โนติส คืออะไร?

โนติส คืออะไร?

          โนติส คืออะไร? เคยได้ยินข่าวดาราหลายคนพูดถึงการยื่นโนติส แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้พร้อมตัวอย่างแล้วจ้า

 

          โนติส เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษที่เรายืมเขามาแล้วพูดทับศัพท์กันครับ ในภาษาในทางกฎหมายหมายแล้ว โนตีส เป็นหนังสือบอกกล่าวหรือทวงถามล่วงหน้าให้ลูกหนี้แห่งสิทธิปฏิบัติตามสิทธิที่กฎหมายหมายรับรองคุ้มครองให้ โดยในโนตีสจะกำหนดระยะเวลาไว้ให้ปฏิบัติตามแน่นอน อาจจะเป็น 7 วัน 15 วัน หรือ 1 เดือนเป็นต้น โนตีสที่เราเห็นบ่อยๆ ก็คงเป็นเรื่องการขอให้ชำระหนี้นั้นเอง 

          ทำไมต้องมีหนังสือทวงถาม(โนติส) จริงๆแล้วในการจะเสนอคดีต่อศาล ต้องมีการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ในบ้างกรณีโดยสภาพแห่งข้อหาแล้ว การโต้แย้งสิทธิ์อาจไม่ชัดเจนเพียงพอ หรือบางกรณีมีกฎหมายบังคับไว้ว่าต้องมีหนังสือบอกกล่าวหรือทวงถามก่อนถึงจะฟ้องได้ จึงอาจกล่าวได้ว่าโนตีสเป็นเงื่อนไขหนึ่งของอำนาจฟ้อง อย่างไรก็ตามใช่ว่าทุกคดีต้องยื่นโนตีสเสมอไป เช่นกรณีการโต้แย้งสิทธิที่ชัดแจ้งอยู่แล้วในคดีละเมิด เช่นขับรถชนผู้เสียหาย เป็นกรณีไม่ต้องยื่นโนตีสก็มีอำนาจฟ้องได้ แต่ในทางปฏิบัติเพื่อความเป็นธรรมหรือความชัดเจนทนายส่วนใหญ่จะยื่นโนติสก่อนเสนอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีกู้ยืม

          การยื่นโนตีสโดยไม่จ้างทนาย สามารถทำได้ครับไม่ต้องห้ามและยังเป็นการแสดงเจตนา ทำให้เกิดผลทางกฎหายครับด้วยครับ ตัวอย่างเช่น หนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้ในหนีที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ย่อมเกิดผลตามกฎหมาย เกิดอำนาจฟ้องได้(แต่อย่างลืมว่าถ้ามีบทบัญญัติบังคับไว้เช่นต้องบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือนถึงจะฟ้องได้ก็ต้องเป็นไปตามนั้น) 

          หากลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว เราก็หามีสิทธิบังคับเขาโดยพลการได้ไม่ เราต้องดำเนินการตามขั้นตอนของบทบัญญัติของกฎหมายกล่าวคือเสนอคดีต่อศาล ให้ศาลตัดสินชี้ขาด แล้วบังคับคดีตามนั้นครับ

 

แนะนำการเขียนหนังสือบอกกล่าวทวงถาม


            หนังสือทวงถามนั้นผมขอแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆครับ

            ส่วนที่ 1 หัวกระดาษด้านบนสุด มี 3 องค์ประกอบดังนี้

            1. ส่วนที่อยู่มุมขวาของกระดาษที่เราต้องเริ่มเขียนก่อน เป็นเรื่องสถานที่ที่ทำหนังสือบอกกล่าวทวงถามโดยเริ่มด้วยคำว่า “ทำที่ … “ ซึ่งจะเขียน 2 – 3 บรรทัดก็ได้ครับ เพียงจัดสัดส่วนหน้ากระดาษให้เหมาะสม

            2. ส่วนวันที่ เป็นวันที่ที่ทำหนังสือโดยวางไว้กลางหน้ากระดาษในบรรทัดต่อจากส่วน”ทำที่”

            3. ส่วนของเรื่อง เรียนและอ้างถึง วางไว้ทางซ้ายในบรรทัดถัดลงมาจากวันที่ครับ โดยส่วนนี้เราจะเขียน”เรื่อง”ก่อน ต่อมาเขียนส่วนของ”เรียน”ในบรรทัดถัดลงมา และส่วน”อ้างถึง”เขียนเป็นลำดับสุดท้ายซึ่งแต่ละส่วนอาจมีรายละเอียดในการเขียนบ้างดังนี้

