง?
 
          "ตอนแรกคิดว่าแค่กรุงเทพฯนี่แหละ เพราะกรุงเทพฯมันคือทุกอย่างของประเทศไทย คุณจะเรียกร้องสิทธิทางการเมืองหรือเรียกร้องอะไรก็ต้องมากรุงเทพฯ มันเป็นศูนย์กลางอำนาจ ศูนย์กลางการบริโภค เป็นศูนย์กลางของทุกเรื่อง แต่ว่าตอนนี้เมืองใหญ่ ๆ หลายที่ก็เริ่มจะเป็นกรุงเทพฯแล้ว เพราะคนกรุงเทพฯเข้าไปใช้ชีวิตที่ไหนคุณก็เอาวัฒนธรรมแบบกรุงเทพฯติดตัวไปด้วย กรุงเทพฯเป็นแม่แบบของการพัฒนาเมืองอื่น ๆ ทุกคนมองว่าถ้าเจริญก็ต้องมีแพทเทิร์นเดียวกับกรุงเทพ
 
          ที่ว่า ‘เมืองดัดจริต' มันมาจากความปากว่าตาขยิบและการบริโภคด่วน ๆ ของคนเมือง มีหนังสือเกี่ยวกับศาสนาเต็มไปหมด มันเป็นศาสนาสำหรับการบริโภค รวมทั้งหนังสือพวกฮาวทู หรืออะไรต่าง ๆ มันออกมาเพื่อตอบสนองการบริโภคทั้งหมดเวลาคุณทำบุญ คุณทำเพราะอยากรวย อยากให้ชาติหน้าเกิดมารวยอีก
 
          ในขณะที่คนเขามาเรียกร้องสิทธิ์ คุณคิดว่าเป็นการรังควานการทำมาหากินของคุณ คนเมืองเราไม่ได้มองอะไรที่มันลึกซึ้งไปกว่านั้น เราไม่ได้มองมิติการกระจายอำนาจ การจัดสรรทรัพยากร เรามองแค่การบริโภครอบ ๆ ตัวเรา ผมคิดว่ามีอะไรหลายอย่างที่ลักลั่นย้อนแย้งกันในสังคม เป็นจริตอะไรบางอย่างของคนเมือง
 
          คุณจัดงานรักษ์โลกในห้าง แล้วคุณเรียกร้องให้คนต่างจังหวัดอย่าฟุ่มเฟือย ทั้ง ๆ ที่คุณกินทรัพยากรของเขามา คนเมืองไม่กลับมารีเช็คตัวเอง และเป็นคนที่เห็นแก่ตัวมาก ๆ เราไม่คิดว่าการที่เราจะอยู่ในสังคมได้อย่างยั่งยืน เราต้องเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาของมัน เรามองแยกส่วนไม่ได้
 
          ส่วน ‘ชีวิตต้องป๊อป' มันมาจากความป๊อปปูลาร์ อะไรที่มันป๊อปก็แห่ตามกันไป ชอบทำอะไรซ้ำๆ กัน อย่างที่ผมได้เสียดสีไว้ในงานชุดประชาธิปไตยสำเร็จรูป คนดีสำเร็จรูป ที่เป็นกระป๋อง มันจะมีรูปแบบซ้ำๆ ว่าคนดีต้องเป็นแบบนี้ มียูนิฟอร์มแบบนี้ มีวิธีพูดแบบนี้" ประกิตอธิบาย
 
 
คิดว่าม็อบนกหวีดเป็นผลผลิตของ "ชีวิตต้องป๊อป" ด้วยไหม?
 
          "มันแยกเป็นสองส่วน ในเรื่องแรกตอนที่ต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ผมเคารพความเห็นเขานะ มันเป็นความชอบธรรม และเป็นเรื่องดีที่ภาคประชาชนอกมากดดันไม่ให้รัฐบาลทำอะไรที่ไม่เห็นหัวประชาชน ผมว่ามันเป็นเรื่องน่าชื่นชม รัฐบาลก็มีส่วนผิดในการทำเรื่องนี้ แต่หลังจากนั้นก็ต้องว่ากันไปเป็นเรื่อง ๆ ไป ส่วนรูปแบบการนำเสนอ การใช้สัญลักษณ์ พูดตามความจริงผมว่าป๊อป และเขาก็เก่งมากที่ทำให้แคมเปญใหญ่ขนาดนี้ประสบความสำเร็จ"
 
          ระหว่างเวลา 4 ปี ที่เสนองานศิลปะของเขาออกไปสร้างพื้นที่ชวนคิดให้คนเข้ามามีส่วนร่วมในการวิพากษ์ถกเถียงนั้น ประกิตได้ศึกษาเรียนรู้พฤติกรรมผู้คนที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความเห็นไปด้วย จนเขาได้ข้อสรุปว่าสังคมในโซเชียลเน็ตเวิร์กและสังคมจริงนั้นแทบไม่ต่างกัน
 
          "สังคมจริง-สังคมโซเชียลมีเดียมันเหมือนกันโซเชียลเน็ตเวิร์กสะท้อนตัวตนจริงสังคมเมืองเป็นสังคมบริโภคนิยมบริโภคทุกเรื่องและ บริโภคแบบด่วน ๆ สั้น ๆ ไม่คิดอะไรยาว ๆ เช่น เรื่องหนังสือศาสนา พวกหนังสือธรรมะปลอบใจ หรือ ฮาว ทู แฮปปิเนส มันคือสิ่งที่มาตอบสนองความทุกข์ของคนที่ต้องการบำบัดอย่างรวดเร็ว ในหนังสือเป็นคำโคว้ทซะเยอะ ซึ่งไม่ค่อยต่างจากในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก
 
