ใกล้ปลายปี มาวางแผนภาษีกัน

  

ใกล้ปลายปี มาวางแผนภาษีกัน

          อีกไม่นานปีเก่าก็จะผ่านไปแล้ว ผู้อ่านท่านใดที่วางแผนจะทำอะไรไว้ตอนต้นปี แล้วยังไม่ได้ลงมือ จะเริ่มลงมือวันนี้ก็ยังไม่สายนะคะ มีเรื่องหนึ่งที่อยากจะย้ำกันตั้งแต่เนิ่น ๆ นั่นคือ การวางแผนภาษี !!! .. การเสียภาษี เป็นหน้าที่ของทุกคนที่มีรายได้ แต่อีกด้านหนึ่งของเหรียญ ทุก ๆ คนที่เสียภาษีก็ได้รับสิทธิ์ที่จะลดหย่อนภาษีที่จะต้องเสียด้วยเช่นกัน ที่นี้มาดูกันว่าสิทธิ์ลดหย่อนดังกล่าวมีอะไรกันบ้าง


          - สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ : เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น สามารถนำมาลดหย่อนได้ตามเงื่อนไข และมากสุดถึง 500,000 บาทต่อปี

          - เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF) : สามารถนำลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุน กบข. (ถ้ามี) ที่จ่ายเข้ากองทุนในปีนั้นแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

          - เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund : LTF) : สามารถนำลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท

          - เบี้ยประกันชีวิต : เบี้ยประกันชีวิตส่วนส่วนหักได้ 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท หักได้ไม่เกินเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ตามเงื่อนไขและการประกันชีวิตนั้นได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร

          - เงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม : ตามจำนวนที่จ่ายจริง

          - การลดหย่อนกรณีมีบุตร : ไม่ว่าจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมก็ตาม สามารถหักลดหย่อนได้คนละ 15,000 บาท แต่ได้ไม่เกิน 3 คน และอายุไม่เกิน 25 ปี หากยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษาเฉพาะภายในประเทศก็สามารถลดหย่อนเพื่อการศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท

          - ค่าลดหย่อนบิดามารดา : บิดามารดาจะต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ลูกสามารถใช้สิทธิการลดหย่อนภาษีได้ 30,000 บาท ทั้งนี้ บิดามารดาจะต้องออกหนังสือรับรองด้วยว่าบุตรคนใดคนหนึ่งเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูเพียงคนเดียว

          - ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม : ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

          - เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา : สามารถหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

          - เงินบริจาค : สามารถนำเงินบริจาคที่ให้แก่การกุศลสาธารณะมาหักลดหย่อนได้ โดยหักได้เท่าจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ แล้ว

          ** ทั้งนี้ หากท่านผู้อ่านจะใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีกรณีใดๆ ข้างต้น ก็อย่าลืมศึกษาเงื่อนไขในการใช้สิทธิ์ลดหย่อนกรณีต่าง ๆ เพิ่มเติมด้วยนะคะ

ที่มา : MThai

  

บทความที่เกี่ยวข้อง
ครม. ไฟเขียวเที่ยวไทย ลดภาษีได้ 100% ... อ่านต่อ
เตือน!! รถขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี ระงับทะเบียนทันที ... อ่านต่อ
คลิปทหารก็มีหัวใจ หลังถูกด่าเปลืองภาษี ... อ่านต่อ
ดูดวง / ฮวงจุ้ย
ทายนิสัย จากลายมือการเขียนตัวเลข ... BY : หมอเมท ... อ่านต่อ
คาถาทวงหนี้ คาถาอีกาวิดน้ำ ใช้สำหรับคนยืมเงินแล้วไม่คืนหรือของหาย ... อ่านต่อ
ตากระตุก ตาเขม่น ลางสังหรณ์ที่บ่งบอกเรื่องราวอะไร? ... อ่านต่อ
 

 


 


 


 


 


 


 


 


 


 

หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย

бишкек эскорт

 

Copyright @2014 Horonumber.com All rights reserved.