         3.1 เรื่อง เราดูว่าคำถามให้เราทำหนังสือเพื่ออะไร เช่น บังคับชำระหนี้ก็ใช้ว่า “ให้ชำระหนี้” ถ้าเป็นการบังคับจำนองก็ใช้คำว่า “ให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนอง” เพราะบังคับจำนองหรือจำนำเราก็ยังคงต้องการที่จะขอให้ชำระหนี้เป็นเงินด้วย

         3.2 เรียน เราดูว่าเรียนถึงใครถ้าเป็นบุคคลธรรมดาเราก็ใส่นาย นาง นางสาว แล้วตามด้วยชื่อนามสกุลไปเลย แต่หากเรียนถึงนิติบุคคลก็เรียนถึง กรรมการผู้จัดการของบริษัท… หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการของห้าง… ครับ และที่ควรระมัดระวังอย่างยิ่งก็คือ ถ้ามีหลายคนเราจะต้องเขียนบรรทัดละคนและจัดเรียงด้านหน้าให้ชื่อวางในแนวเสมอกันอย่าใส่ชื่อที่ 2 ล้ำเข้าไปอยู่แนวเดียวกับคำว่า “เรียน”

         3.3 อ้างถึง ก็จะเป็นเอกสารที่ต้องอ้างถึงครับ อันนี้ไม่แน่ใจว่าภาคทฤษฎีจะใส่หรือไม่ก็ดูคำถามเอาแล้วกันว่าคำถามให้อ้างหรือไม่ ส่วนตอนที่ผมสอบนั้นไม่ได้ให้อ้างเลยทั้งทฤษฎีและปฏิบัติครับส่วนนี้เลยไม่ค่อยได้ใช้ครับ ถ้าเอกสารนั้นเป็นสัญญาก็ให้ใช้ว่า “สัญญา … ลงวันที่ … “ ถ้าเป็นโฉนดที่ดิน “โฉนดที่ดินเลขที่ … เลขที่ดิน … อยู่ที่ … “ ครับ

 

           ส่วนที่ 2 รายละเอียด มี 3 องค์ประกอบดังนี้

 

 

           1. ความสัมพันธ์ โดยส่วนนี้เราจะเริ่มด้วยคำว่า “ตามที่ท่าน … “ แต่กรณีหลายคนให้ใช้ชื่อแทนลงไปเลยก็ได้ ถ้าหากเป็นนิติบุคคลก็ใช้ว่า “ห้างท่านหรือบริษัทท่าน” แทนแล้วแต่กรณีครับ

                เมื่อเราเริ่มต้นด้วย “ตามที่ท่าน” แล้วเราจะต้องเขียนรายละเอียดต่อครับ หลายคนก็คงมีคำถามว่าเขียนอะไรละ ซึ่งง่ายนิดเดียว(ยากเยอะ 555 คงไม่ใช่ละ)ผมมักจะใช้คำง่ายๆ คือ ทำอะไร เมื่อไหร่ อย่างไร กล่าวคือ

- “ทำอะไร” เรากับเขาทำอะไรกันไว้จึงเกิดนิติสัมพันธ์ขึ้น เช่น สัญญา ละเมิด เป็นต้น

- “เมื่อไหร่” เหตุนั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่ กล่าวคือ วันที่… นั่นเอง

- “อย่างไร” รายละเอียดที่เกิดขึ้นในสัญญา หรือการกระทำละเมิดเป็นอย่างไรครับ

              และสุดท้ายของย่อหน้าแรกต้องใช้คำว่า “ตามที่ท่านทราบดีอยู่แล้ว” ซึ่งคำๆนี้จะต้องมีต่อท้ายย่อหน้าแรกเสมอครับ กล่าวโดยสรุปได้ว่าย่อหน้าแรกนี้เหมือนกับข้อ 2 ในคำฟ้องแพ่งอันเป็นการกล่าวถึงนิติสัมพันธ์นั่นเองครับ

           2. การโต้แย้ง ย่อหน้านี้เราจะเริ่มได้หลายแบบโดยปกติจะเริ่มด้วย “ปรากฏว่า หรือ การกระทำดังกล่าว” แล้วจะใช้อย่างไร ซึ่งคำว่า “ปรากฏว่า” เราจะใช้กรณีผิดสัญญาเป็นหลัก ส่วน “การกระทำดังกล่าว” จะใช้กรณีละเมิดครับ แต่ถ้าท่านมีคำอื่นที่จะใช้อยู่แล้วก็ใช้ได้ครับไม่ผิด เพราะหนังสือบอกกล่าวทวงถามไม่ได้มีแบบแน่นอนครับ โดยผมจะมีหลักง่ายๆว่า มีเหตุอะไร ทำให้ใครเสียหาย เสียหายอย่างไร กล่าวคือ