          อย่างที่ว่าทำไมคนไทยใช้ไลน์ ใช้เฟซบุ๊กมาก ผมไม่ค่อยแปลกใจ เพราะคนไทยนิสัยช่างพูด ช่างคุย ขี้เมาท์ ผมคิดว่าโซเชียลเน็ตเวิร์คตอบชีวิตคนไทยมาก ๆ ในขณะที่ฝรั่งถ้ามีเวลาว่างเขาจะอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ หรือทำอะไรที่มันจริงจังกับชีวิตมากกว่านี้ สรุปแล้วผมคิดว่าโลกความจริงกับโลกเสมือนจริงมีความใกล้เคียงกัน เพียงแต่ในโซเชียลเน็ตเวิร์กคนกล้าวิพากษ์มากขึ้น แต่ลักษณะการถกเถียงยังใกล้เคียงกับโลกจริง เช่นการด่ากันไปมา เราก็เห็นในชีวิตจริง" เขาว่า
 
 
เพราะสังคมไทยไม่ชอบการเผชิญหน้า ?
 
          "เมืองไทยไม่มีวัฒนธรรมแบบนี้มาตั้งแต่แรก ผมคิดว่าเรื่องนี้ต้องปลูกฝังสั่งสมนาน อย่างในตะวันตกมีวัฒนธรรมแบบนี้มาตั้งแต่ยุคกรีกโรมัน เขาพัฒนามาแบบนั้นเป็นพัน ๆ ปี แต่การพัฒนาของสังคมไทยไม่ได้มาทางนั้น ของเราเป็นวัฒนธรรมอีกแบบ สังคมไทยไม่กล้าพูดกันซึ่ง ๆ หน้า เรามีวัฒนธรรมห้ามเถียงผู้ใหญ่ ห้ามมีความคิดเห็น ในขณะที่สังคมโซเชียลไม่มีกฎนั้นสามารถใส่ได้เต็มที่ เพราะฉะนั้นโลกการมองไม่เห็นตัวจริงหรือเปิดให้เห็นตัวตนเพียงบางส่วนมันตอบคนไทย"
 
4 ปี สังคมตรงนี้เปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน ?
 
          "คิดว่าเปลี่ยนแปลงทั้งคนติดตามและคนทำเพจเอง ความเป็นศิลปะก้าวหน้าไปเยอะ การเล่าเรื่องผ่านศิลปะอย่างน้อยก็สร้างแรงดึงดูด และทำให้ข้อมูลที่เราอยากจะเล่าน่าสนใจขึ้น และเป็นแนวทางที่ให้คนทำเพจรุ่นใหม่ ๆ ใส่ใจการสร้างสรรค์ ไม่ใช่ว่าอยากจะให้ข้อมูลเฉย ๆ แต่มันต้องมีความงามเข้าไปรับใช้มันด้วย
 
          ส่วนเรื่องสิทธิเสรีภาพก็ก้าวหน้า เวลา 4 ปีมันมาได้ไกลกว่าที่ผมคิดไว้เยอะ ผมไม่รู้ว่ามันจะไปไกลแค่ไหน รู้แต่ว่าสังคมแบบนี้มีแต่จะเดินหน้าด้วยตัวมันเอง ผลสุดท้ายแล้วหมุดหมายปลายทางของมันคือประชาธิปไตย และมันก็จะสามารถเดินไปถึงจริงๆ แต่ไม่รู้ว่าใช้เวลาเท่าไหร่ โลกของโซเชียลเน็ตเวิร์กและโลกของการแสดงความคิดเห็น ไม่มีใครคอนโทรลมันได้"


ที่มา : http://www.sanook.com/ 
ประกิต กอบวัฒนา, อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป, เมืองดัดจริต, กรุงเทพฯ, เสียดสีสังคม, กระแสสังคม, งานศิลปะ, เฟซบุ๊ก, แรงบันดาลใจ, ชีวิตต้องป๊อป, ประกิต กอบวัฒนา, อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป, เมืองดัดจริต, กรุงเทพฯ, เสียดสีสังคม, กระแสสังคม, งานศิลปะ, เฟซบุ๊ก, แรงบันดาลใจ, ชีวิตต้องป๊อป, ประกิต กอบวัฒนา, อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป, เมืองดัดจริต, กรุงเทพฯ, เสียดสีสังคม, กระแสสังคม, งานศิลปะ, เฟซบุ๊ก, แรงบันดาลใจ, ชีวิตต้องป๊อป
 
ดวง / ฮวงจุ้ย
เบญจเพส หรือ วัยเบญจเพส เลขอายุที่ทุกคนเกรง 24 25 26 รู้แล้วป้องกัน ดีกว่าแก้ไขตอนที่เกิด ... อ่านต่อ
ตัวเลขเสริมบุคลิกภาพ เสริมเสน่ห์ให้ผู้หญิง ... อ่านต่อ
ตัวเลข 359 นักพัฒนาต่อยอดธุรกิจ ... อ่านต่อ
ดูดวง / ฮวงจุ้ย
ทายนิสัย จากลายมือการเขียนตัวเลข ... BY : หมอเมท ... อ่านต่อ
คาถาทวงหนี้ คาถาอีกาวิดน้ำ ใช้สำหรับคนยืมเงินแล้วไม่คืนหรือของหาย ... อ่านต่อ
ตากระตุก ตาเขม่น ลางสังหรณ์ที่บ่งบอกเรื่องราวอะไร? ... อ่านต่อ
 

 


 


 


 


 


 


 


 


 


 

หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย

бишкек эскорт

 

Copyright @2014 Horonumber.com All rights reserved.