         2.1 ผิดสัญญา

- “มีเหตุอะไร” ได้ทำการใดที่เป็นการผิดสัญญา เช่น ซึ่งบัดนี้ได้ล่วงเลยกำหนดเวลาชำระมาแล้ว แต่ท่านก็ยังไม่ได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ …

         2.2 ละเมิด

- “ทำให้ใครเสียหาย” ก็ผู้เสียหายครับพิจารณาคำถามดีๆนะครับ ไม่จำเป็นที่ผู้ส่งจะเป็นผู้ที่ถูกทำละเมิดเสมอไปครับ อาจเป็นบิดามารดาของผู้เสียหายก็ได้ครับ

- “เสียหายอย่างไร” ตรงตัวเลยใส่รายละเอียดทั้งหลายไปให้ครบถ้วนครับ

           ย่อหน้านี้คล้ายกับคำฟ้องแพ่งข้อ 3 เรื่องการโต้แย้งสิทธิครับ

           3. บอกกล่าวบังคับ ส่วนนี้ถือว่าเป็นส่วนที่มีรายละเอียดที่เราจะต้องระมัดระวังมากที่สุดที่หนึ่งเลยครับ โดยย่อหน้านี้เราต้องเริ่มด้วยประโยคที่ว่า “ข้าพเจ้าในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก …(ชื่อลูกความ)…” จากใครในที่นี้ก็คือ ลูกความที่ให้เราส่งหนังสือครับ

           ต่อมาเราจะเริ่มการบังคับด้วยคำว่า “จึงขอแจ้งให้ท่าน …” โดยมีรายละเอียดดังนี้

         3.1 “ในฐานะ …” ถ้าเป็นลูกหนี้ธรรมดาก็ไม่จำเป็นต้องมีแต่ถ้าเป็นผู้ค้ำประกัน ผู้จำนอง ผู้จำนำ ที่เราบังคับการค้ำประกันหรือบังคับจำนองหรือบังคับจำนำก็จำเป็นต้องใส่ครับ ถ้าบุคคลนั้นมี 2 ฐานะก็ใส่ทั้ง 2 ฐานะเลย

           หมายเหตุ ถ้าเป็นกรณีฐานะผู้จำนองหรือจำนำต้องใส่ด้วยว่าจำนองหรือจำนำทรัพย์ใดด้วย

         3.2 บังคับอะไร ถ้าบังคับเอาเงินก็จะมี

- ต้นเงิน(เป็นเงินจำนวน … บาท)

- ดอกเบี้ย(ในอัตราร้อยละ … ต่อปี นับแต่วันที่ … จนถึงวันที่ชำระเสร็จสิ้น)

- ชำระแก่ผู้ใด(มาชำระให้แก่ …(ชื่อลูกความ)…)

- กำหนดเวลา(ภายใน … วันนับตั้งแต่วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้)

- คำบังคับถ้าไม่ปฏิบัติตาม(มิฉะนั้น …(ชื่อลูกความ)… มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป)

           ถ้าเป็นกรณีจำนองนั้นเราเพียงเติมฐานะในข้อ 3.1 ว่าเป็นผู้จำนองและคำบังคับถ้าไม่ปฏิบัติตามที่ต้องเพิ่มคำว่าบังคับจำนอง เช่น มิฉะนั้น …(ชื่อลูกความ)… มีความจำเป็นที่จะต้องบังคับจำนอง และดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

           แต่ถ้าเป็นกรณีบังคับจำนำต้องใส่ฐานะตามข้อ 3.1 ส่วนคำบังคับถ้าไม่ปฏิบัติตามให้ขึ้นย่อหน้าใหม่ โดยมีประโยคว่า “หากท่านไม่ชำระหนี้ตามกําหนดเวลาข้างต้น …ชื่อ-นามสกุลลูกความ… มีความจำเป็นต้องนำ …ทรัพย์… ที่ท่านจำนำไว้ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ต่อไป โดยจะทำการขายทอดตลาด ณ …ชื่อสถานที่+ที่อยู่… ในวันที่ … เวลา …”

           ซึ่งย่อหน้าสุดท้ายนี้มีความคล้ายกับคำฟ้องแพ่งข้อ 4 เรื่องค่าเสียหายครับ

              กล่าวมาถึงตรงนี้เริ่มงงเหมือนกันนะขนาดเขียนเอง 555

 

 

 

           ส่วนสุดท้าย ส่วนลงชื่อ

           ส่วนนี้ง่ายมากเพียงแต่อย่าทำจนเบลอแล้วใส่ผิดครับ ส่วนนี้เราจะเขียน 4 บรรทัดอยู่ทางด้านขวาโดยเราจะแบ่งครึ่งหน้าก่อนนะครับ แล้วเขียนตรงกลางระหว่างครึ่งหน้าทางด้านขวานั้นจะออกมาสวยครับ

           เริ่มด้วย “ขอแสดงความนับถือ” อย่าใส่ “ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด” นะครับ (บางคนอาจหัวเราะว่าคนเขียนเริ่มเบลอเองหรือเปล่า 555 ก็ไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่จะคิดแบบนั้นครับ แต่ให้สังเกตว่าส่วนใหญ่เราเขียน ควรมิควร ทั้งหมดไม่ว่าคำฟ้อง คำร้อง คำขอ คำแถลง คำบอกกล่าว ทำให้เผลอเขียนอย่างไม่น่าแปลกใจและโดนหักอย่างน่าอนาถสุดๆ ตั้งสติเท่านั้นครับ)

           บรรทัดต่อมา ลายมือชื่อทนายความ แต่เราไม่ต้องเซ็นต์ชื่อครับ(ถ้าเซ็นต์โดนหักคะแนนนะครับ)ให้เขียนตัวบรรจงลงไปเลย แต่บรรทัดนี้ไม่ต้องใส่คำนำหน้าครับ

ต่อมา ชื่อ-นามสกุลทนายความ ให้เขียนว่า “( นาย … )” ซึ่งต่างกับบรรทัดที่ 2 ตรงที่มีวงเล็บและมีคำนำหน้าด้วยครับ

           ส่วนสุดท้ายของหนังสือบอกกล่าวทวงถามคือคำว่า “ทนายความผู้รับมอบอำนาจ” ดังนั้น 2 บรรทัดที่ผ่านมาเราต้องใส่ชื่อทนายความครับ อย่างเคยไม่ต้องรีบเป็นทนายความใส่ชื่อตัวเองนะครับ ใส่ชื่อทนายความที่คำถามให้มาเท่านั้นครับ

           เทคนิคเล็กน้อยสำหรับการเขียนหนังสือบอกกล่าวทวงถาม ถ้าสังเกตดีๆจะมีความคล้ายคลึงกับคำฟ้องแพ่งมากๆในการเขียนคำฟ้องและหนังสือทวงถามจึงต้องเขียนต่อจากกันทันทีเพื่อความคล่องตัวและข้อเท็จจริงที่เราอ่านมาได้(ยังไม่ลืม) อย่าเขียนคำฟ้องแพ่งหรือหนังสือทวงถามแล้วข้ามไปเขียนอย่างอื่นก่อนนะครับ เพราะเวลาเรามาเขียนคำฟ้องแพ่งหรือหนังสือทวงถามอีกครั้งเราจะต้องอ่านทวนใหม่หาข้อเท็จจริงใหม่อีกครั้งครับ

           เฮ้อ เขียนจนมึนหัวเองเลย หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านครับ ส่วนต่อไปจะเขียนลงวันไหนเขียนเรื่องอะไรผมยังตอบไม่ได้ครับ เพราะผมยังต้องอ่านหนังสือเตรียมสอบเนติฯตัวสุดท้ายด้วยครับ แต่พยายามจะเขียนต่อไปครับ เพราะเดือนหน้าหลายคนคงเริ่มสอบตั๋วกันแล้ว

 

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก : thaimisc.pukpik.com

                             : lawrak.com

บทความที่เกี่ยวข้อง
เมื่อ..สเปรย์พริกไทย..ผิดกฎหมาย จะใช้อะไรป้องกันตัว? ... อ่านต่อ
ยุคมืดของการเรียนกฎหมาย ... อ่านต่อ
แพทยสภาทำหนังสือแจง นายวัชรพล กำเนิดศิริ เป็นหมอปลอมแอบอ้าง ... อ่านต่อ
ดูดวง / ฮวงจุ้ย
ทายนิสัย จากลายมือการเขียนตัวเลข ... BY : หมอเมท ... อ่านต่อ
คาถาทวงหนี้ คาถาอีกาวิดน้ำ ใช้สำหรับคนยืมเงินแล้วไม่คืนหรือของหาย ... อ่านต่อ
ตากระตุก ตาเขม่น ลางสังหรณ์ที่บ่งบอกเรื่องราวอะไร? ... อ่านต่อ
 

 


 


 


 


 


 


 


 


 


 

หมอดู - ดูดวง - ทำนายเบอร์โทร - ทำนายตัวเลข - หมอเมท - ทศวิวัฒน์ - พยากรณ์เบอร์ - เบอร์มงคล - เลขมงคล - เลขศาสตร์ - หมอดูเบอร์ - จัดเบอร์มงคล - อบรมเรื่องตัวเลข - บทความตัวเลข - เลขรวย

бишкек эскорт

 

Copyright @2014 Horonumber.com All rights reserved.